ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 921 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85677
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันจันทร์ที่  2  มีนาคม  พ.ศ. 2558



ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกรรโชกแรงเกิดขึ้นบางแห่ง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ โดยภาคใต้มีเมฆบางส่วนอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้ต้นยางให้ผลผลิตลดลง และบางพื้นที่เริ่มหยุดกรีดในช่วงฤดูยางผลัดใบแล้ว


2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น (JAMA) เปิดเผยว่า ยอดการผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่น เดือนมกราคม ลดลงร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบรายปี  แตะ 777,656 คัน  ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 เนื่องจากอุปสงค์รถยนต์หดตัวจากการปรับขึ้นภาษีการบริโภคเมื่อปีที่แล้ว


3. สต๊อคยาง


- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ มีจำนวน 164,906 ตัน เพิ่มขึ้น 195 ตัน


- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ลดลง 356 ตัน หรือลดลงร้อยละ 3.26 แตะระดับ 10,578 ตัน จากระดับ 10,934 ตัน ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558


4. เศรษฐกิจโลก


- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงสู่ระดับ 45.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2009 จากระดับ 59.4 ในเดือนมกราคม โดยดัชนีลดลงต่ำกว่าระดับ 50 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2013 และบ่งชี้ถึงภาวะหดตัว


- กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับ GDP ช่วงไตรมาส4 ของปีที่แล้ว โดยระบุว่ามีการขยายตัวร้อยละ 2.2 ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ร้อยละ 2.6 แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 หลังจากที่เศรษฐกิจมีการเติบโตพุ่งขึ้นร้อยละ 5.0 ในไตรมาส3 และร้อยละ 4.6 ในไตรมาส2


- สำนักงานสถิติแห่งชาติสเปน รายงานว่า GDP ของสเปนขยายตัวร้อยละ 1.4 ในปี 2557 เนื่องจากการขยายตัวของภาคการบริโภคและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 และร้อยละ 5.1 ตามลำดับ


- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) และสหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตจีนขยับขึ้นสู่ระดับ 49.9 ในเดือนกุมภาพันธ์ จากระดับ 49.8 ในเดือนมกราคม  อย่างไรก็ตามดัชนี PMI ยังอยู่ในภาวะหดตัว เนื่องจากดัชนีที่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตยังอยู่ในภาวะหดตัว


- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนและสหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 53.9 ในเดือนกุมภาพันธ์ จากระดับ 53.7 ในเดือนมกราคม


- ธนาคารกลางจีน ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม โดยมีผลในวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม นี้ หลังจากที่ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว โดยมีจุดหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะชะลอตัว โดยธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะ 1 ปีลงร้อยละ 0.25 สู่ระดับร้อยละ 5.35 และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะ 1 ปี ลงร้อยละ 0.25


- ผลสำรวจของรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ระบุว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ขั้นสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ ขยับขึ้นสู่ระดับ 95.4 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ 93.6 แต่ต่ำกว่า 98.1 ของเดือนมกราคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มกราคม 2004 โดยได้รับแรงหนุนจากแนวโน้มการจ้างงานและค่าแรงที่ดีขึ้น


- กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ตัวเลขการใช้จ่ายต้นทุนของบริษัทญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส4/57 ปรับตัวขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบเป็นรายปีสู่ระดับ 9.71 ล้านล้านเยน


5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.36 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 119.79 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.53 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


6. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนเมษายน ปิดตลาดที่ 49.76 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.59 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล  หลังจากที่ราคาลดลงอย่างหนักแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 สัปดาห์ เมื่อวันพฤหัสบดี ขณะที่นักลงทุนมองว่าราคาน้ำมันที่ลดลงกำลังส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมพลังงานลดการลงทุนในการผลิตน้ำมัน


- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 2.53 ดอลลาร์ ปิดที่ 62.58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยตลอดทั้งเดือนราคาน้ำมันเบรนท์สูงขึ้นร้อยละ 18.0 มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2552


7. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ 222.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนสิงหาคม 2558 อยู่ที่ 221.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.6 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 182.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


8. ข่าว


- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่าดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดขายปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.7 แตะระดับ 104.2 ในเดือนมกราคม เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่ง นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณ ซึ่งแสดงถึงการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ


9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางน่าจะทรงตัวในระยะนี้ เพราะผลผลิตลดลงขณะที่ตลาดต่างประเทศยังซบเซา ยังคงถามซื้อในราคาต่ำกว่าราคาตลาดสิงคโปร์ หากสูงเกินไปก็ไม่ซื้อ ขณะที่การส่งมอบสินค้าเป็นไปอย่างล่าช้า เพราะตู้รับส่งสินค้าไม่เพียงพอ


แนวโน้ม   ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น
และอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อยลง เพราะหลายพื้นที่เริ่มหยุดกรีดในฤดูยางผลัดใบ ประกอบกับข่าวจีนปรับลด
อัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ขณะที่ปัจจัยลบมาจากเงินบาทแข็งค่าและราคาชี้นำตลาดโตเกียวค่อนข้างผันผวน รวมทั้งนักลงทุนวิตกกังวลหลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลข GDP ประมาณการครั้งที่ 2 ของไตรมาส 4 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 2.2 ลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ร้อยละ 2.6


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา