วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
[/t]วิเคราะห์ | [/size]1. สภาพภูมิอากาศ | [/size]- บริเวณความกดอากาศสูง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกรรโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ประกอบกับคลื่นลมตะวันออกเข้ามาปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ช่วงวันที่ 6 - 7 พฤษภาคม 2557 ภาคใต้มีฝนตกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง | [/size]2. การใช้ยาง | [/size]- ยอดจำหน่ายรถยนต์บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เกาหลีใต้เดือนเมษายนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ และยอดจำหน่ายรถยนต์ที่แข็งแกร่งในตลาดต่างประเทศ- ออโต้ดาต้าคอร์ป เปิดเผยยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในตลาดสหรัฐฯ เดือนเมษายนอยู่ที่ 1,390,513 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดจำหน่ายโดยรวมต่อปีอยู่ที่ 16.04 ล้านคัน ทำสถิติเหนือกว่า 16 ล้านคันติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2- นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกิจกรรมขององค์การสวนยางมีมติแต่งตั้งคณะทำงาน 1 ชุด เพื่อบริหารจัดการยางในสต๊อคจำนวน 2 แสนตัน ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่มอบหมายให้องค์การสวนยางบริหารจัดการยางในสต๊อคให้มีประสิทธิภาพ และไม่เป็นภาระกับงบประมาณรัฐบาล | [/size]3.เศรษฐกิจโลก | [/size]- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนเดือนเมษายนขยับขึ้นเล็กน้อย แตะ 48.1 จุด จาก 48.0 จุดในเดือนมีนาคม แต่ลดลงจากประเมินเบื้องต้นที่ 48.3 จุด เป็นการส่งสัญญาณว่าภาคการผลิตของจีนปรับตัวย่ำแย่เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน- สำนักงานสถิติแห่งชาติ และสหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนเมษายนอยู่ที่ 54.8 จุด ปรับตัวขึ้น 0.3 จุด จากเดือนที่แล้ว- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อใหม่ภาคโรงงานเดือนมีนาคมปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ชี้ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของภาคการผลิต และการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยทั่วไปในช่วงท้ายไตรมาสแรก โดยรายงานระบุว่ายอดสั่งซื้อใหม่ภาคโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ในเดือนมีนาคม หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในเดือนกุมภาพันธ์- สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการเดือนเมษายนขยายตัวที่ระดับ 55.2 จุด สูงกว่าเดือนมีนาคมที่ระดับ 53.1 จุด เป็นการขยายตัวที่สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด พร้อมเปิดเผยดัชนีภาคธุรกิจนิวยอร์กลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน ที่ 50.6 จุดในเดือนเมษายน จาก 52.0 จุดในเดือนมีนาคม และ 57.0 จุดในเดือนกุมภาพันธ์ ทำสถิติปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน- ผลสำรวจระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นแตะ 53.4 จุด เป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน จาก 53.0 จุดในเดือนมีนาคม และเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือนติดต่อกัน | [/size]4. อัตราแลกเปลี่ยน | [/size]- เงินบาทอยู่ที่ 32.38 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 102.14 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.21 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | [/size]5. ราคาน้ำมัน | [/size]- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดตลาดที่ 99.48 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.28 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจาก HSBC โฮลดิ้งส์เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนหดตัวอย่างต่อเนื่องในเดือนเมษายน | [/size]6. การเก็งกำไร | [/size]- ตลาด TOCOM ปิดทำการ เนื่องในวัน Substitute Holiday for Greenery- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 204.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 8.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | [/size]7. ข่าว | [/size]- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยอัตราการขยายตัวตำแหน่งงานเดือนเมษายนพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี ขณะที่อัตราว่างงานลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีครึ่งที่ร้อยละ 6.3 ชี้ให้เห็นถึงการปรับตัวขึ้นอย่างมากของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงต้นไตรมาส 2 โดยรายงานระบุว่าตำแหน่งงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น 288,000 ตำแหน่งในเดือนเมษายน- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า อัตราว่างงานยูโรโซนอ่อนตัวลงแตะร้อยละ 11.8 ในเดือนมีนาคม ลดลงจากร้อยละ 12.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน | [/size]8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ | [/size]- ราคาปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ราคายางปรับลดลงในกรอบจำกัด เพราะยังมีแรงหนุนจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อย ทำให้ผู้ประกอบการบางรายยังมีความต้องการซื้อ เนื่องจากขาดแคลนยาง | [/size]แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลง เนื่องจากขาดปัจจัยชี้นำตลาด โดยเฉพาะตลาดล่วงหน้าโตเกียวปิดทำการ ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาคบริการและภาคการผลิตของจีนชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกระแสข่าวว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งคณะทำงานเร่งระบายสต๊อคยาง อย่างไรก็ตาม ราคายางยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบจำกัด เพราะมีปัจจัยหนุนจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อย และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังสดใส คณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดและราคายาง สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา [/size]
[/size] |
[/td][/tr][/table]