ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่? 5? มกราคม? พ.ศ. 2558  (อ่าน 1016 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83147
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันจันทร์ที่  5  มกราคม  พ.ศ. 2558


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไปมีฝนเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยางในบางพื้นที่


2. การใช้ยาง


- สหพันธ์การขายรถยนต์ฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในปี 2557 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2553 โดยมียอดจำหน่ายรถยนต์อยู่ที่ 1.795 ล้านคันในปี 2557 เทียบกับ 1.790 ล้านคันในปี 2556


- สเปนเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ปี 2557 แตะ 855,308 คัน ขยายตัวร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับปี 2556 โดยได้รับอานิสงค์จากยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในเดือนธันวาคมที่พุ่งขึ้นแตะ 73,400 คัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 เมื่อเทียบกับปี 2556 และเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 16 ติดต่อ


3. เศรษฐกิจโลก


- สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตประจำเดือนธันวาคมขยายตัวต่ำกว่าที่คาด โดยลดลงแตะระดับ 55.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 ลดลงจาก 58.7 ในเดือนพฤศจิกายน และต่ำกว่าที่คาดการณ์ 57.6


- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนและสหพันธ์พลาธิการและการจัดการฝ่ายจัดซื้อจีน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนธันวาคมปรับตัวขึ้นแตะระดับ 54.1 จากเดือนพฤศจิกายนที่ 53.9


- รัฐบาลเกาหลีใต้เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเกาหลีใต้ปี 2557 ยังคงอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 15 ปี เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบและสินค้าเกษตรที่ตกต่ำลง ส่งผลให้มีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินฝืด โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้รายงานว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากปีก่อน


- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตจีนเดือนธันวาคมลดลงแตะ 49.6 จาก 50.0 ในเดือนพฤศจิกายน ส่งสัญญาณย่ำแย่ลงอีกครั้งในช่วงสิ้นปี 2557 โดยดัชนีที่สูงกว่า 50.0 แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตขยายตัวจากเดือนก่อน และดัชนีที่ต่ำกว่า 50.0 ชี้ให้เห็นถึงภาวะหดตัว


- ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB.) ส่งสัญญาณการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ครั้งใหญ่ โดยกล่าวว่า เขาไม่สามารถมองข้ามความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดในยูโรโซน และจะเริ่มต้นปี 2558 หากมีความจำเป็น แต่ปฏิเสธที่จะระบุว่าเงินที่ ECB. จะใช้ในการซื้อพันธบัตรรัฐบาล


- ผลสำรวจบริษัทรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งจัดทำโดยสำนักข่าวเกียวโตบ่งชี้ว่า ร้อยละ 87 ของบริษัทรายใหญ่ 111 แห่งที่ได้รับการสำรวจ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวในปี 2558 สะท้อนให้เห็นว่าภาคเอกชนมีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจมากขึ้น หลังจากที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวลงเป็นเวลา 2 ไตรมาส เนื่องจากการปรับขึ้นภาษีบริโภคเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา


- มาร์กิต อีโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตสหรัฐฯ ประจำเดือนธันวาคมลดลงแตะระดับ 53.9 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ 53.7 และจาก 54.8 ในเดือนพฤศจิกายน พร้อมเปิดเผยดัชนี PMI ยูโรโซนเดือนธันวาคมอยู่ที่ 50.6 ปรับตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือนเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ 50.1 แต่ลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นเดือนธันวาคมที่ 50.8 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตยูโรโซนยังคงใกล้เข้าสู่ภาวะชะงักงัน


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 33.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 120.37 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.16 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ ปิดตลาดที่ 52.69 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.58 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นของรัสเซียและกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) นอกจากนี้สต๊อคน้ำมันดิบที่สูงขึ้นในสหรัฐฯ ยังสร้างแรงกดดันต่อภาวะซื้อขายในตลาดน้ำมันนิวยอร์กด้วย


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ ปิดที่ 56.42 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.91 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 202.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 214.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 171.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนชาวกรีซบ่งชี้ว่า พรรคไซรีซา ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีนโยบายในการต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลกรีซ อาจได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นในวันที่ 25 มกราคม 2558


- สมาชิกคณะที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลเยอรมันกล่าวเตือนว่า เนื่องจากกรีซยังไร้ศักยภาพด้านการแข่งขัน ไม่อยู่ในสถานการณ์ที่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ และต้องมีการเจรจาลดหนี้ อาจส่งผลให้กรีซหลุดพ้นจากการเป็นสมาชิกกลุ่มยูโรโซน ถึงแม้ว่าจะไม่มีผลกระทบกับประเทศอื่น ๆ แต่การควบคุมผลพวงที่จะตามมาจะยากลำบากอย่างยิ่ง


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางปรับตัวสูงขึ้น เพราะยังคงขาดแคลนยาง และองค์การสวนยางยังคงรับซื้อ ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายยังมีความต้องการซื้อ เพราะต้องส่งมอบล่วงหน้าก่อนที่ฤดูยางผลัดใบจะเริ่มขึ้น


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยได้รับปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาทอยู่ในระดับอ่อนค่า ประกอบกับผลผลิตยางในประเทศผู้ผลิตมีน้อย โดยเฉพาะไทยได้รับผลกระทบจากภาวะฝนตกชุกต่อเนื่อง และนโยบายของภาครัฐยังเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ราคายางอาจจะปรับตัวสูงขึ้นในกรอบจำกัด เพราะนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมืองของกรีซ รวมทั้งตัวเลขเศรษฐกิจภาคการผลิตทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป ออกมาต่ำกว่าที่คาด










ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา