ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 1089 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84583
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันศุกร์ที่  19  มิถุนายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ยังมีฝนตกหนาแน่นและตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 30 - 60 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- ข้อมูลของกรมสถิติมาเลเซียพบว่า ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติของมาเลเซียเดือนเมษายนลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 40.8 อยู่ที่ 35,850 ตัน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 1.4 ขณะที่ปริมาณการส่งออกลดลงจากเดือนก่อน 12,108 ตัน หรือลดลงร้อยละ 19.8 และลดลงจากปีก่อน 15,465 ตัน ส่วนปริมาณสต๊อคยางสิ้นเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1,579 ตัน อยู่ที่ 39,909 ตัน และเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนปีที่แล้วร้อยละ 7.4
3. เศรษฐกิจโลก
- กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยว่า จีนมีการลงทุนนอกภาคการเงินในตลาดต่างประเทศกว่า 278,400 ล้านหยวน ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2558 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี- สถาบันด้านการวิจัยเยอรมัน (Ifo) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเยอรมันจะขยายตัวร้อยละ 1.9 ในปี 2558 และร้อยละ 1.6 ในปี 2559 โดยหัวหน้าทีมวิจัยของ Ifo กล่าวว่า ในปัจจุบันเศรษฐกิจเยอรมันกำลังมีการปรับตัวในช่วงขาขึ้นอย่างมาก- สำนักงานงบประมาณสภาสหรัฐฯ (CBO) คาดการณ์ว่ายอดขาดดุลงบประมาณรัฐบาลกลางสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 25 ปีข้างหน้า ส่วนใหญ่มาจากจำนวนประชากรที่สูงวัยและค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น โดยคาดว่าตัวเลขขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ ปี 2583 จะอยู่ที่ร้อยละ 6.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงกว่าที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 ในปี 2558 และร้อยละ 3.3 ในปี 2568 และคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีการขยายตัวที่ชะลอลงมากขึ้นในช่วง 25 ปีข้างหน้า เนื่องจากการเติบโตอย่างซบเซาในตลาดแรงงาน พร้อมคาดว่า GDP จะขยายตัวเฉลี่ยรายปีที่ร้อยละ 2.2 ในช่วงปี 2558 - 2583 ซึ่งต่ำกว่าอัตราร้อยละ 3.1 ของช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา- นักวิเคราะห์จากโกลด์แมน แซคส์ อิงค์ ระบุว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งสุดท้ายในเดือนธันวาคมของปีนี้ ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 9 ปี- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขขาดดุลบัญชีเงินเดินสะพัดได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 สู่ระดับ 1.133 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2555 เนื่องจากการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐ ที่ส่งผลกระทบต่อกำไรในต่างประเทศและการส่งออก- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2556 โดยได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ทะยานขึ้น หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนเมษายน แต่เมื่อเทียบเป็นรายปี ดัชนี CPI อยู่ในระดับทรงตัว หลังจากลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือนเมษายน
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.68 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 122.93 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.34 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 60.45 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.53 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐ ภายหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณว่ายังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลง และข้อมูลแรงงานของสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่ง- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 64.26 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.39 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 218.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 226.9 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 181.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 มิถุนายน 2558 ลดลง 12,000 ราย สู่ระดับ 267,000 ราย โดยตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 15 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง- ประธานกลุ่มรัฐมนตรีกระทรวงการคลังยูโรโซนหรือยูโรกรุ๊ปประกาศว่า การประชุมยูโรกรุ๊ปเกี่ยวกับประเด็นหนี้สินของกรีซได้เสร็จสิ้นลงแล้วเมื่อวานนี้ โดยที่ประชุมยังไม่มีการทำข้อตกลงใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ยังมีความเป็นไปได้ที่จะมีการทำข้อตกลงได้ก่อนสิ้นเดือนนี้- สำนักงานสถิติแห่งชาติสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า อัตราตำแหน่งว่างงานในยูโรโซนลดลงเล็กน้อยในไตรมาสแรก อยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากร้อยละ 1.8 ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว แต่ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีที่แล้ว
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางทรงตัวหรือปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากปัจจัยกดดันต่างประเทศที่ราคาในตลาดล่วงหน้ายังคงมีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยแหล่งข่าวเปิดเผยว่าก่อนหน้านี้ขาดแคลนยาง ทำให้ผู้ประกอบการซื้อกันในราคาที่สูงเพื่อส่งมอบตามสัญญาล่วงหน้า เมื่อหมดสัญญาไปบางส่วนก็ต้องปรับราคาลงเพื่อลดการขาดทุน ประกอบกับราคาตลาดล่วงหน้าเริ่มปรับลดลงด้วย
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว จากการแข็งค่าของเงินเยน ซึ่งบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่กรีซจะผิดนัดชำระหนี้ และนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ที่ยังไม่มีความชัดเจน อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย ยังเป็นปัจจัยที่สนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา