ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 1130 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  21  สิงหาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ประเทศไทยยังคงมีฝนตกอยู่ในเกณฑ์กระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตกร้อยละ 70 ของพื้นที่ เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า เดือนกรกฎาคมมียอดส่งออกรถยนต์ 91,785 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.92 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ช่วง 7 เดือนของปีนี้ (มกราคม - กรกฎาคม) มียอดส่งออกรถยนต์ 651,862 คัน โดยส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.31 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดการผลิตรถยนต์ทั้งสิ้น 151,339 คัน ลดลงร้อยละ 5.31 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- กระทรวงการคลังจีนเปิดเผยว่า ผลกำไรของรัฐวิสาหกิจจีนขยายตัวเร็วขึ้นในช่วง 7 เดือนของปีนี้ ขณะที่เศรษฐกิจก็ส่งสัญญาณมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยผลกำไรทั้งหมดของกิจการรัฐวิสาหกิจจีนปรับตัวขึ้นร้อยละ 9.2
- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นมียอดขาดดุลการค้าในเดือนกรกฎาคมทั้งสิ้น 9.64 แสนล้านเยน เป็นการขาดดุลการค้าติดต่อกันยาวนานถึง 25 เดือน เนื่องจากญี่ปุ่นมียอดนำเข้าพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศระงับการดำเนินงาน สะท้อนให้เห็นว่าญี่ปุ่นยังคงเผชิญกับภาวะเม็ดเงินไหลออกนอกประเทศ โดยรายงานระบุว่าญี่ปุ่นมียอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน หลังจากยอดส่งออกยานยนต์และผลิตภัณฑ์โลหะแปรรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ   8.1 และ 35.7 ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ทำสถิติเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2
- HSBC โฮลดิ้งส์   เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของจีนเดือนสิงหาคมลดลงแตะ   50.3 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน จาก 51.7 จุดในเดือนกรกฎาคม
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.16 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 103.94 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   1.00 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายน ปิดตลาดที่ 96.07 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น   1.59 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่าสต๊อคน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงมากกว่าที่คาด การณ์ไว้   บ่งชี้ว่าความต้องการพลังงานในสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาดลอนดอนเพิ่มขึ้น 0.72 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล   ปิดที่ 102.28 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯปรับตัวลดลง 4.5 ล้านบาร์เรล เนื่องจากการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงกลั้นและการปรับลดลงของการนำเข้า ในขณะที่สต๊อคน้ำมันเบนซินปรับตัวเพิ่มขึ้น 585,000 บาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง   960,000 บาร์เรล
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน 2557 อยู่ที่ 192.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 201.7 เยนต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 2.4 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 180.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ลดลง 0.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า เดือนมิถุนายนการผลิตในภาคธุรกิจก่อสร้างยูโรโซนลดลงร้อยละ 0.7 จากดือนพฤษภาคม   และเมื่อเทียบเป็นรายปีการผลิตภาคก่อสร้างลดลงร้อยละ 2.3 สำหรับการผลิตในภาคก่อสร้างของสหภาพยุโรปลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยผู้ประกอบการบางรายกล่าวว่าราคาปรับตัวสูงขึ้นในกรอบจำกัด เพราะตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ไม่ค่อยเคลื่อนไหว แม้ว่าต้นยางจะให้ผลผลิตน้อยลงถึงร้อยละ 50 แต่ในภาวะที่สต๊อคยางเบาบางลงราคาก็อาจจะสูงขึ้นได้
 
   แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เพราะได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินเยนและราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับมีการคาดว่ายอดจำหน่ายรถยนต์รวมทั่วโลกปี 2558 จะปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐฯ โดยเฉพาะตัวเลขการสร้างบ้านที่เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน

ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]