ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 787 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84635
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  15  พฤษภาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนและมีฝนฟ้าคะนองกับลมกรรโชกแรงเกิดขึ้นได้ ส่วน ภาคใต้มีฝนร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- สมาคมผู้ประกอบการรถยนต์ในจีนรายงานว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์เดือนเมษายนลดลงร้อยละ 0.5 คิดเป็น 1.99 ล้านคัน ขณะที่ในช่วง 4   เดือนแรกของปีนี้ยอดจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 8.14 ล้านคัน
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า   ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเมษายนลดลงร้อยละ 0.4 บ่งชี้ถึงแรงกดดันเงินเฟ้อที่ระดับต่ำ และธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- สำนักงานสถิติแห่งชาติกรีซเปิดเผยว่า เศรษฐกิจกรีซได้กลับเข้าสู่ภาวะถดถอยในไตรมาสแรกของปี 2558 ท่ามกลางความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศ โดยรายงานประมาณการเบื้องต้นระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน 2558 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี แต่หากเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2557 พบว่า GDP หดตัวลงร้อยละ   0.2
- คณะกรรมธิการยุโรปได้ให้คำแนะนำแก่ประเทศสมาชิกแต่ละรายเกี่ยวกับนโยบาย เศรษฐกิจสำหรับปี   2558 และ 2559 โดยเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเพิ่มความพยายามในการสนับสนุนเศรษฐกิจให้ฟื้น ตัวอย่างแข็งแกร่ง
- ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า การปล่อยกู้ใหม่สกุลเงินหยวนเดือนเมษายนแตะระดับ 7.079 แสนล้านหยวน ซึ่งเพิ่มขึ้น 1.855 แสนล้านหยวน จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB.) กล่าวว่า ECB. จะยังคงดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้น และภาคเอกชนรวมทั้งผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 33.53 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.01   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 119.40 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.20 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดตลาดที่ 59.88 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.62 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีรายงานว่าซาอุดิอาระเบียผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็น ประวัติการณ์ในเดือนเมษายน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันในตลาด ที่สูงเกินไป
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent)   ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดที่ 66.59 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล   ลดลง 0.22 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 212.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น   1.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 220.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น   2.1 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 182.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ลดลง 2.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ   เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 พฤษภาคม 2558 ปรับตัวลดลง 1,000 ราย แตะ 264,000 ราย ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง
- รัฐมนตรีกระทรวงการคลังกรีซเปิดเผยว่า   กรีซต้องการให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB.) ยืดระยะเวลาชำระหนี้มูลค่า   2.7 หมื่นล้านยูโรออกไป เนื่องจากกรีซยังไม่สามารถชำระหนี้ดังกล่าวตามกำหนดได้
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะผลผลิตที่มีอยู่น้อย ทำให้ผู้ประกอบการเร่งซื้อก่อนที่ภาครัฐจะมีมาตรการออกมาเพื่อแก้ไขปัญหา ราคายางในช่วงฤดูเปิดกรีดใหม่
 
   ?แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยังไม่มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง และนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขาย เพื่อรอดูแนวโน้มการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา