ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558  (อ่าน 853 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85640
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันอังคารที่  24  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558



ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยปกคลุมประเทศไทยอ่อนกำลังลง ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นในตอนกลางวัน สำหรับภาคใต้มีเมฆบางส่วนและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- ในปีที่ผ่านมา ยอดส่งออกรถยนต์ของไทยแทบจะไม่เติบโตในด้านจำนวน เนื่องจากตลาดเป้าหมายหลายแห่งประสบปัญหา เช่น ตะวันออกกลางมีปัญหาความไม่สงบและราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กำลังซื้อลดลง ออสเตรเลียเศรษฐกิจไม่ดี แอฟริกามีปัญหาโรคระบาด อย่างไรก็ตาม บางภูมิภาคตลาดยังดี เช่น ยุโรปที่โตขึ้นร้อยละ 20 โดยการส่งออกปี 2557 ตลาดใหญ่ที่สุดยังเป็นตะวันออกกลางร้อยละ 25 รองลงมาคือ เอเชียและยุโรป ร้อยละ 24 และ 9 ตามลำดับ


3. สต๊อคยาง


- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 ลดลง 458 ตัน หรือลดลงร้อยละ 4.02 อยู่ที่ 10,934 ตัน จากระดับ 11,392 ตัน เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2558


4. เศรษฐกิจโลก


- Ifo สถาบันวิจัยด้านเศรษฐกิจเยอรมันเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเยอรมันเดือนกุมภาพันธ์ขยับขึ้นแตะ 106.8 จาก 106.7 ในเดือนมกราคม


- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยว่า ดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วประเทศเดือนมกราคมปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 0.13 จาก 0.07 ในเดือนธันวาคม ชี้ให้เห็นถึงการฟื้นตัวขึ้นจากการเติบโตที่ต่ำกว่าปกติ ขณะที่ได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของการผลิต


- ธนาคารกลางบราซิลเปิดเผยผลสำรวจการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของประเทศย่ำแย่ลงเป็นสัปดาห์ที่ 8 ติดต่อกัน โดยรายงานว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ 100 คนระบุว่า เศรษฐกิจบราซิลจะหดตัวลงร้อยละ 0.5 ในปีนี้ แย่กว่าที่คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.42 ในการสำรวจสัปดาห์ก่อน


5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.57 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 118.94 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.15 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


6. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดตลาดที่ 49.45 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.36  ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด หลังจากมีรายงานว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนเมษายน ปิดที่ 58.90 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.32 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


7. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคม อยู่ที่ 216.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 214.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.6 เยนต่อกิโลกรัม


- ตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 181.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.20 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


8. ข่าว


- เจพี มอร์แกน เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้ฝากเงินแห่ถอนเงินฝากจากธนาคารกรีซ รวม 3 พันล้านยูโร เนื่องจากกังวลต่อการที่กรีซอาจต้องออกจากยูโรโซน ก่อนที่กรีซจะสามารถบรรลุข้อตกลงความช่วยเหลือทางการเงินกับยูโรโซนในวันศุกร์นี้


- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายบ้านมือสองเดือนมกราคมลดลงร้อยละ 4.9 อยู่ที่ 4.82 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 4.98 ล้านยูนิต เมื่อเทียบเป็นรายปี ยอดจำหน่ายบ้านมือสองเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2


9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางปรับตัวลดลง สวนทางกับการที่ผลผลิตลดลงจะทำให้ราคาสูงขึ้น โดยผู้ประกอบการมองว่าผลผลิตลดลงจริง แต่ปริมาณวัตถุดิบที่มีอยู่ในมือพ่อค้าและตกค้างอยู่ที่ตลาดกลางทั้ง 6 แห่ง ยังมีอยู่จำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อราคาได้ในระดับหนึ่ง


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ซบเซา ขณะที่นักลงทุนชะลอการซื้อเพื่อรอดูทิศทางราคายางตลาดล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้ที่จะเปิดทำการในวันพรุ่งนี้ อย่างไรก็ตาม อุปทานยางที่ลดลงตามฤดูกาล และการสนับสนุนราคายางของภาครัฐ ยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง






ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา