ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 1105 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84462
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  21  กรกฎาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังลง   ทำให้ภาคใต้มีฝนกระจายร้อยละ 40 ของพื้นที่ และตกหนักบางแห่ง   บริเวณจังหวัดระนองและพังงา เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- สมาคมผู้ผลิตยางและยางล้อแห่งสภาพยุโรปเปิดเผยตัวเลขยอดจำหน่ายของประเทศ สมาชิกในช่วงครึ่งแรกของปี   2557 มียอดจำหน่ายยางล้อรถบัสและยางล้อรถบรรทุกเพิ่มขี้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะประเทศเยอรมันซึ่งเป็นผู้นำในด้านการเติบโตของเศรษฐกิจมีการขยายตัว เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ   15
 
3. สต๊อคยาง
 
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 18 กรกฎาคม   2557 เพิ่มขึ้น 1,095 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.75 อยู่ที่ 152,879 ตัน จากระดับ 151,784 ตัน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2557
 
4. เศรษฐกิจโลก
 
- สำนักข่าวรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน   เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ช่วงต้นเดือนกรกฎาคมลดลงสู่ระดับ   81.3 จุด จากช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ 82.5 จุด ขณะที่ผู้บริโภคในสหรัฐฯ วิตกกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคตมากขึ้น
- คอนเฟอร์เรนซ์   บอร์ด เผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนมิถุนายนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังได้รับแรงสนับสนุนที่ดีขึ้น หลังจากที่ทรุดตัวลงเมื่อช่วงต้นปี ทั้งนี้ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่ใช้วัดแนวโน้มเศรษฐกิจในช่วง 3 - 6 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากที่ขยายตัวได้ร้อยละ 0.7 ในเดือนพฤษภาคม
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของสหภาพยุโรปไตรมาสแรกปี 2557 ลดลงแตะ 2.54 หมื่นล้านยูโร ขณะที่ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 4 ปี 2556 อยู่ที่ 3.27   หมื่นล้านยูโร และ 3.29 หมื่นล้านยูโรในไตรมาสแรกปี 2556
- ธนาคารพัฒนาเอเชีย   (ADB) คาดการณ์การขายตัวของเศรษฐกิจเอเชียอยู่ที่ร้อยละ 6.2 ในปี 2557 และร้อยละ 6.4 ในปี 2558 ตามที่ได้คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนเมษายน เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ
 
5. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.10 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.12 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 101.29 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.06 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
6. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่ 103.13 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง   0.06 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไร หลังจากที่คลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์เครื่องบินมาเลเซียแอร์ไลน์ ถูกยิงตกในยูเครน นอกจากนี้ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลง
 
7. การเก็งกำไร
 
- ตลาดล่วงหน้า TOCOM ปิดทำการ เนื่องในวัน Ocean   Day
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 202.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ลดลง 2.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
8. ข่าว
 
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า เดือนมิถุนายนราคาบ้านในหลายเมืองยังคงอยู่ในช่วงขาลงอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวง กว้าง   เนื่องจากการเติบโตชะลอตัวลง
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านเดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ 9.3 อยู่ที่ 893,000 ยูนิต ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 ตรงข้ามกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.02 ล้านยูนิต
 
9.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางคาดว่าปรับตัวลดลง ผู้ประกอบการกล่าวว่าราคาที่ซื้อกันอยู่ในระยะนี้ ยังค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับราคาตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ ทำให้หลายรายสู้ราคาไม่ไหว เพราะขาดทุนและขายออกยาก โดยเฉพาะจีนซื้อที่ราคาประมาณ 60 บาทต่อกิโลกรัม และจีนยังใช้ยางในสต๊อคที่ท่าเรือชิงเต่า ซึ่งราคาถูกกว่าราคายางของไทย
 
   แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือปรับตัวลดลง เนื่องจากไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ กระตุ้นตลาด และตลาดล่วงหน้าโตเกียวปิดทำการ นอกจากนี้ราคายางยังมีแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นไม่มาก และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อ่อนแอ อย่างไรก็ตาม อุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อยจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ยังเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]