ผู้เขียน หัวข้อ: " รัฐอิลลินอยส์" สหรัฐ แบนถุงมือยาง ผวาลามทุบตลาดสูญ 2.7 หมื่นล้าน!  (อ่าน 532 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85214
    • ดูรายละเอียด

" รัฐอิลลินอยส์" สหรัฐ แบนถุงมือยาง ผวาลามทุบตลาดสูญ 2.7 หมื่นล้าน!

ฐานเศรษฐกิจ

25 มกราคม 2566
?
สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศฯ แจ้งข่าวร้าย ?รัฐอิลลินอยส์"แบนถุงมือยาง ผวาลามทั่วสหรัฐฯ ทุบตลาดสูญ 2.7 หมื่นล้าน "อุทัย-อำนวย? ชง กนย.แก้ปัญหาด่วน 1 ก.พ.

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิใน คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ว่า จากกรณีสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ติดตามข่าวสารด้านการเกษตร ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปยังสหรัฐฯ

ได้รับทราบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป รัฐอิลลินอยส์จะบังคับใช้กฎหมายห้ามใช้ถุงมือยางลาเท็กซ์ ซึ่งเป็นถุงมือที่ผลิตจากวัตถุดิบน้ำยางลาเท็กซ์จากยางพารา ในกลุ่มธุรกิจบริการอาหาร (Food Service) และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป (Health Care) เนื่องจากพบผู้มีอาการแพ้ยางธรรมชาติเพิ่ม มากขึ้น  เฉพาะในสหรัฐฯ มีชาวอเมริกันกว่า 3 ล้านคนแพ้น้ำยางลาเท็กซ์และพบว่าร้อยละ 4 ของประชากรโลกมีอาการแพ้ต่อลาเท็กซ์

รัฐอิลลินอยส์ (Illinois)

โดยมีอาการตั้งแต่มีผื่นคันเล็กน้อย ไปจนถึงขั้นรุนแรงระดับที่เป็นอันตรายถึงชีวิต (Anaphylaxis) เช่น หายใจติดขัด คอบวม และหมดสติ และมีข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้

1. เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ผู้ว่าการรัฐอิลลินอยส์ นาย JB Pritzker ได้ลงนามใน กฎหมาย Latex Glove Ban Act3 ยกเลิกการใช้ถุงมือลาเท็กซ์ในสถานบริการอาหารเพื่อเตรียมและจัดการอาหาร โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป

หากมีความจำเป็นฉุกเฉินขาดแคลนถุงมือที่ปราศจาก ลาเท็กซ์ (Non-latex gloves) สถานบริการอาหารจะต้องติดประกาศอย่างชัดเจนเพื่อแจ้งเตือนแก่ผู้บริโภค กฎหมาย ฉบับดังกล่าวยังกำหนดให้ผู้ให้บริการทางการแพทย์ ยกเลิกการใช้ถุงมือลาเท็กซ์ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ หรือ FDA (US Food and Drug Administration) กำหนดให้ถุงมือทางการแพทย์ เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์สงวนประเภทที่ 1 โดยผู้ผลิตต้องระบุบนฉลากบรรจุภัณฑ์ว่ามี ส่วนประกอบของน้ำยาง ลาเท็กซ์

2. สามารถใช้ถุงมือที่ผลิตจากวัตถุดิบอื่นทดแทน ได้แก่ถุงมือที่ผลิตจากโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) ไนไตรล์ หรือโพลียูริเทน โดยที่ถุงมือลาเท็กซ์มีราคาสูงกว่า มีความยืดหยุ่นและกระชับมากกว่าถุงมือที่ผลิตจากวัตถุดิบ ชนิดอื่น

อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่ใช้ถุงมือยางลาเท็กซ์เป็นประจำมีความเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้มากที่สุด และสำหรับผู้ให้บริการอาหาร ยังอาจก่อให้เกิดการแพ้ต่อผู้บริโภคซึ่งเป็นลูกค้าด้วย

3. รัฐอิลลินอยส์เป็นรัฐล่าสุดที่ประกาศใช้กฎหมายนี้ โดยรัฐอื่น ๆ ของสหรัฐฯ ที่มีกฎหมายห้ามใช้ถุงมือลาเท็กซ์แล้ว เช่น แคลิฟอร์เนีย แอริโซนา ฮาวาย คอนเนคติกัต โรดไอแลนด์ โอไฮโอ และโอเรกอน เป็นต้น

ภาพรวมตลาดถุงมือยางในสหรัฐฯ ในปี 2565 (มกราคม - พฤศจิกายน)

นายอุทัย กล่าวว่า สหรัฐฯ นำเข้าถุงมือจากยางธรรมชาติ (HS Code 401511, 401512 และ 401519) คิดเป็นมูลค่ารวม 3,275 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.18 แสนล้านบาท4 ) ดังมีรายละเอียดตามเอกสารแนบ โดยประเทศไทยมีการส่งออกถุงมือลาเท็กซ์ไปยังสหรัฐฯ ทั้งในรูปแบบถุงมือทั่วไปและถุงมือทางการแพทย์รวมมูลค่า 738 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.7 หมื่นล้านบาท) มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 23 เป็นอันดับที่ 2 รองจากมาเลเซีย (ร้อยละ 49)

นอกนั้นเป็นการนำเข้าจากจีน (ร้อยละ 17) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 6) ศรีลังกา (ร้อยละ 2) และเวียดนาม (ร้อยละ 1)

ความต้องการถุงมือยางของสหรัฐฯ ลดลงเหลือ เพียง 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า (มกราคม - พฤศจิกายน พ.ศ. 2564) เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด ? 19 คลี่คลายขึ้น จึงทำให้มีความต้องการนำเข้าลดลงเป็นลำดับ 2. สหรัฐฯ มีนโยบายสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมในประเทศให้มีการผลิตสินค้าสำหรับใช้ทาง การแพทย์ เนื่องจากประสบภาวะวิกฤตห่วงโซ่อุปทานในช่วงการระบาดอย่างหนักของไวรัสโควิด ? 19

ถุงมือยางสังเคราะห์ไม่มีแป้ง Sense

ทั้งนี้ รัฐบาล สหรัฐฯ สนับสนุนให้มีการผลิตถุงมือจากวัสดุทดแทนยางธรรมชาติทั้งสำหรับใช้ทางการแพทย์(Medical Grade) และใช้กับอาหาร (Food Grade) เพื่อลดการพึ่งพาสินค้านำเข้า จึงคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกถุงมือยางลาเท็กซ์ จากไทยไปยังสหรัฐฯ ในอนาคต

แม้การห้ามใช้ถุงมือยางลาเท็กซ์จะมีเฉพาะในบางรัฐของสหรัฐฯ แต่ในอนาคตอาจมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทางสำนักงานฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า ผู้ประกอบการไทยจึงควรเตรียมความพร้อมตั้งแต่บัดนี้ โดยปรับตัวในการผลิตสินค้าจากวัสดุทดแทนและควบคุมต้นทุนการผลิต เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและความสามารถในการแข่งขัน

เตรียมนำเสนอกนย.ในวันที่ 1 ก.พ.นี้

นายอุทัย กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในวันที่ 1 ก.พ.นี้ ไม่งั้นเกรงว่าจะลามไปทั่วสหรัฐอเมริกา และไปสหภาพยุโรป สุดท้ายรายย่อย และชาวสวนยาง ตายเลยได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่

อำนวย ปะติเส

สอดคคล้องกับ นายอำนวย ปะติเส อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานสมาคมนักวิชาการยางและถุงมือยาง กล่าวถึงผลกระทบเนื่องจากถุงมือยางผลิตจากยางธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในเมืองไทย ถุงมือ เป็นสินค้าตัวหนึ่งที่มีความนิยมใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยจากป้องกันโรค โดยเฉพาะประเทศที่เจริญแล้วจะให้ใช้ยางสังเคราะห์กีดกันการใช้ยางธรรมชาติทุกอย่างดังนั้นความเสียหายต่อตลาด กว่าหมื่นล้าน ดังนั้นในระดับเอกชนไม่สามาถที่จะแก้ไขได้ ต้องเป็น