ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 908 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84635
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  6  พฤษภาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ ขณะที่ภาคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ตั้งแต่ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ส่งผลให้หลายพื้นที่เริ่มเปิดกรีดเพราะต้นยางได้รับความชุ่มชื้นหลังฝนตก เพิ่มขึ้น
 
2. การใช้ยาง
 
- วันที่ 30 เมษายน 2558   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินเดีย ได้ประกาศปรับขึ้นภาษีนำเข้ายางธรรมชาติจากเดิมร้อยละ 20 หรือ 30 รูปีต่อกิโลกรัมแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 หรือ 30 รูปีต่อกิโลกรัมแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรผู้ปลูกยาง ลดการนำเข้า และส่งผลดีต่อราคายางในประเทศ
- ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ประเทศญี่ปุ่นเดือนเมษายนปรับตัวลดลงร้อยละ   7.5 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 319,482 คัน เนื่องจากการปรับขึ้นภาษีรถมินิคาร์เมื่อเดือนที่แล้วได้ทำยอดจำหน่ายรถ ประเภทดังกล่าวลดลงอย่างมาก โดยสมาคมรถยนต์ขนาดเล็กและรถจักรยานยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายมินิคาร์ซึ่งมีเครื่องยนต์ขนาดไม่เกิน 600 CC   ลดลงร้อยละ 22.5 แตะ 121,111 คัน โดยลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นแตะระดับ 5.14 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ จาก   3.59 หมื่นดอลล่าร์สหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ   7.7 ขณะที่ยอดส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.9
- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนเดือนเมษายนลดลงแตะ 48.9 หดตัวลงมากที่สุดในรอบ 1 ปี และบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญกับแรงกดดันในช่วงขาลง ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่   49.4
- หนังสือพิมพ์ไชน่า ซิเคียวริตีส์ เจอร์นัล เปิดเผยรายงานของศูนย์สารสนเทศแห่งรัฐของจีน (SIC) ที่คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนอาจชะลอตัวลงร้อยละ 6.8 ในไตรมาส 2 แต่คาดว่าจะกลับมาทรงตัวที่ร้อยละ 7.0 ตลอดทั้งปี 2558 เนื่องจากได้รับผลกระทบในระยะสั้นจากการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ความล่าช้ากว่ามาตรการกระตุ้นจะส่งผลและความเชื่อมั่นที่อ่อนแอ เป็นปัจจัยฉุดการขยายตัวในไตรมาสที่ 2
- ผลสำรวจของรอยเตอร์และมหาวิทยาลัยมิชิแกน   ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ช่วงปลายเดือนเมษายนปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 95.9 จาก 93.0 ในเดือนมีนาคม ส่วนดัชนีภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันเดือนเมษายน เพิ่มขึ้นสู่   107.0 จาก 105.0 ในเดือนมีนาคม
- ผลสำรวจของสถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) ระบุว่าภาคการผลิตของสหรัฐฯ เดือนเมษายนมีการขยายตัวเท่าเดิมจากเดือนมีนาคม โดยการจ้างงานหดตัวขณะที่คำสั่งซื้อและการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ภาคการผลิตของ ISM เดือนเมษายน อยู่ที่ 51.5 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนมีนาคม
- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า   ภาคการผลิตของสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวในเดือนเมษายน โดยระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนเมษายนชะลอตัวสู่ 54.1 จาก 55.7   ในเดือนมีนาคม ส่วนดัชนีคำสั่งซื้อใหม่เดือนเมษายนลดลงสู่ 55.3 จาก 57.3   ในเดือนมีนาคม
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 33.26 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.21   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 119.94 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.35 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดตลาดที่ 60.40 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล   เพิ่มขึ้น 1.47 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีรายงานว่าลิเบียประกาศปิดท่าเรือขนส่งน้ำมันแห่งหนึ่ง หลังกลุ่มผู้ประท้วงได้ก่อเหตุปิดท่อน้ำมัน
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent)   ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดที่ 67.52 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล   เพิ่มขึ้น 1.07 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM หยุดทำการเนื่องในวัน Substitute   Holiday for Constitution Memorial Day
- ตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 184.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 5.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- รัฐบาลกรีซแสดงความเชื่อมั่นว่าการเจรจาระหว่างกรีซและเจ้าหนี้ เรื่องข้อตกลงเพื่อให้เงินช่วยเหลืองวดต่อไปจะประสบความสำเร็จ โดยโฆษกรัฐบาลกรีซแสดงความมั่นใจว่าข้อตกลงใกล้จะได้ข้อยุติแล้ว
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้น   เนื่องจากผลผลิตยางออกสู่ตลาดน้อย เพราะฤดูยางเปิดกรีดปีนี้ช้ากว่าทุกปีจากสภาพอากาศแห้งแล้ง หลายพื้นที่ยังต้องรอฝน   ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มขาดแคลนยางเพื่อส่งมอบ
 
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ โดยมีปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของเงินบาทและราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับจีนปรับลดอัตราเงินสำรองลง ทำให้มีเงินไหลเข้าสู่ตลาดทุนเพิ่มขึ้น รวมทั้งสต๊อคยางจีนปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนตลาดล่วงหน้าโตเกียวปิดทำการ เนื่องในวันหยุดชดเชยวันที่ระลึกรัฐธรรมนูญ



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา