ผู้เขียน หัวข้อ: บิ๊กตู่-แกนนำยางใต้ แถลงร่วม นายกฯชี้ ชดเชยส่วนต่างราคาไม่ได้ ผิดข้อตกลงWTO  (อ่าน 1001 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84883
    • ดูรายละเอียด
บิ๊กตู่-แกนนำยางใต้ แถลงร่วม นายกฯชี้ ชดเชยส่วนต่างราคาไม่ได้ ผิดข้อตกลงWTO
วันที่ 21 ตุลาคม  พ.ศ. 2558 เวลา 12:17:39 น


ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ มีมติให้ใช้ยางในประเทศเพิ่มมากขึ้นในทุกอุตสาหกรรม ยืนยันไม่สามารถชดเชยราคาส่วนต่างให้เกษตรกรได้ เพราะผิดกฏหมายองค์การการค้าโลก ขณะที่ตัวแทนเกษตรกรยอมรับข้อเสนอรัฐบาลที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตแทน โดยมาตรการช่วยเหลือจะได้ข้อยุติในอีก 2 สัปดาห์หน้า


http://www.matichon.co.th/online/2015/10/14454045291445404574l.jpg height=304

21 ต.ค. - พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  คสช. กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ หรือ กนย. ว่า ได้หารือกับผู้ประกอบการทั้งหมดตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมาและวันนี้ได้นำ ปัญหามาพูดคุยและได้ข้อยุติร่วมกันว่าต้องเน้นในการพัฒนาโครงสร้างการผลิต และการจำหน่ายยางพาราเน้นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน และการปรับต้นทุนการผลิต รวมถึงสั่งให้กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมพิจารณากำหนดเส้นทางที่จะใช้ยางพาราสร้างถนน ยืนยันจะส่งเสริมการใช้ยางในประเทศมากขึ้นเพราะที่ผ่านมาใช้เพียงแค่ร้อยละ 10 เท่านั้น ซึ่งขณะนี้มีหลายบริษัทรับซื้อยางเพื่อแปรรูปและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ในประเทศ โดยส่งเสริมเรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมเมืองยาง หรือ รับเบอร์ ซิตี้ นอกจากนี้ภายในปีนี้จะพูดคุยกับผู้ประกอบการเพื่อตั้งสถานีทดสอบยาง และสร้างสนามทดสอบยางรถยนต์

นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าวันนี้ทุกภาคส่วนที่เข้ามามีส่วนร่วมพึงพอใจ ไม่มีข้อขัดแย้งใดๆกันอีกแล้ว ความขัดแย้งจบแล้วจะไม่พูดย้อนหลังอีก ส่วนเรื่องการชดเชยราคาหรือส่วนต่างยางพาราถือเป็นเรื่องอันตรายเนื่องจากขัดต่อข้อตกลงองค์การการค้าโลก หรือ WTO แต่จะเน้นสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรดูแลตัวเองได้พร้อมสนับสนุนให้ปลูกพืชชนิดอื่นเมื่อราคาสินค้าตก อย่างไรก็ตามขอให้เข้าใจว่ารัฐบาลแก้ปัญหาทั้งระบบไม่ใช่แค่แก้เพียงปลีกย่อย จึงขอให้เห็นใจการใช้งบประมาณของรัฐ รวมถึงหนี้สินที่รัฐบาลต้องรับภาระทั้งหมด ส่วนการระบายยางพาราที่อยู่ในสต็อกกำลังดำเนินการอยู่ขออย่าเร่งและจะต้องหาทางเพื่อขายให้ได้ในราคาที่เหมาะสม

ด้าน พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า รัฐบาลมีโครงการส่งเสริมอาชีพเสริมของเกษตรกรชาวสวนยางพาราได้รับความสนใจ จำนวนมากถึง 5 หมื่นรายจากเดิมที่ตั้งเป้าไว้เพียง 3 หมื่นราย จึงขยายเวลาออกไปจนถึงปลายปีนี้และเพิ่มวงเงินขึ้นอีก 2 พันล้านบาทจากเดิมที่ตั้งไว้ 1 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตนเป็นประธานการประชุมร่วมกับทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรต่างๆที่ไม่ผิดกฎหมาย เช่น ปัญหา IUU ที่ถูกต่างประเทศติดตาม การหารือถึงแผนการตลาด และสัญญาต่างๆให้ตรงความต้องการและครอบคลุมทุกมิติ ภายในสัปดาห์หน้าที่กระทรวงเกษตรฯ และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมครม.ในสัปดาห์ถัดไป ซึ่งจะช่วยเหลือได้อย่างแท้จริงและตรงความต้องการของเกษตรกร และจะเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ภายในปีนี้ ส่วนพ.ร.บ.ยาง ก็ได้มีข้อยุติและจะเดินหน้าต่อภายในวันที่ 11 พ.ย. นี้ ซึ่งจะทำให้องค์กรเกี่ยวกับยางก็จะขับเคลื่อนต่อไปได้ และการประชุมในวันนี้เป็นมิติที่ดีที่ทุกคนจะร่วมกันและจริงใจในการแก้ปัญหา และเข้าใจว่าจะไม่มีการเคลื่อนไหวจากกลุ่มเกษตรกร

ขณะที่นายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของชาวสวนยางจะยังคงเป็นไปตามกรอบของกฎหมายเป็นสิทธิคุ้มครอง ตามรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องโดยสิ่งที่เรียกร้องในเรื่องของ ส่วนต่างราคายางพาราอาจขัดกับข้อตกลงขององค์การการค้าโลก จึงมีมติว่ามีให้มาตรการช่วยเหลืออะไรก็ได้ที่ไม่ก่อให้เกิดความหนักใจต่อ รัฐบาล ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะถือเป็นการหยุดเลือดที่ไหลของชาวสวนยางและช่วยเหลือคน กรีดยางที่ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือมาก่อนโดยหลังจากนี้จะกลับไปหารือร่วม กับเกษตรกร เพื่อเสนอข้อตกลงที่จะไม่ทำให้รัฐบาลหนักใจ