ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 1102 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  7  สิงหาคม  พ.ศ. 2557

ปัจจัย[/t][/t]

 [/t]
[/size]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ประเทศไทยยังคงมีฝนตกในเกณฑ์กระจายร้อยละ 60 -   70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตอนบน บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง   และพังงา ส่งผลต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- นางอัมพร  พิชาลัย   ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ คาดว่าราคายางพาราในตลาดโลกช่วงครึ่งปีหลังยังคงปรับตัวลดลงจากอุปทานที่ เพิ่มขึ้น   ขณะที่อุปสงค์มีแนวโน้มลดลง แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำอย่างต่อ เนื่อง   โดยชดเชยให้แก่ชาวสวนยางทั่วประเทศ แต่เป็นการแก้ปัญหาเพียงระยะสั้นเท่านั้น   ทั้งนี้ภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร ต้องร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนาแบบยั่งยืน   เช่น ส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากยางพาราในประเทศมากขึ้น คิดค้น พัฒนา วิจัย เพื่อสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า และเกษตรกรต้องปรับตัวโดยลดต้นทุนให้เหลือน้อยที่สุด และปลูกพืชชนิดอื่น ๆ เพิ่มรายได้
- สมาคมผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์เกาหลีใต้เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ต่างประเทศของเกาหลีใต้ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 จากปีก่อน อยู่ที่ 18,112 คันในเดือนกรกฎาคม ทำสถิติรายเดือนสูงสุดเป็นประวัติการณ์
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- สำนักงานสถิติแห่งชาติอิตาลีเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายนปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากผลผลิตผลิตภัณฑ์ทุกชนิดปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยรายงานระบุว่ายอดผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อย ละ 0.9   มากกว่าที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.6 พร้อมรายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.2 จากไตรมาส 1 ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจอิตาลีอยู่ในภาวะถดถอย สวนทางกับที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ   0.1
- นักเศรษฐศาสตร์หลายรายของจีนลงความเห็นว่า จีนควรตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับปี 2558 สูงกว่าร้อยละ 7.0 แม้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) แนะนำว่าเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำลงจะเหมาะสมกว่าก็ตาม   โดย IMF. ระบุเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าจีนควรจะกำหนดเป้าหมายการเติบโตไว้ที่ร้อยละ 6.5 - 7.0 สำหรับปี 2558 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายปี 2557
- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมันเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนมิถุนายนปรับตัวลดลงร้อยละ 3.2 สวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เป็นตัวเลขลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในภูมิภาคต่าง ๆ รวมทั้งยูเครนที่ทำให้ภาคโรงงานชะลอคำสั่งซื้อ สำหรับยอดสั่งซื้อจากต่างประเทศปรับตัวลดลงร้อยละ 4.1 โดยยอดสั่งซื้อจากยูโรโซนลดลงร้อยละ 10.1 ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุด ส่วนยอดสั่งซื้อในประเทศลดลงร้อยละ 1.9 และเมื่อเทียบเป็นรายไตรมาสพบว่า ยอดสั่งซื้อไตรมาส 2 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.6
- ยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ   เดือนมิถุนายนปรับตัวลดลง หลังจากที่ยอดนำเข้าหดตัวลงมากที่สุดในรอบ 1 ปี   โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือนมิถุนายนหดตัวลงร้อยละ   7.0 จากเดือนก่อน หลังจากที่ยอดนำเข้าลดลงร้อยละ 1.2   ขณะที่ยอดส่งออกขยับขึ้นร้อยละ 0.1
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.20 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 102.18 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น   0.32 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายน ปิดตลาดที่ 96.92 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.46 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) รายงานสต๊อคน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิง มลรัฐโอกลาโฮมา ปรับตัวเพิ่มขึ้น   ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์พลังงานในสหรัฐฯ
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 1 สิงหาคม 2557 ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้เล็กน้อย และลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน ส่งผลให้สต๊อคน้ำมันสหรัฐฯ แตระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 โดยสต๊อคน้ำมันดิบลดลง 1.8 ล้านบาร์เรล
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน 2557 อยู่ที่ 194.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.1 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 203.5 เยนต่อกิโลกรัม   ลดลง 0.9 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 191.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ลดลง 2.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์   ปูติน แห่งรัสเซีย ได้ลงนามในกฎหมายการสั่งห้าม หรือจำกัดการนำเข้าสินค้าทางการเกษตรจากประเทศต่าง   ๆ ที่คว่ำบาตรรัสเซีย เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางน่าจะทรงตัว   เพราะเริ่มมีผู้สนใจซื้อเพื่อเก็งกำไรในระยะสั้น ๆ เพิ่มขึ้น   หลังจากที่ราคาปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ความสนใจซื้อขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประกอบการบางรายที่ยังมีราคาล่วง หน้า
 
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มผันผวนเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ ในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมัน แข็งค่าของเงินเยน และความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครน สำหรับปัจจัยบวกมาจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาในเชิงบวก และความเชื่อมั่นต่อการส่งเสริมศักยภาพการใช้ยางพาราในประเทศเพิ่มขึ้น เพิ่มการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางในการส่งออก อีกทั้งการสนับสนุนโค่นต้นยางในบางพื้นที่เพื่อลดอุปทานยาง
[/b][/size]
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา[/b][/size]
[/td][/tr][/table][/td][/tr][/table]