ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558  (อ่าน 947 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85639
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันจันทร์ที่  23  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกรรโชกแรง ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วนและฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ขณะที่ปริมาณผลผลิตในระยะนี้ลดลงประมาณร้อยละ 30 - 40 ในช่วงฤดูยางผลัดใบ


2. การใช้ยาง


- กรมสถิติมาเลเซียเปิดเผยตัวเลขการส่งออกยางธรรมชาติเดือนธันวาคม 2557 ลดลงถึงร้อยละ 16.7 หรือมีปริมาณการส่งออก 69,438 ตัน โดยยางแท่งมาตรฐานมาเลเซียมีสัดส่วนการส่งออกถึงร้อยละ 95.5 ขณะที่การนำเข้าลดลงจากเดือนธันวาคม 2556 ถึงร้อยละ 27.1


3. เศรษฐกิจโลก


- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจ ดังนี้


ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นภาคการผลิตฝรั่งเศสเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวลดลงสู่ 47.7 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน จาก 49.2 จุดในเดือนมกราคม
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของเยอรมันเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 50.9 จุด ทรงตัวจากสถิติเดือนก่อน สำหรับดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้นอยู่ที่ 55.5 จุด เพิ่มขึ้นจาก 54.0 จุดในเดือนมกราคม ทำสถิติสูงสุดในรอบ 5 ปี
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นของยูโรโซนเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวขึ้นแตะ 53.5 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน จาก 52.6 จุดในเดือนมกราคม บ่งชี้ว่ากิจกรรมในภาคธุรกิจขยายตัวขึ้น โดยการจ้างงานขยายตัวเร็วสุดนับตั้งแต่ปี 2554
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 54.3 จุด เพิ่มขึ้นจาก 53.9 จุดในเดือนมกราคม และอยู่สูงกว่าระดับ 54.0 จุด ซึ่งเป็นตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
- สำนักงานสถิติแห่งชาติอิตาลีเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากเดือนก่อน เนื่องจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากต่างประเทศ ทั้งนี้ภาคการผลิตของอิตาลีมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของยุโรป รองจากเยอรมัน


- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันรายงานว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมกราคมปรับตัวลดลงร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ลดลงมากกว่าคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ หลังราคาพลังงานได้ลดลงอย่างหนัก และเมื่อเทียบเป็นรายเดือนดัชนี PPI เดือนมกราคม หดตัวลงร้อยละ 2.2


- ประธานยูโรกรุ๊ปกล่าวว่า รัฐมนตรีกระทรวงการคลังกลุ่มประเทศยูโรโซนและกรีซ เห็นพ้องในข้อตกลงขั้นสุดท้ายให้ขยายโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซออกไปอีกเป็นเวลา 4 เดือน


- สำนักงานสถิติสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ไตรมาส 4 ปี 2557 สหภาพยุโรป (EU.) มีตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 3.34 หมื่นล้านยูโร เพิ่มขึ้นจาก 1.51 หมื่นล้านยูโร ในไตรมาส 3 และเทียบกับ 2.99 หมื่นล้านยูโร ในไตรมาส 4 ปี 2556


- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า ยอดเกินดุลงบประมาณเดือนมกราคมสูงสุดในรอบ 7 ปี ที่ 8.8 พันล้านปอนด์ เนื่องจากรายได้จากการเก็บภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.54 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 119.09 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.17 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดตลาดที่ 50.34 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.82  ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากการคาดการณ์ว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ลดลงยังไม่สามารถชดเชยแรงกดดันจากการปรับตัวขึ้นของยอดสต๊อคน้ำมันได้


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนเมษายน ปิดที่ 60.22 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.01 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคม อยู่ที่ 221.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 221.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เยนต่อกิโลกรัม


- ตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 182.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง


7. ข่าว


- มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลรัสเซียลงสู่ระดับ Ba1 พร้อมให้แนวโน้มในเชิงลบ


- รัฐมนตรีกระทรวงการคลังมัลตีส เปิดเผยว่า เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอีกหลายประเทศในสหภาพยุโรป (EU.) กำลังเตรียมพร้อมที่จะให้กรีซออกจากยูโรโซน เนื่องจากประเทศเหล่านี้เริ่มหมดความอดทนต่อการต่อรองเรื่องหนี้สินครั้งใหม่ของรัฐบาลกรีซ


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางน่าจะทรงตัว เพราะตลาดต่างประเทศค่อนข้างซบเซา เพราะผู้ซื้อชะลอการซื้อ โดยเฉพาะจีน อย่างไรก็ตาม ราคายางน่าจะปรับขึ้นได้เล็กน้อย เพราะในระยะนี้ผลผลิตยางลดลงประมาณร้อยละ 40


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากอุปทานยางในประเทศผู้ผลิต โดยเฉพาะไทยลดลงตามฤดูกาล และนักลงทุนขานรับข่าวกลุ่มยูโรโซนบรรลุข้อตกลงการขยายโครงการช่วยเหลือกรีซออกไปอีก 4 เดือน รวมทั้งการอนุมัติเงินรอบใหม่โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าโตเกียวผันผวน และราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ขณะที่จีนผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลกยังคงหยุดยาวในช่วงเทศกาลตรุษจีน (18 - 24 กุมภาพันธ์ 2558)






ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา