ผู้เขียน หัวข้อ: คอลัมน์: รายงานพิเศษ: เกาะติดสถานการณ์ยางครึ่งปีแรก...แนวโน้มอนาคต  (อ่าน 485 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85094
    • ดูรายละเอียด

คอลัมน์: รายงานพิเศษ: เกาะติดสถานการณ์ยางครึ่งปีแรก...แนวโน้มอนาคต


หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2562 00:00:03 น.
 
สถานการณ์ยางครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2562 มีแนวโน้ม ที่ดีขึ้นเล็กน้อย ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 เมื่อเดือนตุลาคม 2561 ราคาอยู่ประมาณ 42 บาทต่อกิโลกรัม จากนั้นราคาได้ไต่ระดับ ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงเดือนมีนาคม 2562 ราคาได้ทะลุ 50 บาท ต่อกิโลกรัม ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมาราคาได้ขึ้นมาทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 54 บาทต่อกิโลกรัม
ในครึ่งปีหลังของปี 2562 สถานการณ์ราคายางพารา ของไทยจะเป็นอย่างไร ?
 
นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า จากปัจจัยทั้งภายในและต่างประเทศจะทำให้ราคายางเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงครึ่งปีแรกอย่างแน่นอน สำหรับความต้องการใช้ยางในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดยางที่สำคัญของไทย รัฐบาลจีนมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่ชะลอตัวลง ซึ่งจะให้ความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น ประกอบกับ การประชุมนัดพิเศษของ สภาไตรภาคียางพารา (ITRC) ซึ่งมี 3 ประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก คือ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา มีมติตั้งคณะทำงานร่วม 3 ประเทศ เพื่อหาข้อสรุปในการออกมาตรการรักษาเสถียรภาพราคายางพารา โดยจะพิจารณาใช้ 5 มาตรการ คือ
 
1.จำกัดปริมาณส่งออกยาง โดยจะพิจารณาหาปริมาณที่เหมาะสมซึ่งจะอยู่ระหว่าง 200,000-300,000 ตัน 2.เพิ่มปริมาณใช้ยางในประเทศของทั้ง 3 ประเทศ 3.ลดพื้นที่ปลูกยางพาราเพื่อปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน 4.จัดตั้งตลาดกลางเพื่อซื้อขายยางพาราในตลาดซื้อขายจริง และตลาดซื้อขายล่วงหน้า โดยเป็นตลาดที่จัดตั้งร่วมกันระหว่างภูมิภาค (Regional Rubber Market : RRM) และ 5.ตั้งสภายางแห่งอาเซียน (ASEAN Rubber Council : ARC) เพื่อเป็นเวทีให้ทั้ง 3 ประเทศ มาพูดคุยกันตั้งแต่แปรรูปยางพารา ศึกษาวิจัย รวมทั้งเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
 
นอกจากนี้ ล่าสุดยังมีดังนั้น ช่วงครึ่งปีหลังจึงเริ่มมีจากปัจจุบันที่มีการใช้ยางในประเทศ เพียง 600,000 ตันต่อปี หรือประมาณร้อยละ 14 ของกำลังการผลิตทั่วประเทศ คือ 4.5 ล้านตันต่อปีเท่านั้น โดยเฉพาะการดำเนินประเทศรัฐสุลต่านโอมาน เป็นอีกประเทศที่ให้ความสนใจนวัตกรรมถนนยางพารา เนื่องจากโอมานมีสภาพภูมิประเทศเป็นทะเลทราย อากาศร้อน ประสบปัญหาการเกิดร่องล้อบนถนนยางมะตอย ในขณะที่ถนนยางพาราโดดเด่นในเรื่องคุณสมบัติการทนความร้อนได้มากกว่าถนนยางมะตอยปกติ มีค่าความยืดหยุ่น คืนตัวดีและแข็งแรง มีอายุใช้งานที่มากกว่าทำให้เหมาะสมกับประเทศในเขตร้อนอย่างเช่น โอมาน
 
ความสำเร็จในการศึกษาวิจัย แปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจากยางพาราจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเสถียรภาพให้ยางพารา เพราะจะไม่ทำให้ตลาดยางยึดโยงกับการนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตเป็นล้อยาง หรือ ล้อรถยนต์เท่านั้น ล่าสุด กยท. ร่วมมือกับคณะแพทย์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทำงานวิจัยเพื่อนำน้ำยางพาราแท้ 100% ในประเทศไทยมาผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงสื่อการเรียนการสอนให้นักศึกษาแพทย์ พยาบาล ซึ่งนอกจากจะช่วยให้วงการแพทย์ได้อุปกรณ์ที่ตรงความต้องการในสาขาอาชีพแล้ว ยังช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ลดค่าใช้จ่ายนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาสูง และที่สำคัญยังช่วยเพิ่มปริมาณการใช้ยางธรรมชาติในประเทศอีกด้วย
 
สำหรับอุปกรณ์สำหรับใช้ในทางการแพทย์ รวมถึงสื่อการเรียนการสอนที่ประสบผลสำเร็จในการวิจัยดังกล่าวเช่น แบบหุ่นจำลองช่วยฝึกตัดชิ้นเนื้อ ซึ่งกยท.ร่วมกับหน่วยออร์โธปิดิกส์เนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ผลิตขึ้นมาเพื่อให้แพทย์ประจำบ้าน และนักศึกษาแพทย์ใช้ฝึกทักษะหัตถการในการหาชิ้นเนื้อมะเร็ง เนื้องอก เดิมเป็นหุ่นที่ทำมาจากยางสังเคราะห์ซึ่งเนื้อสัมผัสต่างจากเนื้อมนุษย์จริง แต่มีราคาแพงหลักแสนบาท ในขณะที่หุ่นจำลองที่ กยท.ได้ผลิตออกมาทำจากน้ำยางพารา 100% มีคุณสมบัติเหมือนเนื้อมนุษย์มากที่สุด แต่มีราคาเพียงแค่หลักหมื่น นอกจากนี้ กยท.ยังได้ทำงานวิจัยร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการใช้น้ำยางในการผลิตแผ่นฝึกเย็บแผล ราคาแค่แผ่นละ 200-300 บาท จากเดิมใช้ทำจากซิลิโคน ราคาแผ่นละ 700-800 บาท
 
อีกผลงานที่ กยท.ประสบผลสำเร็จในการวิจัยคือ ผลิตภัณฑ์แผ่นรองพื้นรองเท้าเพื่อสุขภาพที่ผลิตจากยางพารา 100% รับ น้ำหนักได้ดี มีผลดีต่อสุขภาพ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนจดสิทธิบัตร เพื่อทำผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป
 
จะเห็นได้ว่า ปัจจัยต่างๆทั้งในและต่างประเทศในครึ่งปีหลัง รวมทั้งความร่วมมือของกลุ่มประเทศผู้ผลิตยางพารา ตลอดจน ผลงานด้านการวิจัย ของกยท. ที่เริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรม ล้วนจะทำให้ความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ราคายางในอนาคต มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพแน่นอน!!
บรรยายใต้ภาพ
เยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)