ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 1022 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันพุธที่  6  สิงหาคม  พ.ศ. 2557

[/color]
ปัจจัย[/t][/t]

 [/t]
[/size]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- อิทธิพลร่องมรสุมและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนกระจายเกือบทั่วไป ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- รายงานข่าวของสำนักข่าวบลูมเบิร์กระบุว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนามเปิดเผย ยอดส่งออกยางพาราปีนี้อาจลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี หลังความต้องการนำเข้ายางพาราจากจีนลดลง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เวียดนามคาดว่า ยอดส่งออกยางพาราปีนี้ลดลงร้อยละ 7.0 มาอยู่ที่ 1 ล้านตัน พร้อมกล่าวว่าเวียดนามจะหาตลาดใหม่เพื่อชดเชยยอดส่งออกไปจีนที่ลดลง เนื่องจากความต้องการใช้ยางในประเทศลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคายางใน ตลาดโลกต่ำลง
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกของยูโรโซนเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดือนพฤษภาคม และขยายตัวขึ้นร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี
- HSBC โฮลดิ้งส์   เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนเดือนกรกฎาคม ลดลงแตะ 50.0 จุด เป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 9 ปี   เมื่อเทียบกับ 53.1 จุดในเดือนมิถุนายน
- ธนาคารกลางอินเดียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ   8.0 และคงอัตราส่วนเงินสดสำรองต่อเงินฝาก (CRR) ไว้ที่ร้อยละ 4.0 สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) ภาคบริการของอิตาลีเดือนกรกฎาคมลดลงสู่ระดับ 52.8 จุด จาก 53.9   จุดในเดือนมิถุนายน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) ภาคบริการของฝรั่งเศสเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นแตะ 50.4 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน จาก 48.2 จุดในเดือนมิถุนายน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) ภาคบริการของเยอรมันเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นแตะ 56.7 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 37 เดือน จาก 54.6 จุดในเดือนมิถุนายน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) ภาคบริการของยูโรโซนเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นแตะ 54.2 จุด จาก 52.8 จุดในเดือนมิถุนายน แต่ลดลงเล็กน้อยจากข้อมูลเบื้องต้นที่ 54.4 จุด
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) ภาคบริการของอังกฤษเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นแตะ 59.1 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน จาก 57.7 จุดในเดือนมิถุนายน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) ภาคบริการของสหรัฐฯ เดือนกรกฎาคมลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 60.8 จุด จาก 61.0 จุดในเดือนมิถุนายน และตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับเดียวกัน โดยตัวเลขเดือนมิถุนายนนับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจข้อมูลใน เดือนตุลาคม   2552
- สถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐฯ   (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการเดือนกรกฎาคมปรับตัวขึ้นสู่ 58.7 จุด จาก   56.0 จุดในเดือนมิถุนายน โดยตัวเลขเดือนกรกฎาคมเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 หรือในรอบ 8   ปีครึ่ง
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ   เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าที่ผลิตในโรงงานสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.1 ในเดือนมิถุนายน เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งที่ 4 ในรอบ 5 เดือน และมากที่สุดในรอบ 3   เดือน มากกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.23 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.07 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 102.60 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าขึ้น   0.01 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายน ปิดตลาดที่ 97.38 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.91 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน 2557 อยู่ที่ 193.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 203.6 เยนต่อกิโลกรัม   ลดลง 1.0 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 193.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ลดลง 2.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- รองประธานสภาความมั่นคงและป้องกันประเทศแห่งยูเครนเปิดเผยว่า รัฐบาลยูเครนมีความวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง หลังจากพบว่ารัสเซียมีการเคลื่อนไหวทางทหารบริเวณชายแดน ขณะที่กองทัพยูเครนได้ประกาศแผนโจมตีในเมืองที่กลุ่มกบฏควบคุมอยู่
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง   เพราะยังคงขายยาก ไม่มีผู้ซื้อ ต่างประเทศค่อนข้างเงียบ   โดยเฉพาะจีนนำเข้ายางลดลง ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องชะลอการซื้อ   เพื่อรอดูสถานการณ์
 
   แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคา น้ำมัน รวมถึงความวิตกกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับสถานการณ์รุนแรงในยูเครน และกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลารวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังจากมีข้อมูลบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกอบกับข้อมูลภาคบริการจีนลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 9 ปี อุปทานยางออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น สำหรับปัจจัยจากการอ่อนค่าของเงินบาทยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับ หนึ่ง
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table][/td][/tr][/table]