ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 927 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84531
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  16  กรกฎาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- อิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนตกและตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้มีฝนร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศสหรัฐฯ (USITC) ตัดสินใจให้สหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้ายางรถยนต์และรถบรรทุกขนาดเล็กที่นำเข้าจากจีนเพื่อเป็นการลงโทษ แม้ว่าจะมีกระแสคัดค้านจากจีนอย่างรุนแรง โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ มีความเห็นว่า อุตสาหกรรมยางรถเหล่านี้วางจำหน่ายด้วยส่วนต่างเมื่อเทียบกับยางรถที่ผลิตในสหรัฐฯ  ตั้งแต่ร้อยละ 14.35 ไปจนถึงร้อยละ 87.99 และเปิดเผยว่าผู้ผลิตและผู้ส่งออกยางจีนได้รับเงินอุดหนุนเพื่อชดเชยตั้งแต่ร้อยละ 20.73 ถึงร้อยละ 100.77
3. เศรษฐกิจโลก
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า เดือนมิถุนายนการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.3 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนพฤษภาคมที่ลดลงร้อยละ 0.2 และไตรมาส 2 ที่ลดลงร้อยละ 1.4- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ว่า เฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ขณะที่เจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้ และอัตราว่างงานจะค่อย ๆ ลดลง- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินขนานใหญ่ในการประชุมเมื่อวานนี้ ขณะเดียวกัน BOJ ยังได้ปรับลดแนวโน้มการขยายของเศรษฐกิจญี่ปุ่นสำหรับปีงบประมาณปัจจุบันลงสู่ร้อยละ 1.7 จากร้อยละ 2.0 ที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา- สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นธุรกิจขนาดย่อมเดือนมิถุนายนปรับตัวลดลง หลังจากที่เพิ่มขึ้น 5 เดือนติดต่อกัน สะท้อนให้เห็นว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งหลังของปียังคงมีความไม่แน่นอน โดยรายงานระบุว่าดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมปรับตัวลดลงร้อยละ 4.2 แตะที่ 94.1 ในเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนเศรษฐกิจถดถอยที่ 99.5- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก รายงานดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม หลังจากหดตัวลงในเดือนมิถุนายน โดยเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 3.86 จาก 1.98 ในเดือนมิถุนายน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 3.0- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจ ดังนี้
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นอัตราเดียวกับไตรมาสแรก สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.9 ซึ่งเป็นผลมาจาก  ?สัญญาณบวก? ของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี ปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับอัตราร้อยละ 6.1 ในเดือนพฤษภาคม สำหรับช่วงครึ่งแรกของ
    ปี 2558 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
    ปีก่อน ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากอัตราร้อยละ 6.4 ในช่วงไตรมาสแรก
[/t][/t][/t][/t][/t][/t][/font]
  • [/font]การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ช่วงครึ่งแรกของปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะ 4.4 ล้านล้านหยวน ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรช่วงครึ่งแรกของปีขยายตัวร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี
[/font]
  • [/font]- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า เดือนมิถุนายนดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับตัวดีขึ้นตามราคาพลังงาน บ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้ดัชนี PPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน แต่เมื่อเทียบเป็นรายปี ดัชนี PPI ลดลงร้อยละ 0.7- รายงานงบประมาณช่วงกลางเทอมของทำเนียบขาวประเมินว่า สหรัฐฯ จะมียอดขาดดุลงบประมาณ 4.55 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2558 ลดลงเกือบ 3 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐจากยอดขาดดุลงบประมาณในปีก่อน นอกจากนี้รายงานยังปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สำหรับปีปฏิทิน 2558 ลงเหลือร้อยละ 2.0 จากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 3.0 ส่วนใหญ่สะท้อนให้เห็นถึงการหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้ แต่จะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 2 พร้อมคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวร้อยละ 2.9 ในปี 2559 และชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ในปี 2560[/l][/l][/l][/l]
    4. อัตราแลกเปลี่ยน- เงินบาทอยู่ที่ 34.21 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.14 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.87 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.48 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
    5. ราคาน้ำมัน- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคมปิดตลาดที่ 51.41 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.63 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับที่สูงมาก และสต๊อคน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิง รัฐโอกลาโฮมา ปรับตัวสูงขึ้น- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดที่ 57.05ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.46 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ลดลงมากเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้สต๊อคน้ำมันดิบลดลง 4.3 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 461.4 ล้านบาร์เรล เป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2558 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 900,000 บาร์เรล
    6. การเก็งกำไร- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 196.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 208.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 163.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
    7. ข่าว- รัฐสภากรีซมีมติอนุมัติร่างกฎหมายปฏิรูปเศรษฐกิจฉบับใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐบาลกรีซได้ทำข้อตกลงร่วมกับกลุ่มเจ้าหนี้ยูโรโซนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อแลกกับการรับความช่วยเหลือด้านการเงินครั้งใหม่- ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคจาก 15 ประเทศในยุโรปเผยให้เห็นว่า การเจรจาที่ยืดเยื้อระหว่างกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวยุโรปในไตรมาส 2 ของปีนี้ โดยรายงานระบุว่าวิกฤตหนี้มีผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้บริโภคชาวยุโรปในช่วงไตรมาส 2 ส่งผลให้การคาดการณ์เศรษฐกิจในหลายประเทศออกมาซบเซา
    8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ- ราคายางปรับตัวสูงขึ้น เพราะเงินบาทอ่อนค่าและแหล่งข่าวรายงานว่า โรงงานส่วนมากขาดแคลนวัตถุดิบต้องเร่งซื้อเพื่อให้คนงานมีงานทำ อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมราคายางยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่ยังคงซบเซา ดังนั้นหากผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นก็จะส่งผลเชิงลบต่อราคายางได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน
    แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อยจากภาวะฝนตกหนักทางภาคใต้ของไทย ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงและนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ขณะที่โดยภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังคงซบเซา ส่งผลต่ออุปสงค์ยางธรรมชาติ

    ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา