ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2021, 06:14:13 AM »


?มนัญญา ? ปรี๊ด สั่งเช็คสต็อก ปุ๋ยยูเรีย หลัง7 ผู้ประกอบไม่ยอมหั่นกำไร

19 กรกฎาคม 2564 
มนัญญา สั่งกรมวิชาการเกษตรเช็คสต็อกปุ๋ยยูเรีย หลัง ถก 7 ผู้ประกอบการไม่ยอมลดราคาอ้างกลไกการตลาดทำ ราคาพุ่งพรวด15,000บาทต่อตัน
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับผู้ประกอบการปุ๋ย ว่า ว่า   ปัจจุบันราคาปุ๋ยเคมีปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนปัจจัยการผลิตของเกษตรกรสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีฯ  ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ  เร่งหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น

ซึ่งในขณะนี้ปริมาณการใช้ปุ๋ยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา และราคาปุ๋ยในตลาดปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน  ดังนั้นจึงต้องหาแนวทางเพื่อให้เกษตรกรสามารถซื้อปุ๋ยในราคาเป็นธรรมในช่วงวิกฤตินี้  โดยที่ประชุม ได้ขอร่วมมือกับบริษัทผู้นำเข้าปุ๋ย  ปรับลดราคาปุ๋ยยูเรียลง  เนื่องจากปัจจุบันราคาหน้าโรงงานขยับขึ้นไปถึง 1.5 หมื่นบาทต่อตัน  เทียบกับปีที่ผ่านมาช่วงเวลาเดียวกันอยู่ที่ราคา1.1 หมื่นบาทต่อตัน 

อย่างไรก็ตามภาคเอกชนชี้แจงว่าไม่สามารถปรับลดได้เพราะเป็นกลไกตลาด  ดังนั้น จึงได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบว่าสต็อกปุ๋ยที่ขออนุญาตนำเข้าครึ่งปี64 จำนวน1.23 ล้านตัน โดยด่วนให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้  หากพบว่ายังเหลือค้างในสต็อกก็น่าจะปรับราคาลงได้เนื่องจากราคานำเข้าก่อนหน้านี้ยังไม่พุ่งแรง

เบื้องต้นจากการตรวจสอบการนำเข้าปุ๋ย ม.ค.-มิ.ย. 2564  พบว่า มีการนำเข้า 1.23ล้านตัน  เพิ่มจากปี 63 ประมาณ 15.90% ที่นำเข้าประมาณ 1.06 ล้านตัน ราคา ณ หน้าโรงงานขายเฉลี่ยต่อตัน 11,354 บาท เอกชนชี้แจงว่า เขาบวกกำไรประมาณ18-21% แต่ราคาที่ขายท้องตลาดปรากฏว่าพุ่งถึง  1.5 หมื่นตัน  เมื่อเทียบปี 63 ช่วงเวลาเดียวกันราคาหน้าโรงงานเพียง 8,138บาท   หรือปุ๋ยปี64 แพงกว่า63 ถึง39.51%

?ในการหารือได้ขอให้ช่วยปรับกำไรลงมา เพื่อให้ราคาปุ๋ยลงมาใกล้เคียงปี63  โดยเฉพาะในล๊อตที่มีการนำเข้าในครึ่งปี64 แต่ภาคเอกชนชี้แจงไม่สามารถลดได้เพราะเขาต้องซื้อตามกลไกตลาดที่ขณะนี้ความต้องการตลาดเพิ่มขึ้นมาก ขณะเดียวกันปุ๋ยทีนำเข้าครึ่งปีแรกก็หมดแล้วจึงเป็นเหตุให้ไม่สามารถลดได้"

สำหรับ ในปี2563 มีการนำเข้าปุ๋ยยูเรียจำนวน1.06 ล้านตัน  มูลค่านำเข้า 8,661ล้านบาท  ราคาเฉลี่ย8,138บาทต่อตัน  ปี 64  นำเข้า 1.234 ล้านตัน มูลค่า14,015ล้านบาท  ราคาเฉลี่ยต่อตัน11,354 บาทต่อตัน ส่วนเอกชนที่หารือ  7 บริษัทประกอบด้วย 1.บริษัทเจี๋ยไต๋  จำกัด 2.บ.พี ซี เอ็ม(ประเทศไทย) จำกัด 3.ปุ๋ยไวกิ้ง จำกัด 4.บ.ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด 5.เทอราโก เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด 6. ไอ ซี พี  อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 7.บ.ปุ๋ยมหาวงศ์ จำกัด