ผู้เขียน หัวข้อ: ธกส.เร่งอัดสินเชื่อดันราคายาง  (อ่าน 747 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
ธกส.เร่งอัดสินเชื่อดันราคายาง
« เมื่อ: มิถุนายน 01, 2015, 08:49:28 AM »

ธกส.เร่งอัดสินเชื่อดันราคายาง


หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- จันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2558 06:00:00 น.
.expanded { width: 620px; z-index: 9999 }นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยถึงความคืบหน้ามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรสวนยาง ว่า โครงการให้สินเชื่อเพื่อให้สถาบันเกษตรกร รวบรวมยางจากเกษตรกรมีวงเงิน 10,000 ล้านบาท ล่าสุดปล่อยกู้ไปแล้ว 329 สหกรณ์ วงเงิน 3,426 ล้านบาท, โครงการสนับสนุนสถาบันเกษตรกรแปรรูปยาง มีกรอบวงเงินปล่อยกู้ 5,000 ล้านบาท อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 64 แห่ง เป็นเงิน 359 ล้านบาท, โครงการชดเชยรายได้ชาวสวนยางไร่ละ 1,000 บาท จ่ายเงินให้เกษตรกรไปแล้ว 788,000 ราย คิดเป็นพื้นที่ 7.93 ล้านไร่ เป็นสินเชื่อ 7,937 ล้านบาท จากเป้าหมายที่ต้องจ่ายเงินให้เกษตรกรทั้งสิ้น 8,200 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถปิดโครงการได้ในเดือน มิ.ย. นี้



สำหรับโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง โดยให้องค์การสวนยาง (อสย.) ซื้อยางจากสถาบันเกษตรกร มีกรอบวงเงินตามที่ได้ขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) 2 รอบ รวมเป็นเงิน 12,000 ล้านบาท ล่าสุดได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 9,300 ล้านบาท
ขณะที่ โครงการสนับสนุนชาวสวนยางประกอบอาชีพเสริมด้วยการปล่อยสินเชื่อให้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย มีกรอบวงเงิน 100,000 ล้านบาท ล่าสุดได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 42,400 ราย เป็นเงิน 3,770 ล้านบาท ตั้งเป้าหมายปล่อยกู้ไว้ 100,000 ครอบครัว ซึ่งระหว่างนี้ยังรอการส่งรายชื่อจากคณะกรรมการจังหวัด คาดว่าจะสามารถปล่อยกู้ได้ตามเป้าหมาย
?ช่วงนี้ยังไม่เปิดกรีดยาง ทำให้การปล่อยสินเชื่อทุกตัวชะลอไปด้วย คาดว่าจะในช่วงเดือน มิ.ย. จะทยอยมีคำขอสินเชื่อเข้ามาเพิ่ม ซึ่งโครงการทั้งหมดมีเป้าหมายเพื่อช่วยยกระดับราคายาง และช่วยเรื่องสภาพคล่องเกษตรกรให้สามารถมีทุนในการประกอบอาชีพเสริมได้?
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ที่ผ่านมา ธ.ก.ส.ได้เสนองบประมาณปี 2559 วงเงินกว่า 100,000 ล้านบาท
เป็นโครงการชดเชยพืชผลการผลิต ภายหลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เข้ามาบริหารประเทศ 50,000 ล้านบาท ทั้งมาตรการจ่ายชาวนาไร่ละ 1,000 บาท วงเงิน 40,000 ล้านบาท และจ่ายชาว
สวนยางไร่ละ 1,000 บาท วงเงิน 8,200 ล้านบาท
รวมถึงโครงการพืชผลการเกษตรอื่นๆ ที่อยู่ในช่วงเดียวกัน