ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 950 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84447
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  31  กรกฎาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลาง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกกระจายร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- บริษัทโตโยต้ามอร์เตอร์ส   คอร์ป เปิดเผยว่า ช่วงครึ่งปีแรกโตโยต้ามียอดจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลกอยู่ที่ 5.09 ล้านคัน และมีแนวโน้มว่าบริษัทจะก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตรถยนต์ขายดีที่สุดของโลกในช่วง ดังกล่าวเป็นเวลา   3 ปีติดต่อกัน
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงอีก 1 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ   ส่งผลให้วงเงินการซื้อพันธบัตรปรับตัวลงมาอยู่ที่ 2.5   หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อเดือน จาก 3.5 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อเดือน   ชี้ให้เห็นว่าเฟดจะยังคงเดินหน้าปรับลด QE   ไปจนจบโครงการในปีนี้ นอกจากนี้เฟดยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ร้อยละ 0   - 0.25 พร้อมระบุว่าเฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับใกล้ 0 ต่อไปอีก แม้ว่าโครงการซื้อพันธบัตรจะสิ้นสุดแล้วก็ตาม
- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศสเปิดเผยว่า   ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกรกฎาคมทรงตัวเท่ากับเดือนก่อนที่ 85.0 จุด
- สำนักงานสถิติแห่งชาติยูเครนเปิดเผยว่า   ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 หดตัวลงร้อยละ 4.7 จากปีก่อน   โดยเป็น 2 ไตรมาสติดต่อกันที่เศรษฐกิจยูเครนหดตัวลง ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่ยังวุ่นวาย ส่งผลร้ายกว่าที่คาดการณ์ไว้
- คณะกรรมาธิการยุโรป   (EC) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจผู้บริหารและผู้บริโภคในยูโรโซนเดือนกรกฎาคม ปรับตัวขึ้นแตะที่   102.2 จุด จาก 102.1 จุดในเดือนมิถุนายน สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะปรับตัวลดลงแตะระดับ 101.9 จุด
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยประมาณการครั้งแรกของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 โดยระบุว่าขยายตังถึงร้อยละ 4.0 เนื่องจากผู้บริโภคและภาคธุรกิจมีการใช้จ่ายมากขึ้น หลังฤดูหนาวที่หนาวเย็นผิดปกติผ่านพ้นไป ก่อให้เกิดความหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโตอย่างมั่นคงในช่วงครึ่งหลังของปี
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.08 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 102.79 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.69 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายน ปิดตลาดที่ 100.27 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง   0.70 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันเบนซินปรับตัวเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของอุปสงค์พลังงาน
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ และลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน ส่งผลให้สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์   2557 โดยสต๊อคน้ำมันดิบลดลง 3.7 ล้านบาร์เรล ขณะที่สต๊อคน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น   365,000 บาร์เรล
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 198.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น   0.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 210.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น   0.7 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 201.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ไม่เปลี่ยนแปลง
 
7. ข่าว
 
- ADP บริษัทวิจัยตลาดแรงงานในสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ภาคเอกชนทั่วสหรัฐ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 218,000 ตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม ต่ำกว่าที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 238,000 ตำแหน่ง และชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 281,000 ตำแหน่ง
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางยังทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย เพราะผู้ประกอบการเริ่มระมัดระวังในการซื้อขาย เพื่อไม่ให้ขาดทุนไปมากกว่าที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะถ้าขายตามตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์จะไม่มีผู้ซื้อ เพราะส่วนมากเสนอซื้อเข้ามาอยู่ที่ 195.0 - 196.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ดังนั้นต้องพยายามปรับลดราคาลงอีก จึงจะขายได้ในราคาไม่ขาดทุน
 
   แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มผันผวนเคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของเงินเยนและเงินบาท รวมทั้งนักลงทุนขานรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ของสหรัฐฯ ที่ขยายตัวสูงเกินคาดถึงร้อยละ 4.0 และธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ไม่ได้ส่งสัญญาณใด ๆ เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งล่าสุด ขณะที่นักลงทุนยังคงติดตามข้อมูลการจ้างงาน เพื่อสะท้อนถึงตลาดแรงงานและอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เดือนกรกฎาคม
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]