ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดสัมพันธ์ลึกไทย-มาเลยฯ  (อ่าน 1264 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
เปิดสัมพันธ์ลึกไทย-มาเลยฯ
« เมื่อ: กันยายน 04, 2013, 09:47:29 AM »
วันที่ 4 กันยายน 2556 09:30
 
เปิดสัมพันธ์ลึกไทย-มาเลยฯ

โดย : ปกรณ์ พึ่งเนตร
กฤต ไกรจิตติ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

 "ทูตกฤต"เปิดสัมพันธ์ลึกไทย-มาเลย์ จากยุคหัวเมืองไทรบุรีสู่สหพันธรัฐ
"การเสด็จฯเยือนประเทศไทยของ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย พร้อมด้วย สมเด็จพระราชินี ระหว่างวันที่ 2-5 ก.ย. ในฐานะพระราชอาคันตุกะของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ถือเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย ซึ่งจะทำให้ความร่วมมือทุกด้านในอนาคต ตลอดจนความสัมพันธ์ของประชาชนทั้งสองประเทศแนบแน่นยิ่งขึ้น"
เป็นคำกล่าวของ กฤต ไกรจิตติ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ที่ให้สัม???าษณ์ผู้สื่อข่าวเครือเนชั่น ระหว่างพำนักในประเทศไทยเพื่อถวายการต้อนรับ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย และสมเด็จพระราชินี ในการเสด็จฯเยือนประเทศไทย
สมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์นี้ มีพระนามว่า สมเด็จพระราชาธิบดี อัลมูตัสสิมู บิลลาฮี มูฮิบบุดดิน ตวนกู อัลฮัจญ์ อับดุล ฮาลิม มูฮัซซัม ชาห์ อิบนี อัลมาฮูม สุลต่าน บาดลิซาห์ หรือ สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน ตวนกู อับดุล ฮาลิม มูฮัซซัม ชาห์ ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ลำดับที่ 5 และ 14 และเป็นสุลต่านแห่งรัฐเกดะห์ หรือเคดาห์ นับเป็นสุลต่านพระองค์แรกที่ได้รับเลือกเป็นพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียถึง 2 ครั้ง
ประมุขแห่งรัฐของสหพันธรัฐมาเลเซีย เรียกเป็น???าษามลายูว่า "ยังดี เปอร์ตวน อากง" แปลว่า "ผู้ปกครองสูงสุด" เทียบได้กับพระมหากษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตย???ายใต้รัฐธรรมนูญ โดยแต่งตั้งจากเจ้าผู้ครองรัฐทั้ง 9 รัฐบนคาบสมุทรมาเลย์ จากทั้งหมด 13 รัฐของมาเลเซีย ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี และหมุนเวียนกันไปตามลำดับ
สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน ตวนกู อับดุล ฮาลิม มูฮัซซัม ชาห์ ทรงเคยเสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการมาแล้วเมื่อวันที่ 1-8 ก.พ.2516 หรือ 40 ปีก่อน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย พระองค์ที่ 5 ขณะที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเคยเสด็จฯ เยือนมาเลเซีย เมื่อเดือน มิ.ย.2505
นายกฤต เล่าว่า รัฐเกดะห์ในอดีตก่อนที่จะมีการลงนามในหนังสือสัญญาเรื่องปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับสหพันธรัฐมลายู เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2452 ก็คือเมืองไทรบุรี หนึ่งในหัวเมืองมลายู???ายใต้การปกครองของสยาม โดย สุลต่านอับดุลฮามิด ฮาลิม ชาห์ หรือเจ้าพระยาไทรบุรี คือเจ้าเมืองไทรบุรีคนสุดท้ายที่ขึ้นตรงต่อสยาม
ทั้งนี้ มเหสีของพระยาไทรบุรีคนหนึ่ง คือ หม่อมเนื่อง นนทนาคร ลูกสาวของ หลวงนราบริรักษ์ นายอำเ???อเมืองนนทบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 5 และลูกของ สุลต่านอับดุลฮามิด ชาห์ กับ หม่อมเนื่อง ก็คือ ตวนกู อับดุล ราห์มาน บิดาแห่งเอกราช และนายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย เมื่อครั้งยังเยาว์เคยเรียนหนังสือที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ด้วย
พระราชบิดาของ สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน ตวนกู อับดุล ฮาลิม มูฮัซซัม ชาห์ คือ สุลต่านบัดลิชาห์ ก็ทรงเป็นพระราชโอรสของ สุลต่านอับดุลฮามิด ฮาลิม ชาห์ หรือเจ้าพระยาไทรบุรี ทำให้ สมเด็จพระราชาธิบดีของมาเลเซียองค์ปัจจุบัน มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาของเจ้าพระยาไทรบุรี หรืออีกนัยหนึ่ง เจ้าพระยาไทรบุรีทรงเป็นพระอัยกาของสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันนั่นเอง
"การเสด็จฯเยือนประเทศไทยของ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย และสมเด็จพระราชินี ในครั้งนี้ ซึ่งใกล้กับวันชาติของมาเลเซีย คือ วันที่ 31 ส.ค.ด้วย จึงถือเป็นประวัติศาสตร์ และจริงๆ แล้วไทยกับมาเลเซียมีความสัมพันธ์กันมา 500-600 ปี มีคนสยามในดินแดนคาบสมุทรมลายา ไทยเองก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมลายาก่อนลงนามในสนธิสัญญายก 4 หัวเมืองมลายูซึ่งก็คือมลรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซียในปัจจุบันให้อังกฤษ"
นายกฤต กล่าวต่อว่า การเสด็จฯเยือนประเทศไทยอีกครั้งของ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย จะส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ทั้งทางด้านการค้า เศรษฐกิจ และการปกครอง รวมทั้งความสัมพันธ์ของประชาชนทั้งสองประเทศ ซึ่งตั้งแต่มาเลเซียประกาศเอกราชและได้รับการรับรองให้เป็นสหพันธรัฐมาเลเซียก็มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับไทยมาตลอด เคยจับมือกันก่อตั้งสมาคมประชาชาติอาเซียนจนมีความแข็งแกร่งอย่างมากในปัจจุบัน
"เรื่องเศรษฐกิจเรามีความร่วมมือกันมายาวนาน โดยเฉพาะในการขุดเจาะแก๊สบริเวณไหล่ทวีปทับซ้อนแก้ปัญหาเขตแดน การค้าระหว่างกันมีมูลค่าปีละ 8 แสนล้านบาท เป็นการค้าตามด่านชายแดนถึง 70% ส่วนการลงทุนก็มีบริษัทมาเลเซียมาลงทุนในไทย 130 บริษัท ขณะที่นักธุรกิจไทยก็ไปลงทุนในมาเลเซียไม่น้อย"
"ในฐานะที่มีชายแดนติดกัน ไทยกับมาเลเซียมีกลไกความร่วมมือ 3 กลไก คือ ความมั่นคง เศรษฐกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน แต่สิ่งสำคัญคือความสัมพันธ์ระดับประชาชน เพราะคนไทยในจังหวัดชายแดน???าคใต้กับพื้นที่ทางตอนเหนือของมาเลเซียเป็นญาติพี่น้องกัน มีปู่ย่าตายายคนเดียวกัน ผู้ใหญ่ของมาเลเซียจำนวนไม่น้อยก็มีญาติอยู่ฝั่งไทย ทั้งปัตตานี และนราธิวาส"
นายกฤต กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาได้ใช้ประวัติศาสตร์ที่มีร่วมกันมายาวนานเป็นฐานของความร่วมมือกับมาเลเซีย และก้าวต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะการเชื่อมโยงด้านการคมนาคมระหว่างกันถือว่าสำคัญที่สุดเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 เพราะถ้าการคมนาคมสะดวก ก็จะส่งผลดีกับทั้งเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
"เมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางไปร่วมประชุมประจำปีกับ นายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัก ของมาเลเซีย และได้ตกลงความร่วมมือในมิติอื่นๆ เช่น ป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ ทั้งยาเสพติด ค้ามนุษย์ ขณะที่ความสัมพันธ์ของฝ่ายทหารก็แนบแน่น"
ในมิติการค้าและการลงทุนนั้น นายกฤต บอกว่า ความร่วมมือเรื่องอุตสาหกรรมฮาลาลเป็นสิ่งที่น่าสนใจ มาเลเซียเสนอว่าไทยเป็นผู้ผลิตลำดับต้นๆ ของ???ูมิ???าค ถ้าร่วมมือเป็นพันธมิตรผลิตและขยายตลาดร่วมกันก็จะเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้กับทั้งสองประเทศ ซึ่งฮาลาลไม่ใช่แค่อาหารหรือเรื่องของสินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการบริการและการท่องเที่ยวด้วย
ขณะที่ยางพาราซึ่งกำลังมีปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำจนมีการชุมนุมประท้วงในประเทศไทยนั้น นายกฤต กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าเกษตรกรไทยยังเน้นขายน้ำยางสด ยางแผ่นดิบ และยางก้นถ้วย ไม่ค่อยมีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า แต่ที่มาเลเซียมีโครงการสร้างเมืองยาง หรือ Rubber City ที่รัฐเกดะห์
"หากเราไปร่วมมือกับมาเลเซีย ส่งวัตถุดิบป้อนโรงงาน ดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามา ก็น่าจะช่วยแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำได้ระดับหนึ่ง" เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ กล่าวทิ้งท้าย