ผู้เขียน หัวข้อ: เครือข่ายยาง-ปาล์ม เห็นด้วยงบกระตุ้นศก.รากหญ้า แต่ต้องยื่นแหไม่ใช่ยื่นปลา!  (อ่าน 690 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84531
    • ดูรายละเอียด
เครือข่ายยาง-ปาล์ม เห็นด้วยงบกระตุ้นศก.รากหญ้า แต่ต้องยื่นแหไม่ใช่ยื่นปลา!
วันที่ 26 สิงหาคม  พ.ศ. 2558 เวลา 18:10:00 น. ที่มา matichon online




http://www.matichon.co.th/online/2015/08/14405848101440585085l.jpg height=265


(26 ส.ค.58) จากกรณีที่ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เตรียมหารือกับกระทรวงการคลังในการอัดฉีดงบกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้า 5 หมื่นล้านบาทนั้น

นายทศพล ขวัญรอด
ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย กล่าวว่า วันนี้เศรษฐกิจกำลังซบเซาอย่างมาก นักลงทุนไม่กล้าลงทุน นักธุรกิจ คนมีเงินก็จะเก็บเงิน เศรษฐกิจระดับล่างยิ่งหนักอย่างมาก หนี้สินล้นพ้นตัว พืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ ตนจึงเห็นว่าวิธีการที่ดีที่สุดก็น่าจะเป็นการอัดฉีดงบลงระดับรากหญ้า ทำอย่างไรให้ระดับรากหญ้ามีเงินอยู่ในกระเป๋า เมื่อรากหญ้าไม่มีเงินจับจ่ายใช้สอย พ่อค้าแม่ขายก็ตายไปตามกัน


http://www.matichon.co.th/online/2015/08/14405848101440585099l.jpg height=392

นายทศพลกล่าวว่า ไม่อยากให้รัฐบาลใช้วิธีการแบบเก่าๆเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นแบบประชานิยมหากเป็นแบบนั้นก็จะล้มเหลวอีกเสียดายเงิน เงินกี่สิบหมื่นแสนล้านอัดมาแป๊บเดียวก็หมดแล้ว เหมือนการชดเชยชาวสวนยางไร่ละ 1,250 บาท หรือ ไร่ละ 1,000 บาท คนละ 15 ไร่ ก็ประมาณ 10,000-15,000 บาท เมื่อได้เงินมาก็เจอกันพอดีกับหนี้สินที่พอกพูนพอได้เงินมาก็จะเอาเงินส่วนนี้ไปใช้หนี้ ก็เท่ากับเอาเงินมาให้กับคนมีเงิน คนมีเงินเอามาใส่กระเป๋าแล้วก็เงียบไป เก็บเงินๆไม่ได้เอาออกมาใช้ เงินก็ไม่สะพัด วิธีการเช่นนี้จึงไม่เห็นด้วย จะชดเชยรายได้ ชดเชยส่วนต่าง โดยเฉพาะเรื่องยางที่เป็นระดับรากหญ้าจริงๆนั้น ได้เสนอรัฐบาลไปก่อนหน้านี้แล้วเช่นกัน ห่วง รบ.เปลี่ยน ครม.ใหม่ไม่รู้ว่าอะไรจะเปลี่ยนไปบ้าง

ด้านนายสัมพันธ์ กุ้ยเส้ง กรรมการสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ตามทฤษฎีการช่วยเหลือของรัฐบาลกับระดับรากหญ้าที่จะให้การช่วยเหลือนั้นเห็นด้วย ประเทศใดก็ตามเมื่อเกิดสภาวะเงินฝืด รบ.ก็จะอัดฉีดเงินเข้ามาในระบบเพื่อให้ประชาชนมีรายได้มากขึ้น จับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันในประเทศที่กำลังพัฒนาในระบบห่วงโซ่อุปทานมีตั้งแต่เกษตรกรซึ่งเป็นระดับรากหญ้า มีลานเท ปาล์มน้ำมัน กว่าจะถึงผู้บริโภคคนสุดท้ายนั้น ผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันมีกระบวนการมากมาย เวลา รบ.ช่วยเหลือรากหญ้า อัดฉีดลงมาเป็นจำนวนเงินมหาศาลคนที่มีสิทธิ์ได้คุยกับ รบ.ก็จะเป็นข้าราชการประจำ นักการเมือง นักธุรกิจใหญ่ๆ แต่ระดับรากหญ้าไม่ค่อยได้คุย คนที่เขียนแผนเข้าไป ก็จะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย โดยภาษาที่เขียนก็จะเอื้อให้มีช่องมากมายที่เงินพวกนั้นไม่มาถึงรากหญ้า แล้วก็จะมองเป็นความชอบธรรม


http://www.matichon.co.th/online/2015/08/14405848101440585104l.jpg height=347

ทั้งนี้ นายสัมพันธ์กล่าวว่า แม้เกษตรกรจะมีความรู้มากมาย แต่เข้าไม่ถึงแผนเหล่านั้น เงินก็จะไม่ถึงเกษตรกรหรือรากหญ้า ตนมองว่าการอัดฉีดเงินในระดับรากหญ้าจึงไม่เป็นผล และทุกๆครั้งที่ผ่านมาก็ไม่เป็นผล เงินจะอยู่ที่นายทุนทั้งหมด หาก รบ.ตั้งใจช่วยเหลือเกษตรกรจริงๆ มองว่าเงินเหล่านั้นเอามาสร้างโรงงาน ช่วยเหลือตรงกลางของห่วงโซ่ เช่นยางก็ช่วยให้ชุมนุมสหกรณ์สร้างโรงงานให้ ของปาล์มน้ำมันก็สร้างโรงงานให้ชุมนุมสหกรณ์บริหารกันเอง ประโยชน์ก็จะตกอยู่กับสมาชิกของสหกรณ์ถึงรากหญ้าจริงๆเหมือนการให้แหไปหาปลา ไม่ใช่เอาปลาให้เขากิน โรงงานหนึ่งประมาณ 500 ล้านบาท 10 โรงก็ 5,000 ล้านเท่านั้นเอง ทำแบบนี้ประเทศชาติจะแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2015, 09:19:24 AM โดย Rakayang.Com »