ผู้เขียน หัวข้อ: ราคาเพิ่มแน่!? กยท.แนะชาวสวนขายน้ำยางสดแทน ดึง "ไทยรับเบอร์" ซื้อนำร่องพิษณุโลกก่อน  (อ่าน 669 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
ราคาเพิ่มแน่!? กยท.แนะชาวสวนขายน้ำยางสดแทน ดึง "ไทยรับเบอร์" ซื้อนำร่องพิษณุโลกก่อน
เผยแพร่: 9 พ.ย. 2560 14:10:00   ปรับปรุง: 9 พ.ย. 2560 14:18:00   โดย: MGR Online

พิษณุโลก - รองผู้ว่าฯ กยท.เชียร์ชาวสวนยางเลิกทำยางก้อนถ้วย ขายน้ำยางสดแทนแก้ปัญหาราคาร่วง พร้อมการันตีราคาเพิ่มเท่าตัวแน่ พร้อมดึง ?ไทยรับเบอร์? ร่วมรับซื้อนำร่องที่พิษณุโลก ก่อนกระจายทั่วภาคเหนือ-อีสาน

วันนี้ (9 พ.ย.) นายธีรวัฒน์ เดชทองคำ รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้เดินทางไปที่สำนักงาน กยท.จังหวัดพิษณุโลก ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เพื่อมอบนโยบายปรับเปลี่ยนแนวคิดผลิตน้ำยางสดแทนจากผลิตยางก้อนถ้วย พร้อมกับมอบถัง 200 ลิตรแก่เกษตรกรชาวสวนยางพารา เพื่อเริ่มต้นรวบรวมเก็บน้ำยางสดใส่ถังนำส่งไปยังจุดรวมที่ สกย.พิษณุโลก ก่อนส่งเข้าโรงงานแปรรูปน้ำยางสดทันทีเพื่อผลิตถุงมือยาง ฯลฯ ที่ จ.ระยอง

มีนายไสว ทะอินทร์ ผอ.การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคเหนือ และนายพนัส แพชนะ ผอ.การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดพิษณุโลกให้การต้อนรับ

นายธีรวัฒน์เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาได้ช่วยเหลือชาวสวนยางมาต่อเนื่อง แต่วันนี้เป็นเรื่องเปลี่ยนแนวความคิดเกษตรกรภาคเหนือ และอีสาน จากการทำยางก้อนถ้วยมาเป็นน้ำยางสด ซึ่งยางก้อนถ้วยราคาต่ำมาก ถามว่าทำไมไม่มาทำน้ำยางสดแทน

กยท.พิษณุโลกริเริ่มผลักดันให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาทำน้ำยางสดที่มีราคาสูงกว่าเท่าตัวแทน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างเกษตรกรชาวสวนยาง, บริษัทผู้ประกอบการ และ กยท. โดย กยท.พิษณุโลกจะทำหน้าที่รวบรวมผลผลิตและรับรองคุณภาพ น้ำยางไม่บูด-มีเปอร์เซ็นต์ DRC ไม่ต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น เกษตรกรสามารถเข้าร่วมได้ทันที

?ณ วันนี้ ที่จังหวัดสงขลา กยท.ดำเนินการไปแล้ว ให้ราคาน้ำยางสดถึง 45.50 บาท สูงกว่าราคาท้องตลาด ทำให้เกษตรกรขายได้ราคาดีกว่ายางก้อนถ้วยกว่าเท่าตัว?

นายพนัส แพชนะ ผอ.การยางแห่งประเทศไทย จ.พิษณุโลก กล่าวว่า บริษัทไทยรับเบอร์ ได้เข้าร่วมโครงการ และเป็นผู้รับซื้อน้ำยางสดจากพิษณุโลก นำส่งเข้าโรงงานที่จังหวัดระยอง โดย กยท.พิษณุโลกจะทำหน้าที่ตระเวนรับน้ำยางสดจากสวนมารวบรวมที่สำนักงานฯ และส่งไปขายยังโรงงานไทยรับเบอร์ เท่ากับเป็นการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำในปัจจุบัน อีกทั้งสามารถแก้ปัญหาข้อร้องเรียนรถขนบรรทุกยางก้อนถ้วยที่มีน้ำยางไหลบนถนน ทำให้ถนนลื่น ก่อเกิดอุบัติเหตุได้ด้วย

?ตอนนี้ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดเกษตรกรที่ทำยางก้อนถ้วยให้ขายน้ำยางสดแทนจังหวัดพิษณุโลกเป็นเพียงจุดเดียวก่อน ถือว่าเป็นจังหวัดนำร่อง จากนั้นจะต้องนำแนวคิดนี้ไปเผยแพร่ยังจังหวัดเชียงราย และภาคเหนือต่อไป?

นายพนัสกล่าวอีกว่า เกษตรกรชาวพิษณุโลกจะต้องเข้าใจ และตกลงความร่วมมือกับบริษัทผู้ประกอบการ ซึ่งบริษัทฯ ต้องรู้ว่ามีปริมาณน้ำยางจำนวนเท่าใด และคุณภาพเป็นอย่างไร ส่วนเงินที่เกษตรกรจะได้รับนั้น กยท.จะเป็นคนรับรองเพื่อดูดซับยางทั้งระบบ ให้ราคายางปรับตัวสูงขึ้นอัตโนมัติโดยเฉพาะยางก้อนถ้วยและราคายางแผ่นรมควัน

?เชื่อว่าถ้าระบบนี้สำเร็จจะทำให้เกษตรกรทั่วภาคเหนือหันมาทำน้ำยางสดกันมากขึ้น?

สำหรับพื้นที่ปลูกยางพาราบนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิในพิษณุโลกมีประมาณ 150,000 ไร่ ส่วนสวนยางบนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิมีมากกว่าเท่าตัวหรือ 3 แสนไร่ มีสวนยางพาราที่เปิดกรีดได้แล้วประมาณ 2 แสนไร่

นายนันทพงษ์ ทับทิมจันทร์ ชาวสวนยางหมู่ 8 บ้านพร้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก กล่าวว่า ปีนี้ราคายางตกต่ำมาก ยางก้อนถ้วยอยู่ที่ 17 บาทเท่านั้น ถ้าราคายางก้อนถ้วยอยู่ที่ 30-40 บาทต่อกิโลกรัมเกษตรกรจึงจะอยู่ได้ เมื่อ กยท.อยากเปลี่ยนแนวคิดมาเป็นทำน้ำยางสดตนเห็นด้วย ถือว่าขายได้ราคาสูงขึ้น ปัญหาที่ห่วงคือการขนส่งน้ำยางออกจากสวน

นายบุญล้วน บุญอุ่น ชาวสวนยางบ้านพร้าว อ.นครไทย กล่าวว่า ราคายางพาราก้อนถ้วย 17 บาท หากทำน้ำยางสดได้ถือว่าได้ราคาจริงๆ ปัญหาคืออยู่ไกล อยากทราบเรื่องการช่วยเหลือค่าขนส่ง ค่าน้ำมันในการนำน้ำยางมารวบรวมที่ กยท.พิษณุโลก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปริมาณสวนยางทั่วประเทศมีจำนวน 32 ล้านไร่ (ปลูกในแปลง ส.ป.ก.8 ล้านไร่ การยางแห่งประเทศไทยมีมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำภายใต้แนวทาง 1 ลด 3 เพิ่ม คือ ลดพื้นที่ปลูกที่ไม่เหมาะสม เป้าหมายปีละ 4 แสนไร่, เพิ่มรายได้ คือ ให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นแบบผสมผสาน, เพิ่มการใช้ยางพาราในประเทศ และเพิ่มมาตรการนำร่อง ด้วยการดูดซับน้ำยางสดออกจากตลาด ดึงราคายางก้อนถ้วยและยางแผ่นดิบสูงขึ้น โดยให้เปลี่ยนแนวคิดและวิธีผลิตของเกษตรกรจากการผลิตยางก้อนถ้วยเป็นผลิตน้ำยางสดแทน












« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 10, 2017, 03:09:33 PM โดย Rakayang.Com »