ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดลบ 57.32 จุด หลังมุมมองบวกศก.เริ่มอ่อนแรง  (อ่าน 300 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84897
    • ดูรายละเอียด
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดลบ 57.32 จุด หลังมุมมองบวกศก.เริ่มอ่อนแรง

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 05:59:00 น.
 
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (26 ก.พ.) เช่นเดียวกับ S&P 500 ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน ภายหลังมุมมองบวกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นในช่วง หลายวันที่ผ่านมานั้นเริ่มอ่อนแรงลง ประกอบกับราคาน้ำมันได้กลับมาปรับลดลงอีกครั้ง หลังจากที่ฟื้นตัวขึ้นในช่วงสองวันที่ผ่านมา


ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 57.32 จุด หรือ 0.34% ปิดที่ 16,639.97 ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 3.65 จุด หรือ 0.19% ที่ระดับ 1,948.05 ดัชนี Nasdaq บวก 8.26 จุด หรือ 0.18% ปิดที่ 4,590.47
 
สำหรับตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งสามดัชนีหลักปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สอง เพราะได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 1.5% ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 1.6% และดัชนี Nasdaq พุ่ง 1.9%
 
ตลาดหุ้นนิวยอร์กเปิดแดนบวกในวันศุกร์ ขานรับการปรับเพิ่มตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 4 นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันก็เป็นปัจจัยหนุนภาวะการซื้อขายในช่วงเปิดตลาดเช่น กัน โดยดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นไปถึง 0.6%
 
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ครั้งที่ 2 สำหรับไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ขยายตัว 1.0% โดยปรับเพิ่มขึ้นจากตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 0.7% ถึงแม้ต่ำกว่าระดับ 2.0% ในไตรมาส 3 และ 3.9% ในไตรมาส 2
 
ตัวเลขจีดีพีล่าสุดสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า จีดีพีในไตรมาส 4 จะถูกปรับทบทวนลงสู่ระดับ 0.4%
 
ด้านสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 1% ในระหว่างวัน ท่ามกลางความคาดหวังที่ว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันจะสามารถจับมือกันผลักดันราคา ให้ดีดตัวขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันเบนซินจำนวนมากในสหรัฐก็เป็นอีกปัจจัยที่หนุน ตลาด
 
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นราคาหุ้นเริ่มปรับตัวเคลื่อนไหวในแดนลบ เช่นเดียวกับราคาน้ำมัน เพราะได้รับแรงกดดันจากรายงานของรัฐบาลสหรัฐที่ว่า อัตราเงินเฟ้อระยะยาวปรับตัวขึ้นสองเท่าในเดือนม.ค.สู่ระดับ 1.3% ซึ่งขยับเข้าใกล้เป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ของเฟด และจุดกระแสคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ที่อาจจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก ครั้งในเร็วๆนี้
 
ทั้งนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจและตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงขึ้นได้หนุนให้เงินดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น ทำให้หุ้นบริษัทที่มีกิจการในต่างประเทศปรับตัวลดลง รวมถึงสร้างแรงกดดันต่อราคาน้ำมัน เพราะดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นทำให้สินค้าโภคภัณฑ์มีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ที่ ถือเงินสกุลอื่นๆ
 
ในส่วนของข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยในวันศุกร์นั้น นอกจากตัวเลขจีดีพีแล้ว กระทรวงพาณิชย์สหรัฐยังเปิดเผยในวันเดียวกันว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 6.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 0.5% ในเดือนม.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ในเดือนธ.ค.
 
นอกจากนี้ กระทรวงยังรายงานว่า รายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 7.96 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 0.5% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว
 
นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนม.ค.



อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--