ผู้เขียน หัวข้อ: เสียง...ชาวสวนยางในวันเปิดกรีดใหม่เข้าไม่ถึงนโยบายรัฐ-ใจชื้นใกล้ 60 บาท  (อ่าน 674 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
เสียง...ชาวสวนยางในวันเปิดกรีดใหม่เข้าไม่ถึงนโยบายรัฐ-ใจชื้นใกล้ 60 บาท


       "หนุนให้ปลูก แต่ไม่ส่งเสริมให้ใช้ให้ขาย" บทสรุปจากเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่วันนี้ก็ยังไม่เห็นวี่แววว่าราคายางจะขยับ ขึ้นได้มากกว่าในฤดูเปิดกรีดที่แล้ว วันนี้เริ่มทยอยเปิดกรีดเกษตรกรกว่า 1.5 ล้าน

 ประชาสัมพันธ์"วีระศักดิ์ สินธุวงศ์"ครัวเรือนก็ยังสู้ไม่ถอย เนื่องจากการโค่น ต้นยางทิ้งแล้วไปปลูกพืชชนิดอื่นต่างก็มีความเสี่ยงไม่แพ้กัน ที่สำคัญได้ลงทุนลงแรงกันมาอย่างมหาศาลไปแล้ว คณะกรรมการเครือข่ายชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย (คสยท.) ออกมาตีแผ่ข้อมูลอีกรอบว่า นับจากรัฐบาล คสช.เข้ามาบริหารราคาผลผลิตการเกษตรเกิดภาวะตกต่ำ รัฐบาลพยายามใช้หลายมาตรการลงไปกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า พร้อมทั้งมีการเชิญกลุ่มทุนมาให้คำปรึกษา กระทั่งออกมาเป็นโครงการมูลภัณฑ์กันชน (บัฟเฟอร์ฟันด์) กำหนดนโยบายให้องค์กรของรัฐเข้าซื้อยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่ตลาดกลางยางพาราที่มีอยู่ 6-7 แห่ง

 แต่ในความเป็นจริงนั้น เกษตรกรผลิตน้ำยางสดและยางก้อนถ้วยเกือบทั้งประเทศ ส่วนยางแผ่นรมควันชั้น 3 มีอยู่เฉพาะในกลุ่มพ่อค้า นโยบายที่ออกมาจึงไปเอื้อประโยชน์ให้กับทุน ทำให้เกษตรกรเข้า ไม่ถึงนโยบายของรัฐ

 ส่วนโครงการเงินกู้ที่ให้สถาบันเกษตรกรกู้ไปสร้างโรงงานแปรรูปวงเงิน 5,000 ล้านบาทนั้น ก็มีเงื่อนไขมาก ไม่มีใครกล้ากู้ ส่วนสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อยางก้อนถ้วยแล้วไปจ้างองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) แปรรูปเป็นยางแท่ง STR 20 ก็ต้องรอใบรับรองแหล่งที่มาของสินค้าจากภาครัฐนานถึง 4-5 เดือน

 ไม่ส่งเสริมให้ขาย

 "วีระศักดิ์" บอกว่า ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับหนึ่งต่อการพัฒนาประเทศ สร้างรายได้ปีละนับแสนล้านบาทจากพื้นที่ปลูกในปัจจุบันกว่า 22 ล้านไร่ มีเจ้าของสวนยาง 1.5 ล้านราย โดยเป็นสวนยางที่มีเอกสารสิทธิ 9 แสนราย และไม่มีเอกสารสิทธิประมาณ 6 แสนราย ซึ่งไม่เคยได้รับสิทธิ์จากภาครัฐ นอกจากนั้นยังมีสวนยาง

 ของกลุ่มทุนที่ไม่ลงทะเบียนอีกประมาณ 5 ล้านไร่เศษ

 ที่ผ่านมาไทยส่งออกยางที่เป็นวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปมีสัดส่วนมากถึง 86% แปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออกและบริโภคเองในประเทศ 14% ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก สำหรับประเทศจีนต้องนำเข้ายางพารามากกว่า 5 ล้านตันต่อปี ส่วนใหญ่ปลูกยางในมณฑลยูนนาน และมณฑลไหหลำ แต่สภาพอากาศที่หนาวเย็นทำให้ยางพาราเจริญเติบโตช้า ถ้าอากาศหนาวมากยางจะน็อกกรีดไม่ออก โดยเฉลี่ยประเทศจีนจะกรีดได้ปีละไม่เกิน 1 เดือน จึงทำให้จีนหันไปเช่าพื้นที่ปลูกในลาวและพม่าจำนวนหลายล้านไร่ เพื่อลดความเสี่ยงในการนำเข้า

 วีระศักดิ์ยังมองว่าไทยปลูกยางมานาน 120 ปีแล้วยังส่งออกวัตถุดิบเกือบ 90% แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและบริโภคเองในประเทศไม่ถึง 15% ชี้ชัดว่า "ส่งเสริมให้ปลูก แต่ไม่ส่งเสริมให้ขาย" รัฐบาลกลับไปแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโครงการเสถียรภาพราคายาง ซื้อยางนำราคาตลาดเพื่อเอามา
 เก็บ ทำให้เกิดสต๊อก 2.1 แสนตัน ติดมือรัฐบาลมาจนถึงทุกวันนี้

 "การเอายางไปราดถนนและเสนอให้แก้ไข TOR สัญญาจัดซื้อจัดจ้าง หรือการให้ทุกกระทรวงต้องมาบูรณาการร่วมกันบริโภคในประเทศก็ไม่เป็นผล รวมถึงยกเลิกเงิน Cess ในการส่งออก 4 เดือน ทำให้เงินสงเคราะห์ปลูกทดแทนของชาวสวนยางหายไปกว่า 3,000 ล้านบาท และยังเป็นการเปิดช่องให้พ่อค้าขนยางไปกองที่ประเทศจีนกว่า 5 แสนตัน แถมยังมีสต๊อกในไทยอยู่อีก 2.1 แสนตัน ถือว่าไปเข้าทางกลุ่มทุนกดราคายางให้ต่ำลงทั้งภูมิภาคจนถึงวันนี้ก็ยังแก้ ไม่ตก"

 ขยายเวลาเงินกู้ 3 โครงการเดิม

 "สิทธิพร จริยพงศ์" ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยถึงสถานการณ์ยางพาราในขณะนี้ว่า ราคายางขยับขึ้นมาเกือบถึง 60 บาทต่อกิโลกรัมแล้ว ซึ่งเป็นราคาตามกลไกตลาด โดยรัฐบาลไม่ได้แทรกแซง และหากราคายางยังอยู่ในระดับนี้ต่อไปจะไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร แต่

 ทางรัฐบาลและสภาเกษตรกรได้เตรียมมาตรการต่าง ๆ รองรับไว้ หากราคายางตกต่ำลงมาหรือเกิดวิกฤตราคายางขึ้นอีก โดยได้ขยายเวลาโครงการเดิม 3 โครงการ คือ 1.โครงการเงินกู้เพื่อประกอบอาชีพเสริมแก่เกษตรกรวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท 2.โครงการเงินกู้แก่สถาบันเกษตรกรเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อยาง จากเกษตรกรวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท และ 3.โครงการเงินกู้ 5,000 ล้านบาทเพื่อปรับปรุงและขยายกิจการ โดยขยายเวลาออกไปจนกว่าจะหมดวงเงิน

 นอกจากนั้น ยังเตรียมความพร้อมโครงการมูลภัณฑ์กันชนไว้อีกทางหนึ่ง แต่จะรับซื้อผลผลิตจากเกษตรรายย่อยผ่านตลาดเครือข่าย 108 แห่งทั่วประเทศ โดยรับซื้อเฉพาะเกษตรกรรายย่อยไม่เกินรายละ 25 ไร่ ส่วนเกิน 25 ไร่ต้องขายในราคากลไกตลาด ซึ่งโครงการมูลภัณฑ์กันชนในฤดูกาลผลิตใหม่นี้ เป็นการเตรียมความพร้อมไว้เท่านั้น เนื่องจากขณะนี้ราคายางขยับขึ้นมาอยู่ในระดับที่เกษตรกรพออยู่ได้ ในขณะเดียวกัน ทางราชการได้เตรียมความพร้อมในเรื่องข้อมูลเกษตรกรโดยการอัพเดตข้อมูลการ ขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน หากราคายางมีปัญหาจะได้ใช้ข้อมูลได้ทันที

 ชีวิตชาวสวนยางในวันนี้ ยังคงแขวนไว้บนความไม่แน่นอนต่อไป !               



   ประชาชาติธุรกิจ (Th)