ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 880 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84627
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  22  พฤษภาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ด้านตะวันตกของประเทศตั้งแต่ภาคเหนือถึงภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ โดยภาคใต้ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา และภูเก็ต ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- กรมศุลกากรเวียดนามเปิดเผยว่า เวียดนามส่งออกยางธรรมชาติในเดือนเมษายนจำนวน 52,517 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 32.0 แต่เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมลดลงร้อยละ 19.0 โดยสมาคมยางแห่งประเทศเวียดนามเปิดเผยว่าราคายางธรรมชาติส่งออกโดยเฉลี่ยเดือนเมษายนอยู่ที่ 1,582 ดอลล่าร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมที่ 1,580 ดอลล่าร์สหรัฐต่อตัน แต่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 24.4- ม.ร.ว.ปรีดิยาธร  เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า รัฐบาลทำสัญญาขายยางกับจีนจำนวน 400,000 ตัน คาดว่าระบายสต๊อคได้หมดใน 1 ปี พร้อมยืนยันไม่มีปัญหากดดันราคายาง
3. เศรษฐกิจโลก
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยว่า ดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วประเทศประจำเดือนเมษายนขยับขึ้นสู่ระดับ 0.15 จาก 0.36 ในเดือนมีนาคม โดยได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานและการบริโภค- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคมิดแอตแลนติกลดลงสู่ร้อยละ 6.7 ในเดือนพฤษภาคม จาก 7.5 ในเดือนเมษายน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 8.3- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของจีนเดือนพฤษภาคมขยับขึ้นแตะ 49.1 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน จาก 48.9 ในเดือนเมษายน ตัวเลขที่ต่ำกว่า 50.0 แสดงให้เห็นถึงภาวะหดตัว- คอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจประจำเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 สู่ระดับ 112.3 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือนมีนาคม และลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือนกุมภาพันธ์- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยผลสำรวจเดือนพฤษภาคมของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและบริการเบื้องต้น ดังนี้
  • ยูโรโซน ปรับขึ้นแตะ 52.3 ซึ่งสูงสุดในรอบ 13 เดือน จาก 52.0 ในเดือนเมษายน
  • เยอรมัน ปรับลดลงแตะ 52.8 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 5 เดือน จาก 54.1 ในเดือนเมษายน
  • ฝรั่งเศส ปรับขึ้นแตะ 51.0 ซึ่งสูงสุดในรอบ 12 เดือน จาก 48.0 ในเดือนเมษายน
  • สหรัฐฯ ปรับขึ้นแตะ 53.8 จาก 54.1 ในเดือนเมษายน เนื่องจากดอลล่าร์สหรัฐแข็งค่าได้ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์สำหรับสินค้าส่งออก
[/t][/t][/t][/t][/t][/t]
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.43 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.09 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 120.89 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.26 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 60.72 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.74 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากการคาดการณ์ว่าปริมาณการใช้น้ำมันของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นในช่วงวันหยุด Memorial Day- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 66.54 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.51 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 212.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.8 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 220.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.4 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 182.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 พฤษภาคม 2558 เพิ่มขึ้น 10,000 ราย แตะ 274,000 ราย อย่างไรก็ตาม ตัวเลขยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 11 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง- โฆษกรัฐบาลกรีซกล่าวว่า กรีซไม่สามารถจ่ายชำระหนี้งวดต่อไปให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 5 มิถุนายน 2558 หากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายบ้านมือสองในเดือนเมษายนลดลงร้อยละ 3.3 สู่ระดับ 5.04 ล้านยูนิต หลังจากแตะระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือนในเดือนมีนาคม
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางยังคงปรับตัวสูงขึ้น เพราะผู้ประกอบการมีความต้องการซื้อเพื่อส่งมอบ ขณะที่ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย จึงทำให้มีการแข่งขันกันมากในระยะนี้ เห็นได้จากในแต่ละวันมีผู้เข้ามาประมูลจำนวนหลายราย
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากการคาดว่ารัฐบาลจีนจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากมีข้อมูลบ่งชี้ถึงภาวะอ่อนแอของเศรษฐกิจ รวมทั้งผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา