ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 815 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84543
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  7  กรกฎาคม  พ.ศ. 2558


ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- สมาคมผู้นำเข้ารถยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์นำเข้าใหม่ในญี่ปุ่นเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 แตะที่ 32,903 คัน เมื่อเทียบกับยอดนำเข้าในปีที่ผ่านมา  ซึ่งยอดนำเข้านี้รวมถึงรถยนต์ของบริษัทญี่ปุ่นที่ผลิตขึ้นในต่างประเทศด้วย
3. เศรษฐกิจโลก
- ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐ (ISM) พบว่า ภาคบริการของสหรัฐฯ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน ทั้งนี้ดัชนีภาคบริการของ ISM อยู่ที่ระดับ 56.0 ในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นจากระดับ 55.7 ในเดือนพฤษภาคม- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ขั้นสุดท้ายสำหรับภาคบริการของสหรัฐฯ ลดลงสู่ระดับ 54.8 ในเดือนมิถุนายน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 56.7 โดยก่อนหน้านี้ภาคบริการอยู่ที่ระดับ 56.2 ในเดือนพฤษภาคม และเป็นการชะลอตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน- ญี่ปุ่นเผยดัชนีภาวะเศรษฐกิจเดือนพฤษภาคมปรับตัวลดลง หลังจากเพิ่มขึ้นในเดือนก่อน ส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นปรับลดการประเมินเศรษฐกิจเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน โดยดัชนีพ้องเศรษฐกิจ เช่น ผลผลิตอุตสาหกรรมการค้าปลีก และการจ้างงานใหม่ ลดลง 1.8 จุดจากเดือนก่อน แตะที่ 109.2 เปรียบเทียบกับฐานปี 2553 ที่ระดับ 100.0 โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้ปรับลดการประเมินพื้นฐานเศรษฐกิจจาก ?กำลังปรับตัวดีขึ้น? เป็น ?หยุดชะงักชั่วขณะ?- สถาบันหลายแห่งคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (gdp) จีนจะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 7.0 ในไตรมาส 2 ขณะเดียวกันก็เชื่อว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวถึงจุดต่ำสุดในครึ่งหลังของปี 2558 ก่อนจะดีดตัวขึ้น- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คงระดับการประเมินเขตเศรษฐกิจญี่ปุ่น 8 เขต จากทั้งหมด 9 เขต เนื่องจากสถานการณ์ด้านการจ้างงานและรายได้ที่ดีขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวปานกลางอย่างต่อเนื่อง
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.87 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 122.69 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.04 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคมปิดตลาดที่ 52.53 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 4.40 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากผล
ลงประชามติของกรีซระบุว่า ชาวกรีซตัดสินใจโหวต ?NO? เพื่อคัดค้านเงื่อนไขของเจ้าหนี้ที่กำหนดให้รัฐบาลกรีซรัดเข็มขัดเพื่อแลกกับความช่วยเหลือด้านการเงิน
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดที่ 56.54 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 3.78 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 205.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 215.36 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.1 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 167.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 3.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นเมื่อวานนี้ ขณะที่นักลงทุนพากันส่งแรงซื้อในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เนื่องจากไม่มั่นใจต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการลงประชามติในกรีซ การพุ่งขึ้นของพันธบัตรรัฐบาลประเทศอายุ 10 ปี ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนลดลงสู่ระดับร้อยละ 2.274 เมื่อวานนี้ จากร้อยละ 2.393 เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว- กรีซมีกำหนดที่จะต้องชำระหนี้แก่ธนาคารกลางยุโรป (ECB.)1 อีก 3.5 พันล้านยูโร ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2558 หากกรีซผิดชำระหนี้ครั้งนี้ สื่อต่างประเทศมองว่า ECB. อาจยกเลิกการจัดสรรเงินช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ภาคธนาคารของกรีซ หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงรัฐบาลกรีซจะต้องพิมพ์พันธบัตรในรูปสกุลเงินใหม่ขึ้นมาเพื่อให้ธนาคารในประเทศได้เปิดให้บริการอีกครั้ง- ประธานาธิบดีฝรั่งเศสและนายกรัฐมนตรีเยอรมันประกาศภายหลังการประชุมร่วมกันที่กรุงปารีสวานนี้ว่า ยังคงมีช่องทางในการเจรจากับกรีซ หลังจากที่ชาวกรีซตัดสินใจโหวต ?NO? ในการลงประชามติ เพื่อปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัดของเจ้าหนี้
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางปรับตัวลดลงเล็กน้อยเพราะยังมีแรงหนุนจากผลผลิตที่มีน้อย และราคาที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการบางรายที่ขาดแคลนยางเริ่มเข้าซื้อ ส่งผลให้ราคายางอาจจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบจำกัด ไม่ปรับลดลงมากตามราคาต่างประเทศ
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับวิกฤตหนี้และความไม่แน่นอนของกรีซในยูโรโซนได้สร้างความวิตกกังวล ส่งผลให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงรวมถึงยางพารา อย่างไรก็ตาม ปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อย และเงินบาทอ่อนค่ายังคงเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้
ในระดับหนึ่ง
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา