ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 1063 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84627
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  28  พฤษภาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีเมฆมาก กับฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 60 ของพื้นที่ และตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนกระจายร้อยละ 30 ? 40 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์เดือนเมษายน มีปริมาณการขาย 54,058 คัน ลดลงร้อยละ 26.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3.เศรษฐกิจโลก
- ผลสำรวจนักวิเคราะห์ ระบุว่า เศรษฐกิจอินเดียมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ต่ำลง
ในไตรมาสแรก จากการปรับลดการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาล และผลผลิตด้านการเกษตรตกต่ำ โดยนักวิเคราะห์คาดว่า GDP ในไตรมาสแรกจะขยายตัวร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 ไตรมาส และต่ำกว่าระดับร้อยละ 7.5 ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว  ทั้งนี้ รัฐบาลอินเดียจะเปิดเผยตัวเลข GDP ในวันพรุ่งนี้
- บริษัทค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ รายงานว่า กำไรของภาคธนาคารสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ในไตรมาสแรก โดยธนาคารขนาดเล็กยังคงทำกำไรได้ดีกว่าธนาคารขนาดใหญ่- สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยว่า รัฐบาลคงการประเมินเศรษฐกิจเดือนพฤษภาคม ไว้ เนื่องจากการใช้จ่ายของภาคเอกชนกระเตี้องขึ้นน  อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ปรับลดการประเมินการส่งออก และผลผลิตเนื่องจากความต้องการในต่างประเทศที่ชะลอตัวลง โดยรายงานฉบับรายเดือนยังคงระบุ ?เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวในระดับปานกลาง?- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า กำไรของกลุ่มธุรกิจภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน ปรับตัวขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบรายปี สู่ระดับ 4.79 แสนล้านหยวน ซึ่งตรงข้ามกับเดือนมีนาคม ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.4 ส่วนในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ กำไรภาคอุตสาหกรรมของจีนปรับตัวลงร้อยละ 1.3 แตะที่ 1.73 ล้านล้านหยวน แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าในช่วงไตรมาสที่ลดลงถึงร้อยละ 2.7- สำนักงานสถิติแห่งฝรั่งเศส เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคฝรั่งเศสปรับตัวลดลงแตะระดับ 93.0 ในเดือนพฤษภาคม จากระดับ 94.0 ในเดือนเมษายน โดยรายงานระบุว่า ภาคครัวเรือนมีความเชื่อมั่นในเรื่องความสามารถในการออมเงินของตนเองลดลงเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับมุมมองต่อสถานะทางการเงินที่ปรับตัวลงเช่นกัน- เอชเอสบีซี ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์รวมภายในประเทศของจีนในปี 2558 ลงเหลือร้อยละ 7.1 จากระดับร้อยละ 7.3 พร้อมกับปรับเพิ่มคาดการณ์ เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากเดิมที่คาดว่าจีนจะลดดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 0.5 เนื่องจากการส่งออกของจีนในปีนี้อ่อนตัวลง
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.77 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.72 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.55 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน มิถุนายน ปิดตลาดที่ 57.51 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลง 0.52 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่า อิรักวางแผนที่จะเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบ และรายงานที่ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก) ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนเมษายน- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนมิถุนายนลดลง 1.66 ดอลลาร์ ปิดที่ 62.06 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ 229.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 6.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม 2558 อยู่ที่ 238.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 6.2 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 187.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- นายกรัฐมนตรีกรีซ ได้แสดงมุมมองที่เป็นบวก ว่ากรีซและกลุ่มเจ้าหนี้จะบรรลุข้อตกลงในเรื่องการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้กรีซ หลังจากที่ดำเนินการเจรจาอย่างตึงเครียดมาเป็นเวลา4 เดือน- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่า อัตราว่างงานลดลงใน 23 รัฐ ของสหรัฐฯ ในเดือนเมษายน ขณะที่การจ้างงานทั่วประเทศฟื้นตัวขึ้น  กระทรวงระบุว่า 11 รัฐ รายงานอัตราว่างงานสูงขึ้นในเดือนเมษายน ขณะที่ 16 รัฐ รายงานการว่างงานทรงตัว ขณะที่ 40 รัฐ รายงานว่าการจ้างงานเพิ่มขึ้น และอีก 9 รัฐ รายงานว่าการจ้างงานลดลง
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
- ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดโตเกียวและเซียงไฮ้ ซึ่งผู้ประกอบการมองว่าเป็นการเก็งกำไรจากการอ่อนค่าของเงินเยน ประกอบกับอุปทานยางที่มีน้อย เพราะภาคใต้มีฝนตกชุกชาวสวนกรีดยางได้น้อย
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดโตเกียว โดยได้รับแรงหนุนจากเงินเยนอ่อนค่าต่อเนื่อง แตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 8 ปี และอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากสภาพอากาศทางภาคใต้ของไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ประกอบกับปัจจัยภายในประเทศผลจากการลดอุปทานด้วยการเร่งโค่นยาง และสนับสนุนการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้กรีซที่ใกล้จะบรรลุข้อตกลง


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา