ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 785 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84883
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  16  มีนาคม  พ.ศ. 2559

ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปและร้อนจัดบางพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนตกบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่

2. การใช้ยาง


- องค์กรรัฐวิสาหกิจของจีนคาดการณ์ว่า ช่วงปี 2559 - 2563 ปริมาณการบริโภคยางในจีนยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยปีละร้อยละ 6.0 ผลจากการขยายตัวของจำนวนรถยนต์ใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากการได้รับปัจจัยหนุนของคนรุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง

3. เศรษฐกิจโลก


- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินในการประชุมวานนี้ หลังจากได้ตัดสินใจใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในการประชุมครั้งก่อน โดยที่ประชุมมีมติคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบที่ร้อยละ -0.1 สำหรับสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ที่ฝากเงินไว้กับ BOJ

- กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมกราคมปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.7 จากเดือนที่แล้ว ไม่เปลี่ยนแปลงจากข้อมูลเบื้องต้น

- ผลสำรวจของสำนักข่าวซินหัวระบุว่า การลงทุนจากต่างประเทศในจีนมีแนวโน้มที่ดี แม้เศรษฐกิจชะลอตัวเนื่องจากโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ในภาคการบริโภคและการบริการในประเทศ

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สต๊อคสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนมกราคม หลังจากทรงตัวในเดือนธันวาคม ขณะที่ยอดจำหน่ายภาคธุรกิจลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ทั้งนี้ยอดจำหน่ายลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือนมกราคม หลังจากลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือนธันวาคม

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนกุมภาพันธ์ลดลงร้อยละ 0.1 หลังจากลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือนมกราคม ขณะที่ยอดจำหน่ายรถยนต์ชะลอตัวลง

- ผลสำรวจทางธุรกิจต่อดัชนีแนวโน้มเศรษฐกิจของ CEO. ระบุว่าผู้บริหารของสหรัฐฯ มีมุมมองที่เชิงลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกัน

- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์กรายงานว่า ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวมมีการขยายตัวในเดือนมีนาคมเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2558 ทั้งนี้ดัชนีปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 0.6 ในเดือนมีนาคม จาก -16.6 ในเดือนกุมภาพันธ์

- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อเทียบเป็นรายเดือน หลังจากขยับขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนมกราคม เมื่อเทียบเป็นรายปีดัชนี PPI ทรงตัวในเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือนมกราคม

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.14 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 113.46 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.40 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนเมษายนปิดตลาดที่ 36.34 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.84 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสถาบันปิโตรเลียมสหรัฐฯ (API) รายงานว่าสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ที่ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันในตลาด

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนเมษายนปิดที่ 38.74 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.79 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนเมษายนอยู่ที่ 161.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 170.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.4 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 138.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเคหะและการพัฒนาเมืองชนบทของจีนเปิดเผยว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง อันมีสาเหตุจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและอุปสงค์การซื้อบ้านขนาดใหญ่

- สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติสหรัฐฯ (NAHB) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านทรงตัวที่ระดับ 58.0 ในเดือนมีนาคม สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 52.0ฃ

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นได้ เพราะปริมาณยางมีน้อย ขณะที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เริ่มเข้ามาซื้อเพื่อส่งมอบ ทำให้มีกระแสการแข่งขันเพิ่มขึ้น ขณะที่แหล่งข่าวรายงานว่า สหกรณ์ต่าง ๆ เก็บยางไว้จำนวนมากมาเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน เพื่อรอขายในช่วงที่ กยท. เข้ามาซื้อ

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากปริมาณผลผลิตที่ลดลง ขณะที่ผู้ประกอบการในประเทศหลายรายยังมีความต้องการซื้อ เพราะเกรงจะขาดแคลนยางเพื่อส่งมอบ หลังจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและร้อนจัดอาจทำให้ฤดูเปิดกรีดล่าช้า ส่วนปัจจัยลบมาจากความผันผวนของราคาน้ำมัน และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ซบเซา และนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขายก่อนการเปิดเผยผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันพรุ่งนี้ตามเวลาประเทศไทย



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา