ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 1003 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันพุธที่  14  มกราคม  พ.ศ. 2558


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนอยู่ในเกณฑ์ระจายเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ทำให้โดยภาพรวมสภาพอากาศเอื้อต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- สำนักงานศุลกากรจีน เปิดเผยว่า จีนส่งออกรถยนต์และโครงรถยนต์ จำนวนทั้งสิ้น 900,000 คันในปี 2557 ซึ่งลดลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบรายปี สำหรับเดือนธันวาคม ยอดส่งออกรถยนต์และโครงรถยนต์อยู่ที่ 90,000 คัน


3.เศรษฐกิจโลก


- ธนาคารดอยซ์แบงค์ สาขาประเทศจีนเผยการชะลอตัวลงของอัตราการขยายตัวของรายได้ทางการคลังอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 แต่เศรษฐกิจจีนน่าจะมีเสถียรภาพในครึ่งปีหลัง  เนื่องจากความพยายามในการควบคุมที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล


- สำนักงานศุลกากรจีน เปิดเผยว่า การส่งออกของจีนในปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบรายปี ขณะที่การนำเข้าขยับขึ้นร้อยละ 0.4 โดยมูลค่าการส่งออกและนำเข้าโดยรวมของจีนในปี 2557 ปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบรายปี


- รายงานภาวะเศรษฐกิจประจำปีของสำนักงานคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ประเมินว่า การปรับเพิ่มภาษีการบริโภค เมื่อวันที่ 1 เมษายน ปีที่ผ่านมา เร่งผลให้ยอดการใช้จ่ายของภาคเอกชนญี่ปุ่นหดตัวลงเกือบ 1 ล้านล้านเยน (8.48 พันล้านดอลลาร์) ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน จนถึงเดือนกันยายน


- ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรการวัดเงินเฟ้อของอังกฤษอ่อนตัวลงร้อยละ 0.5 ในเดือนธันวาคม 2557 ซึ่งขยายตัวต่ำสุดในรอบ 12 ปี และคาดว่าจะยังทรงตัวอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำในอนาคตอันใกล้นี้


- บรรดานักวิเคราะห์เศรษฐกิจ มองว่าราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในช่วงขาลงทั่วโลกอาจเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าน้ำมันในเอเชีย อย่างฟิลิปปินส์ ไทยและจีน


- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า เมื่อปี 2557 ธนาคารพาณิชย์ญี่ปุ่นปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นในอัตรารวดเร็วที่สุดในรอบ 21 ปี หลังจากที่บีโอเจ ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายขนาดใหญ่ทางการเงิน


- คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้สหภาพยุโรป (EU) เปิดเผยว่าอีซีได้จัดทำข้อเสนอด้านกรอบกฎหมายสำหรับการจัดตั้งกองทุนยุโรป เพื่อการลงทุนเชิงกลยุทธิ์แล้ว ส่งผลให้มีความคืบหน้าไปสู่การดำเนินนโยบายกระตุ้นทางการเงินของอียู ซึ่งทำให้มีการอัดฉีดเงินทุนอย่างน้อย 3.15 แสนล้านยูโร เข้าสู่การลงทุนภาครัฐและเอกชนทั้งอียู


- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป รายงานว่า สหภาพยุโรป (EU) มีตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 1.5 หมื่นล้านยูโรในไตรมาส 3 ของปี 2014 ไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาส 2 แต่ลดลงเมื่อเทียบจากที่เกินดุล 1.67 หมื่นล้านยูโรในไตรมาส 3 ปี 2013


- สมาพันธ์ ธุรกิจอิสระแห่งชาติของสหรัฐฯ (NFIB) เปิดเผยในวันนี้ว่า ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจขนาดย่อมของสหรัฐฯ ดีดตัวขึ้นในเดือนธันวาคม ปีที่แล้ว สู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 8 ปี ซึ่งตอกย้ำความแข็งแกร่งของปัจจัยพื้นฐานของสหรัฐฯ ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวโดยดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น 2.3 จุด สู่ระดับ 100.4 ในเดือนธันวาคม


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.82 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 117.56 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.24 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงใกล้แตะระดับต่ำสุดในรอบ 9 ปี เมื่อเทียบดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเริ่มใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ครั้งใหม่ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลยุโรปอย่างเร็วที่สุดในสัปดาห์หน้า เพื่อสกัดภาวะเงินฝืด


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน กุมภาพันธ์ ปิดตลาดที่ 45.89 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลง 0.18 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันในสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะยิ่งทำให้ปริมาณน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นด้วย  ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือน กุมภาพันธ์ ที่ตลาดลอนดอนลดลง 0.84 ดอลลาร์ ปิดที่ 46.59 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อยู่ที่ 191.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.5เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ 197.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 6.7 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 163.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 2.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- บริษัทโตเกียว โชโกะ รีเสิร์ซ เปิดเผยจำนวนบริษัทล้มละลายในญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 10.4 แตะ 9,731 ในปี 2557 ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปี หรือนับตั้งแต่ที่เกิดภาวะฟองสบู่ สินทรัพย์ในญี่ปุ่น เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นได้ร้องขอให้ภาคธนาคารเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทขนาดเล็กเพื่อช่วยให้บริษัทเหล่านี้สามารถอยู่รอดได้


8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงเล็กน้อย ตามตลาดต่างประเทศ เพราะได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงอย่างรุนแรง ทำให้ราคายางน่ากังวลเพิ่มขึ้น ประกอบกับในระยะนี้ฝนทิ้งช่วง ผลผลิตน่าจะเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง ก่อนที่จะเริ่มลดลง เพราะเข้าสู่ฤดูยางผัดใบ


แนวโน้ม   โดยภาพรวมราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดโตเกียวจากการแข็งค่าของเงินเยน และราคาน้ำมันปรับลดลงใกล้เข้าสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี ประกอบกับตลาดขาดปัจจัยใหม่ ๆ มาสนับสนุน ส่งผลให้นักลงทุนไม่มั่นใจจึงชะลอการซื้อ และเพื่อติดตามดูเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของญี่ปุ่นและยุโรป  อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีปัจจัยสนับสนุนภายในประเทศจากการเข้าซื้อยาง และมาตรการกระตุ้นการใช้ยางพาราภายในประเทศของภาครัฐ


 


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา