ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 918 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84883
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  4  สิงหาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนาแน่นและตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- สมาคมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่เดือนกรกฎาคมปรับตัวลดลงร้อยละ 7.6 อยู่ที่ 425,093 คัน ลดลงเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน เนื่องจากการปรับเพิ่มภาษีรถยนต์ขนาดเล็กได้ส่งผลให้ความต้องการอ่อนแรงลง ยอดจำหน่ายรถยนต์ในญี่ปุ่นชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง หลังมีการปรับเพิ่มภาษีรถยนต์ขนาดเล็กเมื่อเดือนเมษายน- ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ในสหรัฐฯ รายงานยอดจำหน่ายเดือนกรกฎาคมปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากการลดลงของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำ ทั้งนี้เจเนอรัล มอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ฟอร์ด มอเตอร์ มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เฟียต ไคร์เลอร์ มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 นิสสันมอเตอร์มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ฮอนด้ามียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และโตโยต้ามียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นต่ำกว่าร้อยละ 1.0 ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์ทั้ง 6 รายมีส่วนแบ่งการตลาดราวร้อยละ 70.0 มียอดจำหน่ายรวมกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 อยู่ที่ 1,167,647 คันในเดือนกรกฎาคม
3. เศรษฐกิจโลก
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า เดือนมิถุนายนการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 เป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 4 เดือน เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจได้ชะลอตัวลงในช่วงท้ายไตรมาส 2- คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า จีนเตรียมเร่งดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 3 ประการในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อผลักดันกลไกสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจแหล่งใหม่- สถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจภาคการผลิตเดือนกรกฎาคมชะลอตัว โดยผลสำรวจของ ISM พบว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตอยู่ที่ 52.7 ลดลงจาก 53.5 ในเดือนมิถุนายน- ผลสำรวจมาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจเดือนกรกฎาคม ดังนี้
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตยูโรโซนในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับตัวเลขเบื้องต้นที่ 52.2
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตฝรั่งเศสปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 49.6 จาก 50.7 ในเดือนมิถุนายน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตอิตาลีปรับตัวขึ้นแตะ 55.3 สูงสุดในรอบกว่า 4 ปี จาก 54.2 ในเดือนมิถุนายน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตจีนลดลงแตะ 47.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี จาก 49.4 ในเดือนมิถุนายน และเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันที่ดัชนีปรับตัวต่ำกว่าระดับ 50.0 แสดงให้เห็นถึงภาวะหดตัว
[/t][/t][/t][/t][/t][/t]
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตสหรัฐฯ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยระบุว่า PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 53.8 จาก 53.6 ในเดือนมิถุนายน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตกรีซลดลงแตะ 30.2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มาร์กิตรวบรวมข้อมูลเป็นเวลา 16 ปี โดยได้รับผลกระทบจากความวิตกกังวลที่กรีซอาจออกจากการเป็นสมาชิกยูโรโซนหลังประสบสภาวะวิกฤตหนี้
  • [/l][/l][/l][/l]
    4. อัตราแลกเปลี่ยน- เงินบาทอยู่ที่ 35.12 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 124.05 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.08 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
    5. ราคาน้ำมัน- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายนปิดตลาดที่ 45.17 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.95 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) จะพิ่มขึ้นอีกในเดือนกรกฎาคม หลังจากที่ปรับตัวขึ้นอย่างมากในเดือนมิถุนายน ขณะที่เลขาธิการกลุ่มโอเปคยืนยันว่าโอเปคจะไม่ลดกำลังการผลิต แม้อุปทานน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นก็ตาม- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกันยายน ปิดที่ 49.52ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 2.69 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
    6. การเก็งกำไร- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 187.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 195.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.1 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 156.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 2.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
    7. ข่าว- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยขยับขึ้นร้อยละ 0.1 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 ในเดือนมิถุนายน
    8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ- ราคายางปรับตัวลดลง เพราะได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ราคาไม่ปรับลดลงรวดเร็วตามตลาดต่างประเทศ เพราะผลผลิตยางมีน้อยและเงินบาทอ่อนค่า
  • แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯ หลังจากภาคการผลิตจีนเดือนกรกฎาคมปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี และการใช้จ่ายผู้บริโภคสหรัฐฯ ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 4 เดือน รวมถึงภาคการผลิตสหรัฐฯ ชะลอตัวลงในเดือนกรกฎาคม อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าและปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ยังเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง
  • ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา