ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 977 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84456
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  25  กรกฎาคม  พ.ศ. 2557 
ปัจจัย

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ - มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางทำให้ประเทศไทยมีฝนกระจายถึงตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง - มีการคาดการณ์ว่า ปี 2557 ความต้องการถุงมือยางของโลกจะโตขึ้นร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับปี 2556 และมีการส่งออกประมาณ 178.6 พันล้านชิ้น โดยมาเลเซียคือผู้นำในการผลิตและส่งออก มีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึงร้อยละ 63.0 ทั้งนี้คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะประชากรโลกร้อยละ 11.0 มีการใช้ถุงมือยางถึงร้อยละ 70.0 ของปริมาณถุงมือยางทั้งหมด และจะยังคงมีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก
3. เศรษฐกิจโลก - ข้อมูลจากธนาคารกลางเกาหลีใต้ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 0.6
- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของจีนเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นแตะ 52.0 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 18 จาก 50.7 จุดในเดือนมิถุนายน
- ธนาคารกลางสเปนเปิดเผยว่า ไตรมาส 2 เศรษฐกิจของสเปนขยายตัวร้อยละ 0.5 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 แสดงให้เห็นว่าสเปนมีการขยายตัวอย่างไม่สม่ำเสมอในช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมา
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2557 ลงอีกระลอก เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงของจีนและสหรัฐฯ ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 2 อันดับแรก โดยรายงานของ World Economic Outlook คาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2557 จะขยายตัวร้อยละ 3.4 ลดลงร้อยละ 0.4 จากตัวเลขคาดการณ์เมื่อเดือนเมษายน อย่างไรก็ดีอัตราการขยายตัวจะยังคงเพิ่มขึ้นแตะที่ร้อยละ 4 ในปี 2558 ซึ่งเป็นระดับเดียวกับตัวเลขคาดการณ์ในครั้งก่อน
- ผลสำรวจของมาร์กิต แสดงให้เห็นว่า
 
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นเยอรมันเดือนกรกฎาคมปรับตัียชีวิตแล้ว 660  ตลาวขึ้นสู่ระดับ 55.9 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 3 เดือน จาก 54.0 จุดในเดือนมิถุนายน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นยูโรโซนเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นแระ 54.0 จุด สูงสุดในรอบ 3 เดือน จาก 52.8 จุดในเดือนมิถุนายน ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนกรกฎาคมขยับขึ้นมาอยู่ที่ 51.9 จุด สูงสุดในรอบ 2 เดือน จาก 51.8 จุดในเดือนมิถุนายน และดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้นเดือนกรกฎาคมปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 54.4 จุด สูงสุดในรอบ 38 เดือน เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนที่ 52.8 จุด
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นฝรั่งเศสเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 49.4 จุด สูงสุดในรอบ 3 เดือน จาก 48.1 จุดในเดือนมิถุนายน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นสหรัฐฯ เดือนกรกฎาคมลดลงแตะ 56.3 จุด จาก 57.3 จุดในเดือนมิถุนายนที่เป็นสถิติสูงสุดในรอบ 49 เดือน เพราะได้รับแรงกดดันจากอัตราการขยายตัวของการจ้างงานในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2556
4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 31.86 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 101.77 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.21 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายน ปิดตลาดที่ 102.07 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.05 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยยอดจำหน่ายบ้านใหม่ลดลงอย่างหนักในเดือนมิถุนายน และดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ ชะลอตัวลง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้สกัดปัจจัยบวกจากรายงานที่ว่าดัชนีภาคการผลิตของจีนขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
6. การเก็งกำไร - ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 194.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 204.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.0 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 200.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 กรกฎาคม 2557 ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปีครึ่ง บ่งชี้ถึงการปรับตัวดีขึ้นอย่างแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน โดยรายงานระบุว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ลดลง 19,000 ราย อยู่ที่ 284,000 ราย
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายบ้านใหม่เดือนมิถุนายนปรับตัวลดลงร้อยละ 8.1 จากเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 406,000 หน่วย บ่งชี้ถึงความไม่ต่อเนื่องของการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัย
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ - ราคายางน่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อย เพราะราคาที่ซื้ออยู่ในปัจจุบันก็ยังเกินจริง ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มเหนื่อย เพราะลุ้นราคามา 5 เดือนแล้ว แต่ราคาก็ไม่สูงขึ้น และหลายรายขาดทุนเพิ่มขึ้น แหล่งข่าวรายงานว่าหลายโรงงานต้องปลดคนงานออกส่วนหนึ่ง เพื่อลดต้นทุนและไม่มีงานให้ทำ เพราะซื้อยางน้อยลง
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือปรับตัวลดลงเล็กน้อยในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว จากการเทขายสัญญาเพื่อทำกำไรในวันสุดท้ายก่อนมีการเปลี่ยนเดือนส่งมอบ ประกอบกับได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐฯ และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลงสู่ร้อยละ 3.4 จากเดิมที่ร้อยละ 3.7 อย่างไรก็ตาม เงินเยนอ่อนค่าและข้อมูลภาคการผลิตของจีนที่ปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือน ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา