ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 1005 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84588
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันจันทร์ที่  15  มิถุนายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ทุกภาคของประเทศมีฝนตกเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- บริษัทโยโกฮามา ไทร์ เซลส์ จำกัด เปิดเผยว่า จากภาวะราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นจากเศรษฐกิจชะลอตัว อุตสาหกรรมยานยนต์ปรับยอดจำหน่ายรถยนต์ลงไม่ถึง 900,000 คัน จากที่คาดไว้ 960,000 คัน โดยโยโกฮามาประเมินว่า ภาพรวมตลาดยางรถยนต์จะรับผลกระทบเช่นเดียวกัน ปี 2558 คาดว่าจะไม่เติบโตกว่าปีที่ผ่านมาที่มีจำนวนไม่ถึง 10 ล้านเส้น
3. สต๊อคยาง
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2558 เพิ่มขึ้น 1,909 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.43 อยู่ที่ 135,539 ตัน จากระดับ 133,630 ตัน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2558
4. เศรษฐกิจโลก
- สำนักงานสถิติแห่งชาติสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมในยูโรโซนเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 จากเดือนมีนาคม และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว ตัวเลขดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเงินยูโรที่อ่อนค่ายังไม่สามารถช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจส่งออกได้มากเท่าที่ควร- กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่นปรับทบทวนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเมษายน โดยระบุว่าผลผลิตในเดือนดังกล่าวขยายตัวร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตัวเลขเบื้องต้นที่ระบุว่าปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.0- สภาหอการค้าจีนเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกของผู้ค้าปลีก 50 รายใหญ่เดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.3 ในเดือนเมษายน อย่างไรก็ดี ตัวเลขเดือนพฤษภาคมยังชะลอตัวเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวรายปีที่ร้อยละ 1.7 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) ระบุว่า ได้ทบทวนปรับเพิ่มตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปีที่แล้ว ทั้งนี้ ONS เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มีการเติบโตร้อยละ 3.1 ในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นจากที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 2.8- ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นสหรัฐฯ เดือนมิถุนายนอยู่ที่ 94.6 หลังจากแตะระดับ 90.7 ในเดือนพฤษภาคม ส่วนดัชนีภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 106.8 ในเดือนมิถุนายน จาก 100.8 ในเดือนพฤษภาคม- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพฤษภาคมปรับตัวขึ้นตามราคาพลังงาน ซึ่งบ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้ดัชนี PPI สำหรับอุปสงค์ขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือนพฤษภาคมเมื่อเทียบเป็นรายเดือน
5. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.69 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.43 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.09 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 59.96 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.81 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด หลังจากที่ปริมาณน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 8 ปี- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 63.87 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.24 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- สำนักงานพลังงานสากล (IEA.) ระบุในรายงานตลาดน้ำมันว่า ซาอุดิอาระเบีย อิรัก และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ต่างก็เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้การผลิตน้ำมันของโอเปคเพิ่มขึ้น 50,000 บาร์เรลต่อวันในเดือนพฤษภาคม สู่ระดับ 31.33 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2555 และมากกว่าเป้าหมายที่ 30.0 บาร์เรลต่อวันเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน
7. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 217.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 229.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.0 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 184.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 4.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
8. ข่าว
- นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าธนาคารกลางจีนอาจปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงอีกในช่วงสุดสัปดาห์นี้ เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจจีนประจำเดือนพฤษภาคมที่ได้มีการเปิดเผยเมื่อเร็ว ๆ นี้ บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศยังไม่แข็งแกร่งพอ- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ประกาศระงับการเจรจาอย่างเป็นทางการ หลังจากที่การหารือระหว่างกรีซและบรรดาเจ้าหนี้เกี่ยวกับเงื่อนไขในการปลดล๊อคเงินช่วยเหลือไม่มีความคืบหน้ามาหลายวันแล้ว- กรีซตำหนิกลุ่มเจ้าหนี้ว่าเป็นสาเหตุทำให้การเจรจารอบใหม่ล้มเหลว โดยทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถประสานความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้เกี่ยวกับการปฏิรูปเศรษฐกิจของกรีซ กับการทำข้อตกลงทางการเงิน ซึ่งจะช่วยให้กรีซรอดพ้นจากภาวะล้มละลาย และการพ้นสภาพการเป็นสมาชิกยูโรโซน
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ โดยราคายางในระยะนี้มีปัจจัยด้านลบจากต่างประเทศค่อนข้างมาก โดยเฉพาะภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกในประเทศยังคงมีอยู่ ทำให้ราคาไม่ปรับขึ้นหรือลงมากในระยะนี้
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน รวมทั้งการแข็งค่าของเงินเยน ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลหลังจากกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้ยุโรปไม่สามารถตกลงกันได้ในการเจรจาครั้งล่าสุด และสต๊อคยางจีน ณ ตลาดเซี่ยงไฮ้ปรับตัวสูงขึ้นแตะ 135,539 ตัน (วันที่ 15 มิถุนายน 2558) จากสต๊อคเดิม 133,630 ตัน (วันที่ 5 มิถุนายน 2558)



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา