ผู้เขียน หัวข้อ: จี้คสช.ตรวจสต๊อกยางเหมือนโกดังข้าว  (อ่าน 979 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84531
    • ดูรายละเอียด

จี้คสช.ตรวจสต๊อกยางเหมือนโกดังข้าว
17 กันยายน 2557 เวลา 20:21 น.




นครศรีธรรมราช-ภาคีเครือข่ายยางฯภาคใต้เรียกร้องคสช.ตรวจสต๊อกยางเหมือนโกดังข้าวพบทุจริตจำนวนมาก


เมื่อวันที่ 17 ก.ย.17.00 น.นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน 16 จังหวัดภาคใต้ กล่าวระหว่างเสวนารับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาราคายางพาราที่ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราชว่าเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้อยากให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ตรวจสอบว่ายางค้างอยู่ในสต๊อกจำนวน 2.1 แสนตันจริงหรือไม่ ทำไมไม่ทำเหมือนที่ตรวจสต๊อกข้าวในโกดังที่ผ่านมา ซึ่งพบว่ามีการทุจริตมากมาย มีการหมกเม็ดเต็มไปหมด ดังนั้นควรที่จะตรวจสต๊อกยางให้เรียบร้อยก่อนจะปล่อยยางจำนวน 2.1 แสนตันออกไป และคิดว่ารัฐบาลควรจะขายยางให้กับบริษัทที่ให้ราคาสูงสุด เพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ เพราะปัจจุบันนี้อยู่ไม่ได้แล้ว


นายทศพล กล่าวอีกว่า ภาคีเครือข่ายยางฯจะประชุมกันในวันที่ 18 ก.ย.นี้ แต่ได้รับการประสานงานจากจังหวัดให้มาร่วมรับฟังในครั้งนี้ ตั้งแต่กลุ่มภาคีเครือข่ายฯต่อสู้กันมาในปี 2556 ได้มีความคิดกันว่าจะผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราทั้งระบบเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวและยั่งยืนให้กับเกษตรกร ไม่ต้องออกมาปิดถนนเหมือนที่ผ่านมา


"การต่อสู้ครั้งนี้มีเหตุผลว่า ถ้าไปปิดตามทุ่งนา สนามหญ้า วันนั้นรัฐบาลคงไม่เห็นความสำคัญ เราจึงมีความจำเป็นต้องปิดถนน แต่การชุมนุมในครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย จึงคิดว่าภาคีครือข่ายฯ ทั้งหมดจะต้องสู้กันด้วยสมอง สู้กันด้วยความคิดว่า ทำอย่างไรให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันทั้ง 16 ภาคใต้ และทั่วประเทศถึงจะได้รับผลประโยชน์สูงสุด นำไปสู่ความอนาคตที่ยั่งยืน"ประธานภาคีเครือข่ายฯกล่าว


อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาทราบว่ามีบริษัทจากประเทศจีน ชื่อบริษัทไหหนานติดต่อซื้อยางในราคา กก.ละ 70 บาท และอธิบดีกรมวิชาการการเกษตรออกมายอมรับว่าจีนจะมาซื้อในราคา กก.ละ 70 บาท แต่ไปขัดกับ อสย.ที่บอกว่าบริษัทจากสิงคโปร์ มาเสนอซื้อ 58-62 บาท แต่เอกสารไม่พร้อม ดังนั้นในนามภาคีเครือข่ายฯและตัวแทนเกษตรกรมีความคลางแคลงใจว่าทำไมไม่ขายให้บริษัทจีนที่เสนอซื้อในราคาที่สูงกว่า ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำยางบางแห่งรับซื้อกันเพียง กก.ละ 39 บาท อาจลดลงเหลือ 3 กก.ต่อ 100 บาท