ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ข่าวหุ้น-การเงิน 12 กุมภาพันธ์ 2564  (อ่าน 724 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84462
    • ดูรายละเอียด

***ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดร่วง 15.9 ดอลล์ เหตุบอนด์ยีลด์พุ่งกดดันตลาด

ข่าวต่างประเทศ Friday February 12, 2021 07:10 ?สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (11 ก.พ.) โดยได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ และจากการที่นักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 4 วันทำการก่อนหน้านี้

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 15.9 ดอลลาร์ หรือ 0.86% ปิดที่ 1,826.8 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 3.1 เซนต์ หรือ 0.11% ปิดที่ 27.047 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 10 เซนต์ หรือ 0.01% ปิดที่ 1,247 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 5.50 ดอลลาร์ หรือ 0.2% ปิดที่ 2,347 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาทองคำได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยเมื่อคืนนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 1.155% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 1.934%

ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะเพิ่มต้นทุนค่าเสียโอกาส (opportunity cost) ในการถือครองทองคำ เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย ด้านนักวิเคราะห์กล่าวว่า การปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะดึงดูดให้นักลงทุนหันเข้าซื้อพันธบัตร แต่จะเทขายทอง ในการปรับพอร์ตการลงทุนในกลุ่มสินทรัพย์ปลอดภัย

นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนเทขายทำกำไร หลังจากสัญญาทองคำปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 4 วันทำการก่อนหน้านี้

***ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดร่วง 15.9 ดอลล์ เหตุบอนด์ยีลด์พุ่งกดดันตลาด

ข่าวต่างประเทศ Friday February 12, 2021 07:10 ?สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (11 ก.พ.) โดยได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ และจากการที่นักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 4 วันทำการก่อนหน้านี้

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 15.9 ดอลลาร์ หรือ 0.86% ปิดที่ 1,826.8 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 3.1 เซนต์ หรือ 0.11% ปิดที่ 27.047 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 10 เซนต์ หรือ 0.01% ปิดที่ 1,247 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 5.50 ดอลลาร์ หรือ 0.2% ปิดที่ 2,347 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาทองคำได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยเมื่อคืนนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 1.155% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 1.934%

ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะเพิ่มต้นทุนค่าเสียโอกาส (opportunity cost) ในการถือครองทองคำ เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย ด้านนักวิเคราะห์กล่าวว่า การปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะดึงดูดให้นักลงทุนหันเข้าซื้อพันธบัตร แต่จะเทขายทอง ในการปรับพอร์ตการลงทุนในกลุ่มสินทรัพย์ปลอดภัย

นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนเทขายทำกำไร หลังจากสัญญาทองคำปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 4 วันทำการก่อนหน้านี้


***น้ำมัน WTI ปิดลบ 44 เซนต์ นลท.ขายทำกำไรหลังราคาพุ่ง 8 วันติดกัน

ข่าวต่างประเทศ Friday February 12, 2021 06:55 ?สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (11 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นติดต่อกัน 8 วันทำการ นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันหลังจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และสำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดการณ์ว่า ความต้องการใช้น้ำมันจะฟื้นตัวช้าเนื่องจากผลกระทบของมาตรการล็อกดาวน์

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 44 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 58.24 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 33 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 61.14 ดอลลาร์/บาร์เรล

นักลงทุนขายทำกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดในแดนบวกติดต่อกัน 8 วันทำการ และสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ปิดในแดนบวกติดต่อกัน 9 วันทำการ ซึ่งสัญญาน้ำมันดิบทั้งสองประเภทต่างก็ทำสถิติปิดในแดนบวกที่ยาวนานที่สุดในรอบกว่า 2 ปี

นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันหลังจากโอเปกคาดการณ์ว่า ความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลกในปี 2564 จะฟื้นตัวช้าเนื่องจากผลกระทบของมาตรการล็อกดาวน์ ขณะที่สำนักงานพลังงานสากล คาดการณ์ว่า อุปทานน้ำมันในตลาดโลกจะสูงกว่าอุปสงค์ แต่คาดว่าวัคซีนต้านโควิด-19 น่าจะช่วยให้อุปสงค์น้ำมันฟื้นตัวบางส่วน

อย่างไรก็ดี สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวลงไม่มากนักเมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนยังคงมีความหวังที่ว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของสหรัฐจะช่วยให้ความต้องการใช้น้ำมันฟื้นตัวขึ้นด้วย

นางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ คาดการณ์ว่า สภาคองเกรสจะสามารถลงมติให้การอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเยียวยาชาวสหรัฐและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อนวันที่ 15 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่มาตรการช่วยเหลือผู้ว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จะหมดอายุลง