ผู้เขียน หัวข้อ: เร่งโอนเงินช่วยเหลือเกษตรกร คสช.อนุมัติอุ้มสวนยาง-ภัยพิบัติกว่าหมื่นล้าน (03/07/2557)  (อ่าน 647 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 86019
    • ดูรายละเอียด

เร่งโอนเงินช่วยเหลือเกษตรกร คสช.อนุมัติอุ้มสวนยาง-ภัยพิบัติกว่าหมื่นล้าน (03/07/2557)


นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ได้เรียกเกษตรจังหวัดทั่วประเทศ มาทำความเข้าใจและขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการช่วยเหลือเกษตรกรตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่โรงแรมเอบีน่า เฮาส์ กทม. โดยเบื้องต้นขณะนี้ คสช. ได้อนุมัติงบประมาณโครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบปี 2557 แล้ว 6,159 ล้านบาท ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้ประสานให้ ธกส. เตรียมการโอนเงินให้แก่เกษตรกร  ที่ได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติถูกต้องไว้แล้ว


สำหรับเกษตรกรที่ขอเข้าร่วมโครงการฯ กับกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว แต่อยู่ระหว่างการพิสูจน์กรรมสิทธิ์อีกจำนวน 19,044 ครัวเรือน ในพื้นที่ 174,682 ไร่ เป็นเงินอีกกว่า 440 ล้านบาทนั้น โดยมีกำหนดตรวจสอบเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ก.ค.นี้ หากมีการตรวจสอบครบถ้วนถูกต้อง ก็จะมีการเสนอ คสช.อีกครั้ง


ส่วนการดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ ปี 2555-57 จำนวน 584,005 ราย ใน 68 จังหวัด คสช. ได้อนุมัติงบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 5,498 ล้านบาท เพื่อจ่ายให้เกษตรกร คาดว่า จะโอนเงินให้เกษตรกรได้แล้วเสร็จภายใน 30 วันหลังจากที่สำนักงบประมาณโอนเงินให้กับ ธ.ก.ส.


ด้าน นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า สำหรับนโยบายลดต้นทุนปัจจัยการผลิตเพื่อช่วยเหลือชาวนา กรมได้เร่งทำการชี้แจงและทำความเข้าใจถึงกระบวนการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่มีกว่า 3.7 ล้านครัวเรือน ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ โดยมีการปรับปรุงวิธีการขึ้นทะเบียนที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาช่วยในการตรวจสอบและออกใบรับรองอย่างรวดเร็วในกลุ่มของเกษตรกรรายเดิมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ และให้มีการตรวจสอบพื้นที่จากเจ้าหน้าที่อย่างเข้มข้นมากขึ้น และเกษตรกรจะมีความผิดหากพบว่าเกษตรกรแจ้งข้อมูลขึ้นทะเบียนไม่ตรงตามความเป็นจริง


นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งเข้าไปส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวที่ถูกต้องเหมาะสมในการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตข้าว เช่น การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ การใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพและอัตราที่เหมาะสม และปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกในบางพื้นที่ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี/สารเคมี การลดการสูญเสียระหว่างการเก็บเกี่ยว เป็นต้น โดยเฉพาะการแก้ปัญหาในพื้นที่ตามความเหมาะสมของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวในระดับต่างๆ โดยนำวิธีการส่งเสริมระบบ MRCF system เข้าไปช่วยดำเนินการอย่างเฉพาะเจาะจง