ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557  (อ่าน 930 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84469
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันศุกร์ที่  28  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ลมตะวันออกจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเกิดขึ้นในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- กรรมการและผู้จัดการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) เปิดเผยว่า มีแผนจะจัดตั้งกองทุนยางเฉพาะกิจ มูลค่า 400 ล้านบาท โดยเงินลงทุนจะมาจากรัฐบาลร้อยละ 50 และภาคเอกชนอีกร้อยละ 50 ซึ่งเป็นผู้ประกอบการยางพารา 6 - 7 ราย มีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อยางในตลาด AFET โดยรัฐบาลจะไปหารือในรายละเอียดต่อไป


- บริษัทโตโยต้า นิสสัน และฮอนด้า ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า การผลิตภายในประเทศปรับตัวลดลงในเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและการลงทุนธุรกิจยังคงอ่อนแอ หลังจากปรับขึ้นภาษีการบริโภค โดยโตโยต้า คอร์ป เผยว่า การผลิตภายในประเทศลดลงร้อยละ 6.4 อยู่ที่ 271,285 คัน ส่วนยอดจำหน่ายในญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 9.5 อยู่ที่ 122,022 คัน


3. สต๊อคยาง


- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ลดลง 546 ตัน หรือลดลงร้อยละ 6.34 อยู่ที่ 8,064 ตัน จากระดับ 8,610 ตัน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2557


4. เศรษฐกิจโลก


- ผลสำรวจของคณะกรรมาธิการยุโรป (EC.) พบว่า ความเชื่อมั่นธุรกิจในภาคการผลิตและค้าปลีกของยูโรโซนเดือนพฤศจิกายน ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากที่หดตัวลงในช่วงก่อนหน้านี้ เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกังความตึงเครียดระหว่างสหภาพยุโรป (EU.) กับรัสเซีย และแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง โดยรายงานระบุว่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของยูโรโซนปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 100.8 จุด จาก 100.7 จุดในเดือนตุลาคม


- สำนักงานสถิติแห่งชาติสเปน (SNE) เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤศจิกายนปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน หลังจากที่ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนตุลาคม


- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ขยายตัวร้อยละ 0.7 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 0.9 ในไตรมาส 2


- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า บริษัทอุตสาหกรรมรายใหญ่ของจีนมีผลกำไรเดือนตุลาคมลดลงร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 5.7547 แสนล้านหยวน และในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้บริษัทอุตสาหกรรมมีผลกำไรรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7


- กระทรวงสื่อสารและกิจกรรมภายในประเทศเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนตุลาคมญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี ทำสถิติปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 17


- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันระบุว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายนปรับตัวลดลงแตะร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 0.7 ในเดือนตุลาคม ซึ่งต่ำกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.6


- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนตุลาคมปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.2เมื่อเทียบเป็นรายเดือน


5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.80 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 118.19 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.62 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


6. ราคาน้ำมัน


- ตลาดน้ำมันนิวยอร์กปิดทำการในวันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน 2557 เนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า


- รัฐมนตรีน้ำมันซาอุดิอาระเบียเปิดเผยว่า ที่ประชุมองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) มีมติคงเพดานการผลิตน้ำมันดิบไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน สอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้


7. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม 2557 อยู่ที่ 185.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ 198.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.6 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 160.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


8. ข่าว


- สำนักงานแรงงานเยอรมันเปิดเผยว่า จำนวนคนว่างงานเดือนพฤศจิกายนลดลง 14,000 ราย อยู่ที่ 2.87 ล้านราย ขณะที่อัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 6.6 ซึ่งเป็นสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากภาคธุรกิจและนักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าเศรษฐกิจเยอรมันจะยังคงขยายตัวต่อไป


- กระทรวงการคลังจีนเตรียมจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากภาคการผลิต แทนการเก็บภาษีนิติบุคคล โดยการดำเนินการดังกล่าวจะมีขึ้นก่อนสิ้นปีหน้า ทั้งนี้คาดว่าทางกระทรวงจะเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิรูประบบภาษีมูลค่าเพิ่มในภาคการเงินในช่วงครึ่งแรกของปี 2558


9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ ประกอบกับผู้ส่งออกยังคงซื้อในราคาต่ำ เพราะยังมีสัญญาส่งมอบล่วงหน้า ขณะที่ฝนทิ้งช่วง หลายพื้นที่เริ่มกรีดยางได้


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียว หลังจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) มีมติคงเพดานการผลิตน้ำมันในการประชุมครั้งล่าสุด ซึ่งอาจทำให้ราคาน้ำมันอ่อนแรงลงอีก และส่งผลกระทบต่อราคายางธรรมชาติ ประกอบกับโดยภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังคงผันผวน อย่างไรก็ตาม ราคายางยังคงเคลื่อนไหวในกรอบจำกัดจากการอ่อนค่าของเงินเยนและเงินบาท รวมทั้งนโยบายภาครัฐยังคงสนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง




ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา