ผู้เขียน หัวข้อ: ไทยนับเป็น 1 ใน 4 ตลาดสำคัญของโลกสำหรับการซื้อขาย RSS3 Futures (1. ตลาด SHFE ของจีน 2. ตลาด TOCOM ของญี่ปุ่น 3. ตลาด AFE  (อ่าน 845 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
ไทยนับเป็น 1 ใน 4 ตลาดสำคัญของโลกสำหรับการซื้อขาย RSS3 Futures (1. ตลาด SHFE ของจีน 2. ตลาด TOCOM ของญี่ปุ่น 3. ตลาด AFET ของไทย และ 4. ตลาด SGX ของสิงคโปร์)


  สินค้าโภคภัณฑ์ หรือ Commodities สามารถแบ่งออกเป็นสอง กลุ่มหลักด้วยกัน ได้แก่ Commodities ที่เป็นผลิตผลจากภาคเกษตรกรรม (Agriculture) ที่เรียกกันว่า Soft Commodities เช่น ข้าว, ยางธรรมชาติ, น้ำตาล, ถั่วเหลือง เป็นต้น และ Commodities อีกกลุ่มหนึ่ง ที่เรียกว่า Hard Commodities ซึ่งเป็นผลผลิตที่เราจัดหาหรือได้มาจากทรัพยากรธรรมชาติในลักษณะต่างๆ เช่น ผ่านการขุดเจาะหรือทำเหมือง โดยสินค้าในกลุ่มนี้ ได้แก่ ทองคำ, น้ำมันดิบ, ถ่านหิน เป็นต้น

 โดยทั่วไปแล้ว ราคาของ Commodities ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้สำหรับการบริโภคหรือใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า อื่น จะถูกกำหนดจากระดับอุปสงค์และอุปทาน หรือ Demand-Supply ของสินค้าเป็นหลัก การค้นพบราคาที่เหมาะสม (Price Discovery) ของ Commodities จึงจะเกิดขึ้นภายใต้ภาวะตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Market) ที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายที่มี ผู้ร่วมตลาดจำนวนมาก และมีการเผยแพร่ข้อมูลอย่างกว้างขวาง

 นอกจากนี้ ในการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์นั้น ผู้ซื้อหรือผู้ขายบางส่วนมีจุดประสงค์เพื่อที่จะส่งมอบและรับมอบสินค้าใน อนาคตเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงจากราคาขายสินค้าที่ผลิตได้หรือจากต้น ทุนราคาวัตถุดิบที่นำมาผลิตสินค้า ทำให้การซื้อขายอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้ในตลาดตรา สารอนุพันธ์ (Derivatives Exchange Market) ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากข้อมูลของ FIA: Futures Industry Association ที่แสดงว่าสัดส่วนปริมาณการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับ Commodities ในตลาดอนุพันธ์โลกในปี 2014 มีสัดส่วนสูงถึง 17.4% ประกอบไปด้วย สินค้าเกษตร 6.4% พลังงาน 5.3% โลหะ 4.0% โลหะมีค่า 1.7% ทั้งนี้ สำหรับอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับสินค้าเกษตรนั้น มีการเติบโตอย่างมาก ในปี 2014 โดยปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถีง 15.7% เป็นผลมาจากการขยายตัวของตลาดในประเทศจีนที่มีความต้องการบริโภคอาหาร ที่สูงตามจำนวนประชากรที่มากที่สุดในโลก
 โดยตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับ Agricultural Product ที่มีการปริมาณการซื้อขายสูงสุด 20 อันดับแรกของโลก เป็นตราสารอนุพันธ์ที่ซื้อขายในประเทศจีนถึง 10 อันดับ และปริมาณการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เช่น สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำตาล ยาง ถั่วเหลือง ในประเทศจีนต่างปรับเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในปีที่ผ่านมา

 โดยตลาดอนุพันธ์และสินค้าที่สำคัญในจีน ได้แก่ Zhengzhou Commodity Exchange (ซื้อขาย Rapeseed Meal Futures, White Sugar Futures), Dalian Commodity Exchange (ซื้อขาย Soy Meal Futures, Palm Oil Futures) และ Shanghai Futures Exchange (Rubber Futures) ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสินค้ากลุ่ม Agricultural Product เป็นกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต

 สำหรับประเทศไทยนั้น มีการจัดให้มีการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าอยู่หลายประเภทด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ข้าว, ยางแท่ง หรือ ยางแผ่นรมควัน โดยในปัจจุบันสินค้าที่มีการซื้อขายคือ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3 Futures)

 ทั้งนี้ ไทยนับเป็น 1 ใน 4 ตลาดสำคัญของโลกสำหรับการซื้อขาย RSS3 Futures (1. ตลาด SHFE ของจีน 2. ตลาด TOCOM ของญี่ปุ่น 3. ตลาด AFET ของไทย และ 4. ตลาด SGX ของสิงคโปร์)

 โดยในปี 2014 ปริมาณการซื้อขาย RSS3 Futures ในไทยสูงกว่าปริมาณการซื้อขายในสิงคโปร์ถึงเกือบ 4 เท่า อย่างไรก็ตาม แนวโน้มความต้องการใช้ยางธรรมชาติในตลาดโลกมีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปจาก เดิมที่ใช้ยางแผ่นรมควันเป็นหลัก ผู้ประกอบการหันมาใช้ยางแท่งที่มีราคาถูกกว่าเป็นวัตถุดิบมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิต ซึ่งในส่วนนี้ คาดว่าตลาดอนุพันธ์ต่างๆ จะมีการจัดให้มีการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับยางแท่งเพิ่ม ขึ้น จากแนวโน้มการขยายตัวของการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าสะท้อนให้เห็นถึงความ สำคัญของสินค้าดังกล่าว ประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลกเห็นความสำคัญ และได้พยายามดำเนินการที่จะพัฒนาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มี ประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อช่วยสร้างเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงเพิ่มให้แก่เกษตรกรและผู้ ประกอบการในประเทศ

 ทั้งนี้ การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าที่มีสภาพคล่อง มีความโปร่งใส มีผู้ซื้อขายมากรายจะทำให้ราคาที่เกิดขึ้นในตลาดนั้นสามารถถูกใช้เป็นราคา อ้างอิงได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้เกี่ยวข้องเพื่อที่จะนำมาใช้ในการวางแผนการผลิตและการขายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถใช้สินค้าเกษตรล่วงหน้าในการบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของ ราคาสินค้าเกษตรได้ ซึ่งในการดำเนินการเพื่อพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าไทยนั้น นอกจากตลาดในประเทศแล้ว ยังต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการจากต่างประเทศเข้าถึงสินค้าเกษตรล่วงหน้าไทย ได้ง่ายเพื่อสร้างความรับรู้ในราคาล่วงหน้าของไทยและเพื่อให้เป็นอีกช่องทาง หนึ่งในการเข้าถึงสินค้าเกษตรในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ราคาจากตลาดล่วงหน้าไทยมีการยอมรับและเผยแพร่ไปอย่าง กว้างขวางมากขึ้นในอนาคต--จบ--



 รินใจ ชาครพิพัฒน์
www.tfex.co.th
      กรุงเทพธุรกิจ (Th)