ผู้เขียน หัวข้อ: เกษตรฯเสนอ3มาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหายางพารา  (อ่าน 875 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84568
    • ดูรายละเอียด

เกษตรฯเสนอ3มาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหายางพารา
15 กันยายน 2557 เวลา 21:54 น.


รมว.เกษตรฯเผยเตรียมเสนอ 3 เรื่องเร่งด่วนให้กนย.พิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหายางพารา พร้อมลดปริมาณออกสู่ตลาด


นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังตัวแทนเครือข่ายยางพาราทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้แปรรูปยาง เข้าพบว่า กระทรวงเกษตรฯจะเสนอ 3 เรื่องเร่งด่วน ให้คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) พิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหายางพารา


มาตรการเร่งด่วน 3 มาตรการ คือ 1. การขอให้มีการใช้ยางพาราในภาครัฐเพิ่มขึ้นโดยให้นำงานวิจัยของราชการมาพิจารณา เพื่อเพิ่มการใช้ยางดิบในประเทศ และเร่งโค่นยางเก่าเพื่อลดปริมาณผลผลิต 2. เร่งรัดให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ปล่อยสินเชื่อ 3 หมื่นล้านบาท ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้สถาบันเกษตรและผู้ประกอบการกู้ไปเพื่อเพิ่มมูลค่ายางพารา โดยให้ครอบคลุมถึงวิสาหกิจชุมชนด้วยเพิ่มเติมจากเดิมที่จะเน้นเฉพาะสหกรณ์และสถาบันเกษตรกร และ 3.การส่งเสริมให้มีการตลาดซื้อยางจริงระหว่างเกษตรและผู้ใช้ยางให้เกิดขึ้นให้ได้


ขณะที่มาตรการอื่นที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป เช่น การโค่นยางเก่าให้เกษตรกรปลูกพืชอื่นเพื่อลดปริมาณยางออกสู่ตลาด การหารือระหว่างประเทศผู้ผลิตยางในการร่วมมือสร้างสต๊อกยางระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นโดยพิจารณาปริมาณยางที่เหมาะสมร่วมกัน ส่วนเรื่องของสต๊อกเป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเร่งหามาตรการแก้ไขต่อไป รวมถึงในกระทรวงเกษตรฯเองจะมีการตั้งวอร์รูมเพื่อติดตามสถานการณ์ยางอย่างใกล้ชิด


นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยาง กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาราคายางพารา เพราะราคาต่ำสุดในรอบ7 ปี โดยราคายางในตลาดลดลงเหลือ 4 กิโลกรัม 100 บาทแล้ว หากรัฐบาลร่วมมือกับเกษตรกรวางยุทธศาสตร์และแก้ไขเร่งด่วนจะสามารถแก้ไขได้ โดยเฉพาะตลาดซื้อขายยางจริง เพื่อป้องกันการกดราคาของพ่อค้าผู้ส่งออก


ขณะเดียวกันเห็นว่ายางในสต็อก 2 แสนตัน ยังไม่ควรระบาย แต่หากจะขายควรขายราคาถูกให้เกษตรกร เพื่อนำมาแปรรูปเป็นการส่งเสริมอาชีพในท้องถิ่น และตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานยางในอาเซียน ซึ่งก่อนหน้านี้พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับปากแล้วจะให้งบก้อนแรก 8,000 ล้านบาท


แหล่งข่าวในกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยว่า การซื้อขายยางระหว่างองค์การสวนยาง (อสย.) กับบริษัทยี่ฟานเลียนยังอยู่ในระยะสัญญา 3 เดือนที่จะต้องขนยาง โดยบริษัทได้เปิดแอลซีกับอสย.แล้ว