ผู้เขียน หัวข้อ: ฟันธงค่าระวางเรือ ปี?66 ขาลง สภาผู้ส่งออกชี้ สัญญาณฟลีตเรือโต 3.8%  (อ่าน 131 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด

ฟันธงค่าระวางเรือ ปี?66 ขาลง สภาผู้ส่งออกชี้ สัญญาณฟลีตเรือโต 3.8%

วันที่ 27 ตุลาคม 2565 - 09:12 น. ที่มา ประชาชาติธุรกิจ

ขนส่งทางเรือ
สภาผู้ส่งออก ชี้แนวโน้มค่าระวางเรือปี?66 ลดลง 37% ผลจากจำนวนเรือเพิ่มขึ้น 3.8% ?เส้นทางหลักสหรัฐ-ยุโรป? ขาลง มั่นใจค่าเงินบาทอ่อนค่าหนุนส่งออกไทยปี?66 โต 3-5% จากปี?65 โต 7% จับตาภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันดิบโลกเฉลี่ย 90-100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก เปิดเผยว่า สรท.คาดการณ์สถานการณ์ค่าระวางระหว่างประเทศ และตู้คอนเทนเนอร์ ปี 2566 จะมีทิศทางลดลงจากสถานการณ์ค่าระวางในปัจจุบัน ในช่วง 7 เดือนแรกเฉพาะในเส้นทางหลักทั้งสหรัฐ ยุโรป ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้คาดการณ์ว่าทิศทางค่าระวางในปีหน้าจะยังคงมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องเช่นกัน

ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Drewry ประเมินว่า ค่าระวางในปีหน้าจะปรับลดลงจากปัจจุบันราว 37% ในขณะที่คาดการณ์ปริมาณเรือผ่านท่า (global container port throughput) จะมีทิศทางปรับเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีการเติบโตของปริมาณสินค้าผ่านท่าเพิ่มขึ้น 1.9% ในปี 2566 เป็นผลมาจากมีการเพิ่มปริมาณของจำนวนเรือ (fleet growth)เพื่อรองรับการขนส่งอีกราว 3.8%

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตาแนวทางบริหารจัดการของสายเรือในการปรับสมดุลจำนวนเรือที่เพิ่มขึ้น กับความต้องการในการขนส่งสินค้า ซึ่งอาจมีการทำ blank sailing ในบางช่วง ดังนั้น จำเป็นต้องติดตามทิศทางสถานการณ์อย่างต่อเนื่องต่อไป

?ค่าระวางเรือที่ปรับลดลงจะเห็นแนวโน้มจาก 10,000 เหรียญสหรัฐต่อตู้ 40 ฟุต จะปรับลดลงมาประมาณ 6,000-8,000 เหรียญสหรัฐต่อตู้ 40 ฟุต โดยเป็นผลจากความต้องการนำเข้าสินค้าในสหรัฐ ยุโรป ชะลอตัว ทำให้ปริมาณความต้องการตู้คอนเทนเนอร์ลดลง

ทิศทางค่าระวางเรือก็ปรับลงตามความต้องการที่ลดลงด้วย ปริมาณเรือเพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกลดต้นทุนการขนส่งไปได้มาก อีกทั้งปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ เรือจะเพียงพอต่อการส่งออกสินค้า ขณะที่ราคาน้ำมันดิบในปีหน้ายังมองว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 90-100 เหรียญสหรัฐ?

ขณะที่สถานการณ์ค่าระวางจากไทย ไปยังเส้นทางหลัก เดือนตุลาคม 2565 พบว่ามีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ 65.67% เมื่อเทียบกันเดือนกันยายนที่ผ่านมา รวมถึงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปีในเดือนมกราคม ยกเว้นเส้นทางประเทศจีนที่ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 50.07%

ในขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมปี 2564 ค่าระวางปัจจุบันปรับลดลงจากปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ค่าระวางที่มีทิศทางที่ดีขึ้นในปี 2566 อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ในปี 2562 พบว่า ค่าระวางปัจจุบันยังคงสูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 แต่ความต่างของค่าระวางเริ่มลดลงแล้ว

ขณะที่ภาพการส่งออกในปี 2566 คาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3-5% โดยยังมองว่าการส่งออกสินค้าของไทยยังมีโอกาสที่จะเติบโต โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอาหาร ผลิตภัณฑ์ยางพารา กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เป็นต้น ที่จะผลักดันให้การส่งออกในปีหน้าเติบโต

ตาราง ค่าระวางเดือนตุลาคม 2565

ตาราง ค่าระวางเดือนตุลาคม

ส่วนตลาดที่ยังมองว่าเป็นโอกาสของการส่งออกไทย จะอยู่ในกลุ่มตลาดเอเชีย อาเซียน ตะวันออกกลาง ที่ยังเป็นตลาดส่งออกสำคัญ ขณะที่ตลาดสหรัฐและยุโรปยังเป็นกลุ่มที่น่าจับตามอง เนื่องจากทิศทางเศรษฐกิจยังชะลอตัว ส่งผลต่อความต้องการสินค้าในปีหน้าอยู่มาก ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยต้องมองตลาดอื่นเพื่อรองรับการส่งออก

อย่างไรก็ดี การส่งออกปีหน้ายังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม เงินเฟ้อของสหรัฐ ราคาพลังงาน ปัญหาต้นทุนวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ เซมิคอนดักเตอร์, เหล็ก, ธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน แป้งสาลี อาหารสัตว์ ปุ๋ย เป็นต้น แต่อย่างไรก็เชื่อว่าการส่งออกจะขยายตัวเป็นบวก

?ทิศทางค่าเงินบาทปี 2566 มองว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 35-36 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ไม่น่าจะทะลุจาก 38 บาทต่อเหรียญสหรัฐไปจากนี้ได้ ซึ่งแม้ค่าเงินบาทจะอ่อนค่า แต่ สรท.มองว่าไม่มีผลกระทบต่อค่าระหว่างเรือ ไม่หนักใจถึงแม้จะอ่อนค่ามากขึ้นก็ตาม

เป็นผลมาจากค่าระวางเรือระหว่างประเทศในรูปเงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าลง มีผลต่อแนวโน้มให้ค่าขนส่งลดลง อีกทั้งตู้คอนเทนเนอร์ไม่ขาดแคลนอย่างที่ผ่านมาแน่นอน ซึ่งจะทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องต้นทุนค่าขนส่ง?

สำหรับภาพรวมการส่งออกรวมปี 2565 สรท.คาดว่าทั้งปีที่โต 7-8% โดยมีปัจจัยจากการเติบโตของภาคการผลิต และความต้องการสินค้ายังมีต่อเนื่อง และสินค้าของไทยหลายรายการยังคงการส่งออกไปได้ดี เช่น เกษตรและอาหาร อาทิ ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย ภาคอุตสาหกรรม อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

และหากการส่งออกของไทยทั้งปีจะให้ขยายตัว 7% หรือมีมูลค่า 290,159 ล้านเหรียญสหรัฐ การส่งออกจากนี้ 4 เดือน (กันยายน-ธันวาคม 2565) ไทยจะต้องส่งออกเฉลี่ย 23,427 ล้านเหรียญสหรัฐ และหากจะส่งออกให้ได้ 8% หรือมีมูลค่า 292,867 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนจะต้อง 24,105 ล้านเหรียญสหรัฐ

เปิด 3 ข้อสรุป การประชุมโกลบอลชิปปิ้ง
การประชุม Global Shippers Alliance และ Asian Shippers Alliance (ASA) Annual Meeting 2022 เมื่อเดือนตุลาคม 2565 ทางสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เป็นเจ้าภาพ โดยมีตัวแทนจากชาติสมาชิกเข้าร่วมทั้งหมด 32 คนเข้าร่วมประชุม ได้มีความตกลงร่วมกัน ประกอบไปด้วย

1.สภาผู้ส่งสินค้าโลก (GSA) และสภาผู้ส่งสินค้าเอเชีย (ASA) เห็นชอบร่วมกันให้ออกแถลงการณ์กำหนดเงื่อนไขการให้บริการของสายเรือคอนเทนเนอร์ (Cargo Bill of Rights Manifesto) เพื่อยกระดับคุณภาพการบริการขั้นต่ำ (Minimal level of Service)

และการปฏิบัติที่เป็นธรรมของการให้บริการของผู้ขนส่งต่อผู้ส่งสินค้า รวมถึงเพื่อใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการประเมินการให้บริการของสายเรือคอนเทนเนอร์ โดยจะมีการกำหนดรายละเอียดของข้อเสนอแนะในเอกสาร Bill of Cargo Rights

2.เห็นชอบให้มีการหารือกับสายเรืออย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขสถานการณ์ผู้ขนส่งในระบบคอนเทนเนอร์ สภาผู้ส่งสินค้าทั่วโลก (GSA) จะประสานการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดกับสายเรือคอนเทนเนอร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาและยกระดับความร่วมมือในห่วงโซ่อุปทาน ลดการรวมตัวของสายเรือในลักษณะพันธมิตร (Shipping Alliance) ที่มีผลต่อการสร้างความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ส่งสินค้าและคุณภาพการให้บริการที่ลดลง

รวมถึงผลักดันไปยังหน่วยงานกำกับการแข่งขันทางการค้าของแต่ละประเทศทั่วโลก อาทิ US Federal Maritime Commission (FMC) ของสหรัฐอเมริกา คณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อเพิ่มการแข่งขันและรับรองระบบการค้าที่เป็นธรรม

3.ความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลและความยั่งยืน สภาผู้ส่งสินค้าทั่วโลก (GSA) รับทราบถึงความสำคัญของการยกระดับรูปแบบการค้าและบริการให้เป็นดิจิทัลและตระหนักถึงความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน

โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสร้างแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางดิจิทัล การพัฒนาช่องทางอำนวยความสะดวกของภาครัฐ ณ จุดเดียว รวมถึงการขับเคลื่อนวิธีการเชิงโครงสร้างในห่วงโซ่อุปทานของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน

อาทิ การขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการลดการปล่อยคาร์บอน เป็นต้น จากความเห็นร่วมกันครั้งนี้ เชื่อว่าจะทำให้การขนส่งทางเรือไม่มีปัญหาอย่างที่ผ่านมาได้