ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558  (อ่าน 782 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84897
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันศุกร์ที่  27  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558



ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ โดยภาคใต้มีเมฆบางส่วนและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้ต้นยางให้ผลผลิตลดลง


2. การใช้ยาง


- บริษัทเจเนอรัลมอร์เตอร์ (GM) ประกาศปิดโรงงานผลิตรถยนต์ในอินโดนีเซีย และปลดคนงานจำนวน 500 คน เนื่องจากประสบปัญหาค่าใช้จ่ายชิ้นส่วนอะไหล่ที่สูงขึ้น ขณะที่ยอดจำหน่ายไม่เป็นไปตามเป้า


3. เศรษฐกิจโลก


- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3.0 ในปีนี้ หลังจากมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ล้านตำแหน่งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พร้อมกล่าวว่าปลายปีนี้อัตราว่างงานจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ 5.0


- กระทรวงสื่อสารและกิจการภายในประเทศญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมกราคมปรับตัวขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี ทำสถิติเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 20


- กระทรวงการค้า เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เปิดเผยรายงานเบื้องต้นว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 4.0 จากเดือนก่อน


- ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบผ่านการทำธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน เพื่อผ่อนคลายสภาพคล่องหลังผ่านพ้นช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีน โดยธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงิน 3.8 หมื่นล้านหยวน (6.2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ) เข้าสู่ตลาด มีเป้าหมายเพื่อบรรเทาสภาพคล่องที่ตึงตัว ภายหลังจากที่ได้มีการใช้มาตรการอื่น ๆ ไปแล้วในช่วงก่อนเทศกาลตรุษจีน


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมกราคมลดลงร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบเป็นรายปีลดลงร้อยละ 0.1 เป็นการปรับตัวลดลงรายปีครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนมกราคม ส่งสัญญาณว่าภาคธุรกิจได้เพิ่มการลงทุนช่วงต้นปี หลังจากลดลงร้อยละ 2.2 และ 3.7 ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ซึ่งยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8


- สถาบัน Qfk ระบุว่า ดัชนีความเชี่อมั่นผู้บริโภคเยอรมันมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 9.7 ในเดือนมีนาคม หลังจากอยู่ที่ 9.3 ในเดือนกุมภาพันธ์ และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544 ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่ 11.0 ชี้ให้เห็ฯถึงความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจภายในประเทศ


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.38 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.18 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 119.26 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.57 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนเมษายน ปิดตลาดที่ 48.17 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 2.82 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานพลังงานที่มีอยู่สูงเกินไป หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA.) ระบุว่าสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่า 8 ล้านบาร์เรลเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนเมษายน ปิดที่ 60.05 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.58 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคม อยู่ที่ 221.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 220.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.3 เยนต่อกิโลกรัม


- ตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 183.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- สำนักงานสถิติบราซิลรายงานว่า อัตราว่างงานเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาด อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี ส่งสัญญาณถึงภาวะถดถอยที่เกิดจากมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลในการปรับขึ้นภาษีและควบคุมรายจ่าย


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 3669 เพิ่มขึ้น 31,000 ราย อยู่ที่ 313,000 ราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์ นับเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ อาจชะลอตัว หลังจากมีการขยายตัวที่แข็งแกร่งในเดือนมกราคม


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากในขณะนี้ แม้ว่าผลผลิตยางจะลดลงแต่กระแสข่าวด้านลบยังส่งผลเชิงจิตวิทยา เช่น ปริมาณยางในสต๊อคทั้งเอกชนและรัฐบาลมีจำนวนมากที่รอขาย ทำให้ขายออกยาก ประกอบกับมีรายงานว่าตู้สินค้ามีไม่เพียงพอจะส่งออก ต้องรอคิวหลายวัน จึงต้องเลื่อนการส่งสินค้าออกไป


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ มีปัจจัยบวกจากราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าโตเกียวปรับตัวสูงขึ้น หลังจากญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใส และเงินเยนอ่อนค่า ประกอบกับกระแสคาดการณ์ว่าจีนจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง เงินบาทแข็งค่าขึ้น และการจ้างงานที่ซบเซาของสหรัฐ






ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา