ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 952 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84886
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันศุกร์ที่  6  มีนาคม  พ.ศ. 2558



ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ทุกภาคของประเทศมีอากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีเมฆบางส่วน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- สมาคมนำเข้ารถยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์นำเข้าของญี่ปุ่นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งรวมถึงรถยนต์ที่ผลิตโดยบริษัทญี่ปุ่นในต่างประเทศลดลงร้อยละ 22.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 27,520 คัน


3. เศรษฐกิจโลก


- ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB.) แถลงว่า ECB. จะเริ่มดำเนินการเข้าซื้อพันธบัตรสกุลเงินยูโรในตลาดรองตั้งแต่วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2558 เป็นต้นไป พร้อมนี้ยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจยูโรโซนปี 2558 ขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ก่อนจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.9 และ 2.1 ในปี 2559 และ 2560 โดยหวังว่าการอัดฉีดเม็ดเงินดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นการขยายตัวเศรษฐกิจยูโรโซน ขณะเดียวกันได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 0.05


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานสหรัฐฯ ลดลงเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันในเดือนมกราคม โดยลดลงร้อยละ 0.2 หลังจากลดลงร้อยละ 3.5 ในเดือนธันวาคม สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น


- รัฐมนตรีคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (NDRC) เปิดเผยว่า จีนจะไม่มีการเปิดตัวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ แต่จะเน้นถึงความสำคัญในการลงทุน ซึ่งเขาเชื่อว่าจะยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจจีน


- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมันเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อในภาคการผลิตเดือนมกราคมลดลงร้อยละ 3.9 มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 1.0


- นายกรัฐมนตรีจีนแถลงสรุปผลการบริหารและเสนอนโยบายประจำปีในการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีน โดยเตือนว่าปีนี้จะเป็นปีแห่งความยากลำบากของเศรษฐกิจจีน พร้อมตั้งเป้าตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้ไว้ที่ร้อยละ 7.0 ลดลงจากเป้าหมายเดิมที่ร้อยละ 7.5 ในปีที่แล้ว ซึ่งมีการเติบโตจริงร้อยละ 7.4 รวมทั้งตั้งเป้าคาดการณ์ดัชนีราคาผู้บริโภคหรือเงินเฟ้อไว้ที่ร้อยละ 3.0 และอัตราว่างงานที่ร้อยละ 4.5


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.43 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 119.97 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.16 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนเมษายน ปิดตลาดที่ 50.76 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.77 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ท่ามกลางบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความผันผวนอย่างมากจากความกังวลว่าปริมาณน้ำมันที่ล้นตลาดโลกกดดันให้ราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังสหรัฐฯ เผยปริมาณน้ำมันดิบสำรองรายสัปดาห์นับถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 เพิ่มขึ้นทำสถิติใหม่อีกครั้งที่ 444.4 ล้านบาร์เรล


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนเมษายน ปิดที่ 60.48 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.07 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนเมษายน อยู่ที่ 219.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 215.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.8 เยนต่อกิโลกรัม


- ตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 179.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 เพิ่มขึ้น 7,000 ราย อยู่ที่ 320,000 ราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557 นับเป็นสัญญาณล่าสุดที่บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ได้ชะลอตัวลง


- สำนักงานสถิติฝรั่งเศสรายงานว่า อัตราว่างงานไตรมาส 4 ปี 2557 ปรับตัวขึ้นสู่ร้อยละ 10.4 จากร้อยละ 10.3 ในไตรมาส 3 บ่งชี้ถึงภาวะอ่อนแอของเศรษฐกิจภายในประเทศ


- สำนักงานสถิติแห่งชาติกรีซรายงานว่า อัตราว่างงานในกรีซเพิ่มขึ้นสู่ร้อยละ 26.0 ในเดือนธันวาคม 2557 จากร้อยละ 25.9 ในเดือนพฤศจิกายน ขณะที่เศรษฐกิจหดตัวลงเล็กน้อยในไตรมาส 4 ปี 2557


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางจะลดลงอีกเล็กน้อยจากกระแสข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศซบเซา ทำให้ตลาดซื้อขายค่อนข้างเงียบ จึงขายออกยาก โดยเฉพาะเดือนใกล้ เพราะยังมีสต๊อคอยู่จำนวนเพียงพอจึงไม่เร่งซื้อ ขณะที่ผู้ประกอบการกล่าวว่า โรงงานต่าง ๆ ยังมีสินค้าจำนวนหนึ่งที่เก็บไว้เก็งกำไร ซึ่งไม่คิดว่าราคายางจะปรับตัวลดลงในช่วงนี้ เพราะผลผลิตที่น้อยลง จึงเริ่มกังวลถ้าราคาต่ำกว่านี้ก็จะขาดทุนอีก


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยลบจากราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าโตเกียวค่อนข้างผันผวนและราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของจีนและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลก ส่วนปัจจัยบวกมาจากอุปทานยางลดลงในช่วงฤดูยางผลัดใบ และนักลงทุนขานรับการที่ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB.) ประกาศจะเริ่มโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในวันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2558 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจยูโรโซน






ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา