ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 1020 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84588
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  16  มิถุนายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- อิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าตลาดรถยนต์ในประเทศปี 2558 มีโอกาสทรงตัวจนถึงหดตัวต่อเนื่องจากปี 2557 จากปัจจัยลบสำคัญหลายประการที่ดำเนินต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว และยังคงส่งผลกดดันตลาดในปีนี้ เช่น ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังสะสม ราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวและยางพาราที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง
3. เศรษฐกิจโลก
- รัฐบาลญี่ปุ่นได้คงระดับการประเมินเศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศเดือนมิถุนายน ขณะเดียวกันก็ได้ยกระดับมุมมองเกี่ยวกับการใช้จ่ายด้านเงินทุน เนื่องจากข้อมูลบ่งชี้ว่าบริษัทต่าง ๆ ได้เพิ่มการลงทุนเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ- ธนาคารกลางรัสเซียประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสู่ร้อยละ 11.5 จากร้อยละ 12.5 หลังจากที่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมลดลงร้อยละ 0.2 เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ซึ่งได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์โลกที่อ่อนแอ และการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐ ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนพฤษภาคมปรับตัวลงสู่ร้อยละ 78.1- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก รายงานว่า ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวมประจำเดือนมิถุนายนหดตัวลงเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 เดือน อยู่ที่ระดับ -1.98 ในเดือนมิถุนายน จาก 3.09 ในเดือนพฤษภาคม และ -1.19 ในเดือนเมษายน
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.68 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.62 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.19 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 59.52 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.44 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีรายงานว่ากรีซและกลุ่มเจ้าหนี้ยุโรปไม่สามารถตกลงกันได้ในการเจรจาครั้งล่าสุดที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 62.61 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.26 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 218.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 230.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.8 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 183.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- เจ้าหน้าที่ชุดที่หนึ่งจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ได้เดินทางมายังจีนในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินว่าจะมีการนำเงินสกุลหยวนเข้าร่วมอยู่ในตะกร้าทุนสำรองของ IMF. ซึ่งรู้จักกันในนาม SDR หรือไม่ ซึ่ง IMF. จะทำการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในปลายปีนี้ ขณะที่ปัจจุบันสกุลเงินที่รวมอยู่ใน SDR ได้แก่ ดอลล่าร์สหรัฐ ยูโร ปอนด์ และเยน- พันธบัตรประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอในยุโรป เช่น สเปน อิตาลี และโปรตุเกส ต่างปรับตัวลดลง จากการที่นักลงทุนพากันเทขายเนื่องจากความกังวลว่าจะได้รับผลกระทบจากการเจรจาหนี้กรีซที่ไม่มีความคืบหน้า ซึ่งกรีซอาจผิดนัดชำระหนี้และอาจบั่นทอนเสถียรภาพของยูโรโซน- สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติสหรัฐฯ (NAHB) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน โดยอยู่ที่ระดับ 59.0 ในเดือนมิถุนายน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 56.0 บ่งชี้ถึงการปรับตัวขึ้นของตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ หลังจากประสบภาวะซบเซาในช่วงต้นปีจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะสูงขึ้นได้ เพราะโดยภาพรวมปริมาณยางในประเทศยังคงมีน้อย เนื่องจากภาคใต้ฝั่งตะวันตกฝนตกหนัก กรีดยางได้น้อย ขณะที่พื้นที่ภาคอื่น ๆ ยังคงได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ต้นยางให้ผลผลิตน้อย ดังนั้น หากตลาดล่วงหน้าโตเกียวปรับตัวสูงขึ้น ก็ยังมีโอกาสทำให้ราคายางในประเทศสูงขึ้นได้
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อยจากนโยบายของภาครัฐในเรื่องการลดพื้นที่ปลูกยาง ประกอบกับสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการกรีดยาง และเงินเยนอ่อนค่า ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้กรีซ และการระมัดระวังในการซื้อขายเพื่อติดตามดูการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของยุโรปในสัปดาห์นี้ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา