ผู้เขียน หัวข้อ: ส่อง 7 กลุ่มสินค้าเกษตร "อียู"ออกกฎห้ามทำลายป่ามีอะไรบ้าง  (อ่าน 38265 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85257
    • ดูรายละเอียด
ส่อง 7 กลุ่มสินค้าเกษตร "อียู"ออกกฎห้ามทำลายป่ามีอะไรบ้าง

ฐานเศรษฐกิจ

14 กรกฎาคม 2566

7 กลุ่มสินค้าเกษตร ?อียู?ออกกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า ?โค โกโก้ กาแฟ น้ำมันปาล์ม ยางพารา ถั่วเหลือง ไม้ รวมถึงผลิตภัณฑ์? ต้องลงทะเบียนในระบบ บังคับใช้ 30 ธ.ค.67 
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.2566 ที่ผ่านมา สหภาพยุโรป (อียู) ได้ออกกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation-free products Regulation : EUDR) หรือ Regulation (EU) 2023/1115 ที่กำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้าเกษตร 7 กลุ่ม ได้แก่ โค โกโก้ กาแฟ น้ำมันปาล์ม ยางพารา ถั่วเหลือง และไม้ รวมถึงผลิตภัณฑ์

ส่อง 7 กลุ่มสินค้าเกษตร ?อียู?ออกกฎห้ามทำลายป่ามีอะไรบ้าง

จะต้องลงทะเบียนในระบบฐานข้อมูลและแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวกับการผลิต เช่น แหล่งที่มา ผู้ผลิต และพิกัดทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่เพาะปลูก เก็บเกี่ยว เป็นต้น เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับ


และวิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบภาพถ่ายจากดาวเทียมว่าสินค้านั้นผลิตบนพื้นที่ตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation) หรือทำให้ป่าเสื่อมโทรม (Degradation) หรือไม่ เพื่อลดการทำลายพื้นที่ป่าของโลก และลดการนำเข้าสินค้าที่มีความเสี่ยงในการทำลายป่าเข้ามาในอียู

ส่อง 7 กลุ่มสินค้าเกษตร ?อียู?ออกกฎห้ามทำลายป่ามีอะไรบ้าง

ทั้งนี้ เกษตรและผู้ส่งออกที่เกี่ยวข้อง จะมีเวลาเตรียมการ (transitional period) ประมาณ 18 เดือน ก่อนที่มาตรการนี้จะมีผลใช้บังคับ ในวันที่ 30 ธ.ค.2567 ส่วนผู้ประกอบการขนาดกลาง เล็ก และย่อม (MSME) ที่จัดตั้งขึ้นภายในวันที่ 31 ธ.ค.2563 จะได้เวลาเปลี่ยนผ่าน 24 เดือน ถึงวันที่ 30 มิ.ย.2568 ก่อนที่มาตรการจะมีผลใช้บังคับ


ส่อง 7 กลุ่มสินค้าเกษตร ?อียู?ออกกฎห้ามทำลายป่ามีอะไรบ้าง

อย่างไรก็ตาม คาดว่าอียูจะออกกฎระเบียบลำดับรอง เพื่อให้การบังคับใช้มาตรการนี้มีความชัดเจนขึ้น เช่น กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ บทลงโทษ การจัดทำระบบฐานข้อมูล และการจัดกลุ่มประเทศตามระดับความเสี่ยงในการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อกำหนดระดับความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสอบข้อมูลที่ผู้ประกอบการแจ้ง ซึ่งผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงจะถูกสุ่มตรวจ 9% ความเสี่ยงระดับกลาง  3% และความเสี่ยงระดับต่ำ 1%
?จากการหารือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทราบว่าการยางแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างจัดทำฐานข้อมูลการเพาะปลูกยางพารา และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) อยู่ระหว่างการจัดทำคู่มือสำหรับสมาชิก เพื่อใช้ประกอบการดำเนินการตามระเบียบดังกล่าว และในช่วงที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐของไทย เช่น กระทรวงการต่างประเทศ และกรมฯ ได้ประสานกับอียู เตรียมเชิญผู้เชี่ยวชาญมาจัดสัมมนาฝึกอบรมให้คำแนะนำและอธิบายมาตรการนี้ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องของไทยได้เข้าใจและรับทราบข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งจะเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนมาตรการบังคับใช้จริง?

ส่อง 7 กลุ่มสินค้าเกษตร ?อียู?ออกกฎห้ามทำลายป่ามีอะไรบ้าง
         ในปี 2565 ไทยส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ไปอียู มูลค่า 1,732.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 11% ของการส่งออกไทยไปโลก และส่งออกกาแฟ มูลค่า 0.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 9% ของการส่งออกไทยไปโลก สำหรับการส่งออกสินค้ากลุ่มอื่น ๆ ไปอียู ได้แก่ วัวและผลิตภัณฑ์ ถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์ โกโก้และผลิตภัณฑ์ และไม้และผลิตภัณฑ์ มีสัดส่วนต่ำกว่า 5% ของการส่งออกไปโลก ดังนั้น ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกของไทยที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสินค้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ รวมถึงกาแฟ จำเป็นต้องเตรียมจัดทำข้อมูลสำหรับยื่นแสดงต่ออียูภายใต้ระเบียบดังกล่าว