ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 833 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84894
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  8  ธันวาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1.สภาพภูมิอากาศ


- บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลง ส่วนภาคใต้มีฝนกระจายและตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง

2.การใช้ยาง


- บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประจำสหรัฐฯ คาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในสหรัฐฯ จะมีความแข็งแกร่งต่อไปอีกใน 2 ปีข้างหน้า เพราะได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันเบนซินที่อยู่ในระดับต่ำ และเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างมีเสถียรภาพจะช่วยให้กำไรของโตโยต้าเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยคาดว่ายอดขายรถยนต์ในปีนี้จะสามารถทำรายสถิติสูงสุดที่ทำไว้ที่ 17.4 ล้านคันในปี 2543

3. สต๊อกยาง


- สต๊อกยางจีน ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2558 มีจำนวน 201,557 ตัน เพิ่มขึ้น 10,084 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.27จากสต๊อกยางเดิมที่ 191,473 ตัน ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558

4. เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ในเดือนตุลาคม สู่ระดับ 4.39 หมื่นล้านดอลล่าร์ ขณะที่การส่งออกลดลงร้อยละ 1.4 สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี และการนำเข้าลดลงร้อยละ 0.6

- กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อในภาคการผลิตของเยอรมนีในเดือนตุลาคม ปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.8 จากเดือนก่อนหน้า หลังจากที่ปรับตัวลงติดต่อกันมา 3 เดือน เพราะได้รับปัจจัยหนุนจากอุปสงค์ในภูมิภาคยูโรโซนที่ปรับตัวขึ้นร้อยละ 2.4 ขณะที่คำสั่งซื้อภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 และคำสั่งซื้อจากนอกภูมิภาคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4

- สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่นเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 สู่ระดับ 42.6 เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้น และราคาน้ำมันที่ลดลง รวมทั้งภาวะการจ้างงานที่ดีขึ้น

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ในเดือนตุลาคม สู่ระดับ 4.39 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การส่งออกลดลงร้อยละ 1.4 สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี และการนำเข้าลดลงร้อยละ 0.6

- รัฐบาลญี่ปุ่น ปรับเพิ่มประทานการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ปีนี้ขึ้นสู่ระดับร้อยละ 1.0 หลังจากข้อมูลเบื้องต้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 ระบุว่า GDP ไตรมาส 3 หดตัวลงร้อยละ 0.8

- ศูนย์สารสนเทศแห่งรัฐของจีน (SIC) เปิดเผย รายงานฉบับหนึ่งโดยคาดว่าอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีน ในปี 2559 จะสูงเกินร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบรายปี นอกจากนี้ รายงานยังคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีนในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบรายปี ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) จะปรับตัวลงร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบรายปี

- ธนาคารกลางจีน เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนลดลง 8.72 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดือนตุลาคมมาอยู่ที่ 3.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนพฤศจิกายน ส่วนทองคำสำรองของจีนในเดือนพฤศจิกายน ลดลง 5.95 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 6.33 หมื่นล้านดอลลาร์-สหรัฐในเดือนตุลาคม

- กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือนตุลาคม ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.5

- รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยในรายงานเบื้องต้นว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ซึ่งสะท้อนภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ปรับตัวขึ้นในเดือนตุลาคม โดยดัชนีพ้องเศรษฐกิจ เช่น ผลผลิตอุตสาหกรรมการค้าปลีก และการจ้างงานใหม่ ปรับตัวขึ้น 2.0 จุด จากเดือนก่อนหน้าสู่ระดับ 114.3 ในเดือนตุลาคม




- สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่นเดือนพฤศจิกายน ปรับตัวสูงขึ้น 1.1 สู่ระดับ 42.6 ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นราคาน้ำมันที่ลดลง และภาวะการจ้างงานที่ดีขึ้น

5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.88 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.10  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 123.16 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.35  เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

6. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนมกราคม 2559 ปิดตลาดที่ 37.65 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 2.32 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีรายงานว่าที่ประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ไม่สามารถบรรลุข้อตกเกี่ยวกับเพดานการผลิตน้ำมันใหม่ สำหรับช่วง 6 เดือนข้างหน้า

- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนมกราคม ลดลง 2.27 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 40.73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

7. การเก็งกำไร


- TOCOM ส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 164.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 อยู่ที่ 170.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.4 เยนต่อกิโลกรัม

- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 129.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

8. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร เพิ่มขึ้น 211,000 ตำแหน่ง ในเดือนพฤศจิกายน ขณะที่อัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับ ร้อยละ 5.0 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปีครึ่ง หรือตั้งแต่เดือนเมษายน 2551

9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เมื่อเทียบกับราคายางวันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม ที่ผ่านมา  เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย จากภาคใต้ยังคงมีฝนตกในหลายพื้นที่  อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวรายงานว่ายังคงขายออกยาก เพราะใกล้สิ้นปีผู้ซื้อ (โดยเฉพาะจีน) ชะลอการซื้อเพื่อปิดบัญชี เพื่อคืนเงินที่กู้ยืมมาทำธุรกรรมก่อนที่จะกู้ยืมได้อีกหลังปีใหม่ ทำให้การซื้อขายซบเซาลงในช่วงนี้

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ทำสถิติใหม่ต่ำสุดในรอบ 7 ปี และความวิตกกังวลหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นในการประชุมวันที่ 15-16 ธันวาคม นี้  อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีปัจจัยบวกจากข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งเกินคาด และญี่ปุ่นปรับเพิ่มประมาณการตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 3 ปีนี้ ขึ้นสู่ระดับร้อยละ 1.0 จากข้อมูลเบื้องต้นที่หดตัวร้อยละ 0.8


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา