ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 832 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84531
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  14  กรกฎาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกกระจายร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนาแน่นร้อยละ 70 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ตรัง และสตูล ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- สมาคมผู้ผลิตยานยนต์จีน (CAAM) เปิดเผยว่า จีนส่งออกรถยนต์ 385,100 คันในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 ลดลงร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบรายปี ส่วนยอดส่งออกรถยนต์ในเดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ 16.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะที่ 67,800 คัน
3. เศรษฐกิจโลก
- กลุ่มผู้นำยูโรโซนเผยอาจมีการอนุมัติเงินกู้งวดใหม่จำนวน 8.6 หมื่นลานยูโร (9.6 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ให้กับกรีซ ตราบที่รัฐบาลกรีซดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดในเร็ว ๆ นี้- กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวแตะร้อยละ 2.1 จากเดือนก่อน ซึ่งปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากตัวเลขในรายงานเบื้องต้นที่ปรับตัวลงร้อยละ 2.2- นายกรัฐมนตรีกรีซเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวภายหลังจากที่ได้บรรลุข้อตกลงหนี้สินกับยูโรโซน กรีซจะยึดมั่นในข้อตกลงที่ทำร่วมกับยูโรโซน และจะสู้ต่อไปเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง- ประธานยูโรกรุ๊ปกล่าวในการแถลงข่าวภายหลังบรรลุข้อตกลงประเด็นหนี้สินกรีซว่า จะมีการใช้เงิน 2.5 หมื่นล้านยูโรเพื่อเพิ่มทุนแก่ธนาคารต่าง ๆ ของกรีซ- โฆษกสำนักงานศุลกากรจีนคาดการณ์ว่า การส่งออกของจีนและนำเข้ามีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นในครึ่งหลังของปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงฟื้นตัว- สำนักงานศุลกากรจีนเปิดเผยว่า การส่งออกของจีนในรูปสกลุเงินหยวนเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยฟื้นตัวขึ้นหลังจากที่ลดลงร้อยละ 2.8 ในเดือนพฤษภาคม ส่วนการนำเข้าในสกุลเงินหยวนหดตัวลงร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหดตัวช้าลงจากอัตราร้อยละ 18.1 ในเดือนพฤษภาคม ส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้าเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.0 แตะ 2.842 แสนล้านหยวน
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 34.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.51 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 1.04 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคมปิดตลาดที่ 52.20 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.54 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่สูงเกินไป หลังจากมีรายงานว่าปริมาณการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดที่ 57.85ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.88 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- รายงานภาวะตลาดน้ำมันประจำเดือนกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ได้ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันของโอเปคปีนี้ลง 100,000 บาร์เรลต่อวัน เป็นระดับต่ำกว่าที่โอเปคผลิตเมื่อเดือนมิถุนายนกว่า 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่เพิ่มคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันปีหน้าราว 860,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ 30.07 ล้านบาร์เรลต่อวัน
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 199.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 210.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.9 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 163.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) แถลงการณ์ว่า IMF. พร้อมที่จะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่กรีซและประเทศในยุโรป เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตหนี้ของกรีซ- ที่ประชุมยูโรโซนซัมมิทสามารถบรรลุข้อตกลงประเด็นกรีซได้แล้ว โดยประธานสภายุโรปกล่าวว่า การตัดสินใจครั้งนี้จะช่วยให้กรีซสามารถกลับมาอยู่ในสถานะที่ปกติได้
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากภาพรวมผลผลิตยังออกสู่ตลาดน้อย โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกต่อเนื่อง กรีดยางได้น้อย ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนยังคงมีความต้องการซื้อ อย่างไรก็ตาม ยังคงขายออกยาก เพราะผู้ซื้อยังคงถามซื้อในราคาต่ำและจะซื้อเท่าที่จำเป็น
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว จากการอ่อนค่าของเงินเยนและเงินบาท ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากนักลงทุนคลายความกังวล หลังจากกรีซและเจ้าหนี้สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการช่วยเหลือทางการเงินของกรีซ รวมถึงอุปทานยางยังวคงออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากภาคใต้แหล่งปลูกยางที่สำคัญของไทยมีฝนตกชุกเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยางทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา