ผู้เขียน หัวข้อ: "ธีธัช" ผู้ว่าการยางฯคนใหม่โต้เรื่องทุจริตในองค์การตลาด ป.ป.ช. ชี้มูลแล้วว่าตนไม่มีความผิด ไม่ได้ขาดงานจนถูกเลิกจ้าง  (อ่าน 628 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85862
    • ดูรายละเอียด
"ธีธัช" ผู้ว่าการยางฯคนใหม่โต้เรื่องทุจริตในองค์การตลาด ป.ป.ช. ชี้มูลแล้วว่าตนไม่มีความผิด ไม่ได้ขาดงานจนถูกเลิกจ้าง

updated: 02 ก.ย. 2559 เวลา 12:30:33 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

"ธีธัช" ผู้ว่าการยางฯคนใหม่โต้เรื่องทุจริตในองค์การตลาด ป.ป.ช. ชี้มูลแล้วว่าตนไม่มีความผิด ไม่ได้ขาดงานจนถูกเลิกจ้าง
[color=rgb(51, 51, 51) !important]นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ถูกกล่าวหาว่ามีการทุจริต ว่า จากประเด็นบนหน้าหนังสือพิมพ์ที่มีการกล่าวหาว่าตนทุจริตในการทำงานนั้น ยืนยันในความโปร่งใสเเละมีเอกสารยืนยันการทำงานทุกขั้นตอน หากต้องถูกตรวจสอบในประเด็นใดก็พร้อมให้ข้อมูลเเละยินดี เบื้องต้น วิธีการในการพิจารณาข้อกล่าวหาได้รวบรวมไว้ใน 3 ประเด็นคือ

ในส่วนของประเด็นแรก คือถูกกล่าวหาว่ามีการทุจริตนั้นเป็นกระบวนการในขั้นต้น ซึ่งใครก็สามารถถูกกล่าวหาได้ เอกสารเหล่านี้เรียกว่าเป็นต้นทาง ส่วนปลายทางที่จะชี้ว่ามีใครผิดใครถูกนั้นต้องไปดูที่คำพิพากษา ดังนั้น ปลายทางข้อเท็จจริงคือ คำพิพากษา จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ได้มีการตรวจสอบเเล้วเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ซึ่งได้พิจารณาเเล้วว่า นายธีธัช สุขสะอาด ไม่มีมูลในการกระทำความผิด ส่วนประเด็นที่ 2 ที่มีการกล่าวอ้างว่า นายธีธัช สุขสะอาด ถูกเลิกจ้างเมื่อปี 2555 ก็สามารถตรวจสอบได้ง่ายที่สุดคือช่วงหลังของปี 2555 นับจากวันที่ถูกกล่าวหาจนถึงวันที่ทำงานครบสัญญา คือวันที่ 30 พ.ย.2557 ไปทำงานหรือไม่ เพราะฉะนั้นก็ขอให้ไปตรวจสอบว่า 1.มีการปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องหรือไม่ ซึ่งในข้อนี้จะเห็นว่าได้ไปทำงานโดยตลอด และได้เข้าร่วมประชุมในฐานะกรรมการเเละผู้บริหารสูงสุด อยู่ในตำเเหน่งผู้อำนวยการองค์การตลาดมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงปี 2557 มีทั้งเอกสารการประชุมและเอกสารทางการเงินที่เเสดงสถานะการทำงานให้เห็นตลอดว่ามีการทำงานอย่างต่อเนื่อง

และประเด็นที่3ในเมื่อมีการตรวจสอบว่าไม่มีการทุจริตและไม่ได้ถูกเลิกจ้างกระบวนการการเข้ามาสู่ตำแหน่งผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ก็ดำเนินไปตามปกติ ซึ่งมีคณะกรรมการเข้ามาประสาน อาทิ กระทรวงเกษตรฯ สำนักงานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. ซึ่งเป็นผู้กำกับรัฐวิสาหกิจ เพราะฉะนั้นหากมีความผิดหน่วยงานต้องรับทราบ รวมถึง สภาพัฒน์ กระทรวงอุตสาหกรรม และอีกหลายหน่วยงาน เพราะฉะนั้นกระบวนการคัดสรรมาจากคณะกรรมการทั้งหมด จะเห็นว่าการตรวจสอบใด ๆ เป็นไปตามกระบวนการทุกขั้นตอน

"การเข้ามาซึ่งตำแหน่งหน้าที่มาจากหลายหน่วยงานไม่ใช่คนสองคน เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ผมไม่อยากขยายผล แต่ผมก็อยากเรียนว่าข้อกล่าวหาเหล่านี้ต้องมาพิสูจน์กันในเรื่องข้อมูลดีกว่า ใครพูดก็พูดได้ ดังนั้นผมจึงต้องอาศัยกฎหมายเป็นที่พึ่งในการหาความเป็นธรรมให้กับตนเอง ยืนยันในความโปร่งใสแน่นอน"

ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat
[/color]