ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 992 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84548
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  6  กรกฎาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ภาคใต้มีเมฆมากกับมีฝนกระจายร้อยละ 60 ของพื้นที่ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการจำหน่ายรถยนต์ 5 เดือนแรกของปี 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 308,787 คัน ลดลงร้อยละ 15.9 เนื่องจากภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งสถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ และรายได้เกษตรกรทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ สำหรับตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายนมีแนวโน้มทรงตัว ถึงแม้ว่าการเร่งลงทุนจากโครงการภาครัฐจะมีผลในเชิงบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนพฤษภาคมยังคงปรับตัวลงจากความกังวลต่อความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจโลกที่เป็นปัจจัยเชิงลบให้การส่งออกยัง
ฟื้นตัวไม่เต็มที่ ส่งผลกระทบให้การลงทุนของภาคเอกชนชะลอตัว
3. สต๊อคยาง
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2558 เพิ่มขึ้น 6,796 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.64 อยู่ที่ 153,125 ตัน จากระดับ 146,329 ตัน เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2558- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2558 ลดลง 617 ตัน หรือลดลงร้อยละ 4.83 อยู่ที่ 12,167 ตัน จากระดับ 12,784 ตัน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558
4. เศรษฐกิจโลก
- ธนาคารกลางจีนออกแถลงการณ์ว่า ธนาคารกลางจะยืดระยะเวลาสำหรับเงินกู้จำนวน 2.5 แสนล้านหยวน (4 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ที่ปล่อยให้กับสถาบันการเงิน 11 แห่ง หลังจากที่สินเชื่อที่ธนาคารกลางปล่อยผ่านโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF) สิ้นสุดลง- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนเดือนมิถุนายนลดลงแตะ 50.6 จาก 51.2 ในเดือนพฤษภาคม โดยเป็นการขยายตัวช้าที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557- ผลสำรวจของมาร์กิต อิโคโนมิกส์ ระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการยูโรโซนเดือนมิถุนายนปรับตัวขึ้นแตะ 54.5 จาก 53.8 ในเดือนพฤษภาคม แต่ทรงตัวเมื่อเทียบกับข้อมูลเบื้องต้น- ผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมิถุนายน มีดังนี้
  • เยอรมัน ปรับขึ้นแตะ 53.8 ซึ่งเป็นสถิติที่สูงสุดในรอบ 2 เดือน จาก 53.0 ในเดือนพฤษภาคม
  • ฝรั่งเศส ปรับขึ้นแตะ 54.1 ซึ่งสูงสุดในรอบ 46 เดือน จาก 52.8 ในเดือนพฤษภาคม
  • อิตาลี ปรับขึ้นแตะ 53.4 เป็นระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี จาก 52.5 ในเดือนพฤษภาคม
[/t][/t][/t][/t][/t][/t]
5. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.82 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 122.65 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.31 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน
- ตลาดนิวยอร์กปิดทำการในวันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม 2558 เนื่องในวันชาติสหรัฐฯ
7. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 206.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 215.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.6 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 170.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
8. ข่าว
- นายกรัฐมนตรีกรีซประกาศชัยชนะหลังประชาชนชาวกรีซโหวต ?NO? เป็นส่วนใหญ่ เพื่อแสดงออกถึงการคัดค้านมาตรการรัดเข็มขัดตามข้อเรียกร้องของเจ้าหนี้ เพื่อแลกกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน และผลการลงมติดังกล่าวส่งผลให้อนาคตของกรีซในยูโรโซนตกอยู่ในความไม่แน่นอน ซึ่งอาจทำให้กรีซต้องออกจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน- คณะกรรมาธิการยุโรป (EC.) ออกแถลงการณ์ว่า กลุ่มเจ้าหนี้ของกรีซในยูโรโซนจะจัดการประชุมทางไกลในช่วงเช้าวันจันทร์นี้ เพื่อหารือหลังจากชาวกรีซตัดสินใจโหวต ?NO? เพื่อคัดค้านมาตรการรัดเข็มขัดจากกลุ่มเจ้าหนี้- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) เปิดเผยว่า กรีซยังจำเป็นต้องมีการระดมทุนอีกกว่า 5 หมื่นล้านยูโรในช่วงเดือนตุลาคม 2558 ถึงสิ้นปี 2561 เพื่อให้เศรษฐกิจกรีซสามารถดำเนินต่อไปได้
9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางปรับตัวลดลง เพราะมีปัจจัยลบจากต่างประเทศกดดันราคายางอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดล่วงหน้าปรับตัวลดลง ถึงแม้ว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดไม่เต็มที่ก็ไม่สามารถผลักดันให้ราคายางสูงขึ้นได้
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวที่ปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์ สาเหตุเพราะนักลงทุนชะลอการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงรวมถึงยางพารา จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคตของกรีซในยูโรโซน หลังจากผลการลงประชามติปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัดเพื่อแลกกับความช่วยเหลือด้านการเงินจากลุ่มเจ้าหนี้ ประกอบกับสต๊อคยาง ณ ตลาดเซี่ยงไฮ้วันที่ 3 กรกฎาคม 2558 เพิ่มขึ้นแตะ 153,123 ตัน จากสต๊อคเดิมที่ 146,329 ตัน เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2558ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา