ผู้เขียน หัวข้อ: การฟื้นตัวที่ยากลำบากของการส่งออกเอเชีย  (อ่าน 731 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84455
    • ดูรายละเอียด
วันที่ 30 ตุลาคม 2556 00:09
 
การฟื้นตัวที่ยากลำบากของการส่งออกเอเชีย

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
 
"ระมัดระวัง" หัวใจเล่นหุ้น "ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์"
ส่องฝัน"ชวินธร คุณากรปรมัตถ์"5 ปี"เคแลนด์"แชมป์อสังหาฯ"
 ???าคส่งออกของเอเชียยังคงอยู่ใน???าวะเฉื่อยชามาเป็นเวลานาน 2 ปี ในขณะที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว
และสิ่งนี้ทำให้เกิดความกังวลกันว่า เอเชียอาจสูญเสียประสิทธิ???าพทางการแข่งขัน และเอเชียอาจจะไม่สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต
การวิเคราะห์ของรอยเตอร์พบว่า ยอดส่งออกของประเทศผู้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุด 7 แห่งในเอเชียตะวันออก เติบโตเพียง 0.8% ในไตรมาส 3 โดยได้รับแรงหนุนจากยอดส่งออกสู่สหรัฐที่พุ่งขึ้น 3.1% ในไตรมาส 3 ของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ประเทศผู้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุด 7 แห่งในเอเชียตะวันออกได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย ฮ่องกง และสิงคโปร์
ตัวเลขเศรษฐกิจนี้บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่น่ากังวลสำหรับเอเชียตะวันออก เนื่องจากยอดส่งออกโดยรวมครองสัดส่วนสูงกว่า 1 ใน 3 ของผลผลิตทางเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มนี้ ทั้งนี้ ยอดส่งออกของเอเชียเคยเติบโตขึ้นแตะจุดสูงสุดในปี 2553 ในขณะที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤติการเงิน แต่หลังจากนั้นยอดส่งออกก็ชะลอการเติบโตลงอย่างรวดเร็ว
ยอดส่งออกเคยเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักในช่วงทศวรรษก่อน แต่ชะลอตัวลงในปี 2554 และยังไม่ฟื้นตัวขึ้นจนถึงปัจจุบัน
หัวหน้าฝ่ายวิจัยตลาดการเงินของบริษัทไอเอ็นจี กล่าวว่าสิ่งที่สำคัญในเอเชียยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งก็คือการที่ยอดส่งออกไม่ได้เติบโตขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยเรื่องนี้น่าจะเกิดจากการจับจ่ายใช้สอยที่อ่อนแอในตลาดโลก
หลายฝ่ายมองว่า เมื่อใดก็ตามที่เศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวดีขึ้นจนถึงขั้นที่ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้มานาน 5 ปี เมื่อนั้นเศรษฐกิจเอเชียก็อาจจะชะลอการเติบโตลง และเผชิญกับแนวโน้มที่ไม่แน่นอนมากขึ้น
นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ถ้าหากยอดส่งออกไม่สามารถชดเชยการพุ่งขึ้นของอัตราดอกเบี้ย และการชะลอตัวของการเคลื่อนย้ายเงินทุนในตลาดโลก เอเชียก็จำเป็นต้องพึ่งพาอุปสงค์???ายในประเทศเพื่อชดเชยในส่วนนี้ อย่างไรก็ดี สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะประชากรสูงวัยมีสัดส่วนมากขึ้นและมีอุปสรรคอื่นๆในทางโครงสร้าง
การที่ยอดส่งออกของเอเชียไม่สามารถปรับขึ้นสอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้นักเศรษฐศาสตร์หลายรายถกเถียงกันในประเด็นที่ว่าเอเชียอาจจะสูญเสียประสิทธิ???าพทางการแข่งขันหรือไม่ ในขณะที่ค่าจ้างแรงงานและต้นทุนอื่นๆในเอเชียปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ดี สำนักงานสำมะโนประชากรของสหรัฐระบุว่า เอเชียครองส่วนแบ่งมากขึ้นเรื่อยๆในยอดนำเข้าของสหรัฐนับตั้งแต่ปี 2545 และยอดส่งออกของจีนก็เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกในปี 2544
หัวหน้าฝ่ายวิจัยตลาดและเศรษฐกิจเอเชียในซิตี้กรุ๊ป กล่าวว่าไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่แสดงให้เห็นว่า ???าคส่งออกของประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชียมีประสิทธิ???าพทางการแข่งขันลดลง และกล่าวเสริมว่า การที่ยอดนำเข้าของสหรัฐฟื้นตัวขึ้นอย่างเฉื่อยชา สะท้อน???าวะไม่สมดุลในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ เพราะการฟื้นตัวดังกล่าวได้รับแรงกระตุ้นหลักจาก???าคที่อยู่อาศัย และก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน แทนที่จะได้รับแรงกระตุ้นหลักจากการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโ???คหรือการลงทุนทางธุรกิจ
หากพูด???าพรวมง่ายๆ คือการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐไม่ใช่การฟื้นตัวในวงกว้าง