ผู้เขียน หัวข้อ: ขายยาง2แสนตันแลกหัวรถจักรจีนก.เกษตรฯเตรียมซื้อจากชาวสวนรายย่อยส่งมอบ  (อ่าน 828 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84531
    • ดูรายละเอียด
ขายยาง2แสนตันแลกหัวรถจักรจีนก.เกษตรฯเตรียมซื้อจากชาวสวนรายย่อยส่งมอบ



  ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13/5/58ขายยาง2แสนตันแลกหัวรถจักรจีนก.เกษตรฯเตรียมซื้อจากชาวสวนรายย่อยส่งมอบ 
ไทยเตรียมทำสัญญาซื้อขายยาง 2 แสนตัน กับรัฐบาลจีนแบบจีทูจี แลกกับหัวรถจักร มิ.ย.นี้ พร้อมรับซื้อยางจากชาวสวนรายย่อย ไปส่งมอบ "อำนวย ปะติเส" เผย พ.ร.บ. การยางฯมีผลบังคับใช้เดือนหน้า ลุยตั้งบอร์ดชั่วคราวรองรับการบริหารงาน กยท.

 นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ไทยเตรียมทำสัญญาซื้อขายยางกับรัฐบาลจีนแบบจีทูจีแลกกับหัวรถจักร ผ่านทางบริษัทชิโนเค็ม กรุ๊ป ปริมาณ 2 แสนตันเดือน มิ.ย.นี้ ซึ่งยางลอตนี้จะรับซื้อจากชาวสวนยางรายย่อย มีสวนยางไม่เกิน 25 ไร่ ในปริมาณจำกัดไปส่งมอบ แต่จะรับซื้อต่อราย ปริมาณเท่าไหร่นั้นจะหารือกันต่อไป

 นายอำนวยกล่าวต่อไปว่า ยางลอตนี้จะเป็นลอตที่สาม หลังจาก 2 ลอตแรกที่ได้ทำสัญญาไว้ คือ 1) ยางพาราใหม่ 2 แสนตันที่องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ทำสัญญาไว้กับบริษัทไชน่า ไห่หนาน รับเบอร์ อินดัสทรีส์ กรุ๊ป ที่จะต้องส่งมอบเดือนละ 2 หมื่นตัน ระยะเวลา 10 เดือน และ 2) ยางพาราเก่าในสต๊อกรัฐ 2 แสนตัน ในราคาตลาดบวกพรีเมี่ยม ที่ทำสัญญากับ บริษัทไชน่า ไห่หนานฯเช่นกัน ทำให้สรุปรวมแล้วไทยมีภาระการส่งมอบยาง 6 แสนตัน

 นอกจากนี้ นายอำนวยยังเปิดเผยถึง พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย ที่ผ่านการพิจารณาวาระที่สามของสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ (สนช.) แล้วตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 58 คาดว่ากฎหมายจะมีผลบังคับใช้ได้เดือน มิ.ย.นี้ ซึ่งกฎหมายนี้จะทำให้เกิดการจัดตั้ง "สภาการยางแห่งประเทศไทย" (กยท.) เป็นการปฏิรูปยางทั้งระบบ ควบรวมหน่วยงาน ด้านยางพารา 3 แห่ง คือ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) และสถาบันวิจัยยางเข้าไว้ด้วยกัน

 ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงการบริหารเงินกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (เงินเซส) ไป เพราะแต่เดิมเงินเซสจะใช้เพื่อสงเคราะห์เมื่อปลูกยางทดแทนยางเก่าและการ วิจัยเท่านั้น แต่เมื่อ กยท.เข้าบริหารจะนำเงินเซส ไปใช้ส่งเสริมด้านการแปรรูปส่งออก ดูแลราคายาง ส่งเสริมสถาบันเกษตรกร ส่งเสริมการใช้ยางในประเทศ และสวัสดิการของเกษตรกรด้วย เป็นการดูแลตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

 ทั้งนี้ ในระยะเริ่มต้นของ กยท. จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) ชั่วคราว 7 คน เป็นผู้แทนจาก 7 หน่วยงานราชการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์เป็นประธานโดยตำแหน่ง ซึ่งบอร์ดชั่วคราวชุดนี้จะทำหน้าที่วางเกณฑ์การสรรหาประธาน กยท.ตัวจริง และ จัดตั้งบอร์ดชุดแรกอย่างเป็นทางการ จำนวน 15 คน แบ่งเป็นตัวแทนจาก หน่วยราชการ 7 หน่วยงาน 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน เกษตรกรและผู้แทน สถาบันเกษตรกร 5 คน ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ซึ่งต้องจัดตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 160 วัน