ผู้เขียน หัวข้อ: วงการยาง ระดมสมองแนะเร่งพัฒนาผลิต???ัณฑ์ต้นน้ำ-ปลายน้ำ รับ AEC  (อ่าน 2184 ครั้ง)

Rakayang.net/index

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
วงการยาง ระดมสมองแนะเร่งพัฒนาผลิต???ัณฑ์ต้นน้ำ-ปลายน้ำ รับ AEC
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2556 17:57:59 น.
             นายวรเทพ วงศาสุทธิกุล นายกสมาคมน้ำยางข้นแห่งประเทศไทย กล่าวในการสัมมนาการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิตของยางไทย เพื่อเพิ่มศักย???าพการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่า การลดต้นทุนการผลิตยางไทยคงทำได้ยาก แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นพัฒนาต่อยอดจากผลิต???ัณฑ์ต้นน้ำไปเป็นผลิต???ัณฑ์กลางน้ำและปลายน้ำน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

             นอกจากนี้ เอเชียเป็น???ูมิ???าคที่มีการส่งออกยางสูงถึง 75% ของการส่งออกยางทั้งโลก โดยไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม คือ 3 ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ โดยไทยเป็นผู้ส่งออกยางแผ่นและเป็นผู้ส่งออกน้ำยางข้นเบิอร์ 1 ขณะที่ญี่ปุ่นและจีนคือคู่ค้ารายใหญ่ของไทยทั้งในอดีตที่ผ่านมาและจะยังเป็นคู่ค้าที่ดีในอนาคต

            "มองว่าอนาคตยางแผ่นและน้ำยางข้นของเราไม่ลำบาก ถือเป็นจุดแข็งของไทย เราสามารถเป็นผู้กำหนดราคาขายได้ ถ้ารัฐบาลมองเห็นจุดแข็งตรงนี้ และควรประกาศให้ทั่วโลกรู้ถึงความสำคัญนี้"นายวรเทพ กล่าว

             นายวรเทพ ยังแนะนำว่า ถ้าจะสู้ใน AEC ต้องรีบโค่นยางเก่าทิ้งให้หมด และปลูกยางสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเวลานี้ประเทศเพื่อนบ้านปลูกยางพันธุ์ใหม่ล่วงหน้าเราไปแล้วประมาณ 3 ปี

            "ถ้าเรารีบปลูกยางใหม่ตอนนี้ยังทัน ยังสู้ได้ แต่ถ้ายืนต้นยางเก่าเอาไว้ รอให้หมดอายุไปเองแล้วปลูกใหม่ อาจจะโตไม่ทัน เราก็จะเสียเปรียบในการแข่งขันและการทำตลาด"

            ขณะที่นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการ ส???าอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)  จะต้องส่งเสริมนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ ซึ่งมีเทคโนโลยีการผลิต และมีตลาดรองรับ  หากเป็นอุตสาหกรรมต่างชาติ จะต้องมีเงื่อนไขการถ่ายโอนเทคโนโลยีให้กับคนไทย ต้องมีการให้ทุนวิจัยในการนำยางมาพัฒนาเป็นผลิต???ัณฑ์ ทั้งด้านอุตสาหกรรมต่อเนื่อง หรือการใช้ในบ้าน และหรือด้านโครงสร้างพื้นฐาน หรือเพื่อการชลประทาน กำหนดอุตสาหกรรมตัวอย่างที่เป็น Best Practice เพื่อให้เป็นสถานดูงานหรือฝึกงานของเกษตรกรสวนยาง และหรือลูกหลานเกษตรกร

            ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ประเทศไทยขาดการบูรณาการคลัสเตอร์ยาง ขาดการเชื่อมโยงและไม่เอื้อซึ่งกันและกัน ระหว่างชาวสวนยาง-การแปรรูปยางเชิงวัตถุดิบ และอุตสาหกรรมแปรรูปผลิต???ัณฑ์ยาง โดยโครงสร้างการผลิตยังเป็นแบบต่างคนต่างทำ การขาดยุทธศาสตร์แปรรูปผลิต???ัณฑ์ยางเป็นวาระแห่งชาติ ประเทศไทยขาดทิศทางการพัฒนายกระดับอุตสาหกรรมยางและขาดการวางยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบในการแปรรูปยางดิบไปเป็นผลิต???ัณฑ์ยางเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิต???ัณฑ์ยาง ขาดการสนับสนุนทั้งด้านเทคโนโลยีการผลิต และเชิงการตลาดในการเพิ่มมูลค่ายางธรรมชาติ ไปสู่อุตสาหกรรมแปรรูปผลิต???ัณฑ์ยาง (ปัจจุบันยังอยู่ในระดับ OTOP วิสาหกิจชุมชน) การพัฒนาแปรรูปผลิต???ัณฑ์ยางยังอยู่ในเชิงเกษตรกรชาวสวนยาง  มากกว่าการพัฒนาไปสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์

            ด้านนายปรีดี ลีลาเศรษฐวงศ์ ที่ปรึกษาสมาคมน้ำยางข้นไทย กล่าวว่า ควรส่งเสริมความร่วมมือชาติอาเซียนให้มียุทธศาสตร์ยางร่วมกัน, ปรับปรุงกฎหมายยาง เงิน CESS ให้สามารถแข่งขันได้, ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร และขึ้นทะเบียนเกษตรกรทั่วประเทศ

            จัดทำโซนนิ่งยางเพื่อให้มีศักย???าพการผลิตสูงขึ้น, จัดทำต้นทุนการผลิตยางของเกษตรกร ให้เป็นที่ยอมรับได้ทุกฝ่าย และส่งเสริมสวัสดิการสังคมแก่เกษตรกร ผู้ได้รับผลกระทบราคายางตกต่ำ

            ส่วนนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานส???าการยางพาราแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เวลานี้ชาวสวนยางรู้สึกน้อยใจรัฐบาลที่ละเลยการดูแลปัญหาราคายางตกต่ำ ความสำคัญกับเรื่องนโยบายการรับจำนำข้าวทั้งๆที่ยางทำรายได้ให้กับประเทศปีละ 6 แสนล้านบาท ขณะที่ข้าวทำรายได้ให้ประเทศเพียงปีละ 1 แสนล้านบาทเท่านั้น

            "เข้าใจว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับสินค้าข้าวเป็นผลมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด เปิดช่องทุจริต ไม่โปร่งใส รัฐบาลก็ต้องเข้ามาดูแลแก้ปัญหา แต่ยางก็ไม่ควรละเลย ยิ่งใกล้จะเปิด AEC ด้วยแล้ว แต่การจัดการสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับยางยังไม่มีประสิทธิ???าพเท่าที่ควร ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรยังสูง ถ้าเราไม่รีบทำอะไรตอนนี้เกรงว่ายางไทยจะเสียเปรียบชาติอื่นๆ"นายอุทัย กล่าว

             อีกทั้งการเก็บเงินสงเคราะห์การทำสวนยาง (CESS) ในอัตรา 5 บาท/กก. ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา ไม่มีการเรียกเก็บเงิน CESS แต่อย่างใดจะยิ่งทำให้ไทยเสียเปรียบ

             "เรื่องเงิน CESS เราพูดกันมานานมากแต่ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ถือเป็นการถ่วงความเจริญในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางไทยอย่างมาก"นายอุทัย กล่าว

              นายอุทัย กล่าวต่อว่า ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำเสนอแผนพัฒนายางพาราครบวงจรปี 2557-2561 ต่อเนื่องจากยุทธศาสตร์พัฒนายางพารา พ.ศ.2552-2556 ประกอบกับปี 2558 ประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) การกำหนดยุทธศาสตร์ด้านยางพาราของประเทศไทย ซึ่งเป็นการระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุก???าคส่วนทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ จะทำให้เห็นทิศทางในเรื่องการผลิต การส่งออกและการบริโ???ค???ายในประเทศ รวมถึงปัญหาอุปสรรคต่างๆชัดเจนขึ้น